แจ๊คหม่า ประกาศ ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในมาเลฯ สัญญาณธุรกิจออนไลน์ไทยกำลังล้าหลัง

การที่แจ๊คหม่า ประกาศร่วมมือกับประเทศมาเลเซียมีปัจจัยหลักมาจาก

มาเลย์ให้ digital free trade zone (DFTZ)
อธิบาย digital free trade zone (DFTZ) คืออะไร
มันคือเขตการค้าเสรี (free trade zone) แบบนึง โดยทางมาเลเซียไม่คิดภาษีใดๆ ต่อตัวสินค้าเลยที่อยู่ในพื้นที่เขตการค้านี้ (ไม่คิดภาษี นำเข้า, ส่งออก, มูลค่าเพิ่ม)

แต่ที่เหนือกว่าคือ ครั้งที่เป็นครั้งแรกของโลกที่เป็นแขตการค้าเสรีแบบดิจิตอล
คือเขตการค้าเสรี ปกติจะมีพื้นที่ขอบเขตข้อกำหนดชัดเจน

อย่างของไทย สิทธิพิเศษ BOI มันก็คล้ายกับ (free trade zone) แบบนึง แต่มีการกำหนดขอบเขตชัดเจนว่าให้เฉพาะใครที่ไหน แล้วมีวิธีการที่กำหนดขึ้นมา(ซึ่งค่อนข้างซับซ้อน และลำบากเรื่องเอกสาร)

แต่ของมาเลเซียเที่ยวนี้ ที่เค้าเรียก digital free trade zone (DFTZ) คือมันไร้ขอบเขตครับ คือไม่จำกัดว่าของมันจะไปวางอยู่ที่ไหน ไม่จำกัดว่าใครจะทำได้บ้าง และไม่พิธีการอะไรซับซ้อน

ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น Alibaba เมื่อได้อนุญาติ DFTZ แล้ว สินค้าทุกอย่างของกลุ่ม Alibaba ไม่ว่าจะของเค้าเอง หรือของคู่ค้า หรือของร้านค้าใน ali เมื่อส่งเข้ามาเลเซีย จะไม่มีการคิดภาษีใดๆ ทั้งขานำเข้า และขาส่งออก รวมทั้งไม่มีพิธีการ หรือเอกสารอะไรยุ่งยาก เพราะทั้งหมดทำให้อัตโนมัติบนระบบ digital เลย (ประมาณว่าระบบของ Ali จะเชื่อมกับระบบของรัฐบาลมาเลเซียเลย ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติหมด)

ถามว่าดียังไง คือยกตัวอย่างเพิ่มเติมอย่างงี้นะครับ

ทุกวันนี้สมมุติคนไทย 1 คน สั่งของจาก Ali เข้ามาส่งในไทย ทุกวันนี้ พ่อค้าจีนก็จะส่งของทีละ 1 order ออกมา
ก็จะโดน พิธีศุลกากรขาออกจากจีน => ถ้าผ่านประเทศที่ 3 ก็จะเจอพิธีศุลกากรเข้า+ออก => มาถึงพิธีศุลกากรขาเข้าที่ไทย

ซึ่งทำให้ของที่ส่งมามันมาถึงช้ามาก เพราะติดขั้นตอนศุลกากรเยอะ และเผอๆอาจจะซวยเจอภาษีในบางจังหวะได้

แต่พอมาใช้ digital free trade zone (DFTZ) ร่วมกับมาเลเซีย เค้าจะทำยังไง

1. Ali ก็จะให้พ่อค้าทั้งหลาย ส่งสินค้าเป็น lot ใหญ่ๆ มาเก็บไว้ที่มาเลเซีย โดยใช้มาเลเซียเป็นคลังสินค้า
ซึ่งตรงนี้การส่งสินค้า lot ใหญ่ ก็จะส่งมาผ่าน FTA อาเซียน-จีน แปลว่า ขาส่งออกจากจีนไม่เสียภาษีขาออก
ส่วนขาเข้ามาเลย มันเป็น DFTZ อยู่แล้ว ก็จบไปเลย
และว่าของจากโรงงาน จะเสียเวลาขนส่งรอบเดียวเพื่อมาพักไว้ทั้งล๊อตที่โกดังที่มาเล

2. เมื่อมีคนสั่งสินค้า Ali ก็จะดึงของออกจากโกดังที่มาเลไปส่งยังประเทศต่างๆได้เลย(คงเลือกส่งไปยังประเทศอาเซียนเท่านั้น เพราะส่งไกลกว่านี้จะไม่คุ้มค่าส่ง เค้าน่าจะไปเจรจา DFTZ กับแต่ละภูมิภาคไว้)
ทำให้ระยะเวลาการส่งสินค้าเร็วขึ้น เพราะของจะออกจากมาเลย์ได้เลยโดยไม่มีพิธีการหรือเอกสารใดๆ (คิดง่ายๆ เหมือนส่งของในประเทศเลยล่ะ)
และยังการันตีว่าจะไม่โดนภาษีใดๆระหว่างทางอีกด้วย (ยกเว้น ภาษีนำเข้าของประเทศปลายทาง)

หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้จะงง อ้าว??? แล้วมาเลเซียได้อะไร???

ทำไมจะไม่ได้ล่ะครับ เพราะถ้าระบบมัน Work แล้ว Ali ย้ายฐานมาจริงๆ แปลว่าสินค้าของ Ali ทั้งหมดที่ขายให้กับอาเซียนทั้งภูมิภาค จะโดนย้ายมากองกันที่มาเลทันที สิ่งที่มาเลจะได้ทันทีเลย คือ
1. การลงทุนในมาเลยในระดับสูง – โกดัง ออฟฟิต เค้าต้องมาสร้างไว้เก็บของและบริหารสินค้าอยู่แล้ว
2. อัตราการจ้างงานในระดับสูง – ali มันคงไม่สามารถขนคนจีนทั้งประเทศมาทำงานที่มาเลได้หรอก ยังไงก็ต้องจ้างคนท้องถิ่น เช่น วิศวะคอม, โปรแกรมเมอร์, จนท.ขนส่ง, จนท.คลังสินค้า, จนท.ตรวจสอบ, จนท.บัญชี ฯลฯ
3. เกิดกิจกรรมเศรษฐกิจจำนวนมากในประเทศ – เช่น รถยนต์, เรือ, เครื่องบิน มันจะวิ่งเข้าวิ่งออกมาเล เพิ่มวันละกี่พันกี่หมื่นเที่ยว เพื่อขนของเข้าออก แล้วไอ้พวกนี้มันอิ่มทิพย์หรือไง อาหาร,น้ำ,น้ำมัน,การบำรุงรักษา ทุกอย่างมันต้องหาซื้อหาใช้จากมาเล ตลอดระยะเวลาที่มันต้องว่ิ่งเข้าวิ่งออกส่งของ

ปล. แล้วที่ว่าเพิ่มการส่งออก SME ได้ยังไง
– คือปกติการส่งออกมันยุ่งยากใช่ไหมครับ นึกง่ายๆนะ อย่างคนไทยเนี่ย SME จะส่งออกต้องทำไงบ้าง????
ก็มีตั้งแต่ ติดต่อขนส่ง, ติดต่อชิปปิ้ง, เตรียมเอกสารให้ศุลกากร, ประสานปลายทางรับของ

แต่พอมีระบบของ Ali ไปลงทุนในมาเล พวก SME มาเล ก็จะส่งของออกไปขายได้ทั้งโลกผ่านระบบง่ายๆ ของ Ali เลยครับ
ไม่ต้องวุ่นวายอะไรทั้งสิ้น แค่สมัครบริการ Ali เค้าก็จะมาบริการให้ทุกอย่าง หน้าที่คุณคือพอมีคนสั่งของก็เตรียมของไว้ แล้ว Ali จะมารับไปส่งเองทั้งหมด โดยคิดค่าบริการถูกๆ เป็น % จากยอดขาย (ถ้าของคุณมี margin เยอะ เรียกได้ว่าแทบไม่เสียอะไรเลย)

หรือถ้าเรียกให้ง่ายกว่านั้นแบบไทยๆ คือทุกวันนี้ พ่อค้าแม่ค้าไทย ขายของในเน็ตให้คนไทยยังไง ก็ทำแบบเดิมนั่นล่ะ ต้นทุนเสียเท่าเดิม แต่สามารถส่งขายได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องวุ่นวายอะไรไปมากกว่าเดิม (ฟังแบบนี้ดูดีไหมครับ… แต่เสียใจนะครับ อันนี้ของมาเล เค้า ของไทย ร้องเพลงรอไปก่อน)

ขอบคุณบทความ  :  พันทิพ