เกษตรฯ เร่งฟื้นศก.ฝ่าวิกฤติโควิด “เฉลิมชัย” เห็นชอบ “พิมพ์เขียววิสัยทัศน์ฮาลาล”

59

กระทรวงเกษตรฯ เร่งฟื้นเศรษฐกิจ ฝ่าวิกฤติโควิด “เฉลิมชัย” เห็นชอบ “พิมพ์เขียววิสัยทัศน์ฮาลาล”เร่งชง ครม. ดัน ไทยฮับฮาลาลโลก หวังเจาะตลาด 48ล้านล้านบาท “อลงกรณ์” ขานรับ เดินหน้าระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลเผย3โครงการอุตสาหกรรมเกษตร อาหารภาคใต้ คืบหน้าพร้อมขยายไปทุกภาคทั่วประเทศเล็งเป้าหมายกลุ่มประเทศมุสลิม2พันล้านคน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริม สินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” (ฮาลาลบอร์ด-Halal Board) แถลง เมื่อ 23มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามเห็นชอบ“วิสัยทัศน์ นโยบายและแผนพัฒนาสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐานฮาลาล”แล้ว โดยสั่งการให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ นับเป็นครั้งแรกที่ไทยมีวิสัยทัศน์ นโยบาย แผนและโครงการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบครบวงจร เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอาหารฮาลาลของไทยสู่เป้าหมายฮับฮาลาลโลก“ในยุคโควิด เราต้องแสวงหาตลาดใหม่ๆ สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร เพื่อสร้างโอกาสในวิกฤติและตลาดฮาลาลคืออนาคต” นายเฉลิมชัย กล่าวและว่า ในปี 2563 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลทั่วโลก มีมูลค่าสูงถึง 1,533,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 48 ล้านล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% คิดเป็นมูลค่าเพิ่มปีละ 560 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 16.8 ล้านล้านบาท และประเมินว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,285,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 68 ล้านล้านบาท ภายใน5ปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังไม่รวมตลาดที่ไม่ใช่มุสลิม (non-muslim market)

ด้วยศักยภาพของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารอันดับ 2 ของเอเชียและอันดับ 11ของโลกในปี 2562 และภายใต้ “5ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรฯ” บนความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย สถาบันฮาลาล มอ.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้า ศูนย์ AIC (Agritech and Innovation Center) และทุกภาคีภาคส่วนจะเป็นฐานการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมีพลังและพลวัตร เมื่อเป้าหมายชัด นโยบายชัด ความร่วมมือแข็งแกร่งดร.วินัย ดะห์ลัน ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานคณะอนุกรรมการจัดทำวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน“ฮาลาล” กล่าวว่า วิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐานฮาลาล มีเป้าหมายให้ไทยเป็นประเทศผู้นำในการผลิต การแปรรูป การส่งออกและการพัฒนาสินค้าเกษตร และอาหารฮาลาลที่ได้รับความเชื่อมั่นในระดับสากล และเข้าสู่ตลาดโลกด้วยมาตรฐานฮาลาลไทย โดยใช้หลักศาสนา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายในปี 2570 ผ่านการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่กำหนดทั้งหมด5 แนวทาง ได้แก่

1. การเพิ่มศักยภาพหน่วยงานรับรองมาตรฐานฮาลาล 2. การสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าเกษตรและอาหาร ด้วยมาตรฐานฮาลาลไทย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. การเสริมสร้างองค์ความรู้ในการผลิต และการบริหารจัดการตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงผู้บริโภค 4. การเพิ่มศักยภาพทางตลาด และโลจิสติกส์ 5. การยกระดับความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งนี้ วิสัยทัศน์ดังกล่าวเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวฮาลาลไทย (Thailand Halal Blueprint) ฉบับแรกที่มีความสมบูรณ์ประกอบด้วยเป้าหมาย วิสัยทัศน์ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) โครงการและงบประมาณเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของไทยให้มีศักยภาพในการแข่งขันระดับโลกนายอลงกรณ์ ยังกล่าวด้วยว่า ในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน“ฮาลาล” ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตและการลงทุนเกี่ยวกับสินค้าและผลิตผล การเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” และคณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการค้าและผลิตผลการเกษตร มาตรฐาน “ฮาลาล” ในพื้นที่ชายแดนใต้ ได้รายงานความก้าวหน้าของโครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรฮาลาล 3 โครงการ และตั้งเป้าหมายจะขยายอีก 5 โครงการในยะลา ปัตตานี และนราธิวาสโดยความร่วมมือกับ ศอบต. อย่างใกล้ชิด เพื่อให้3 จังหวัดภาคใต้ เป็นฮับของอุตสาหกรรมฮาลาลภายใต้แนวทางระเบียงเศรษฐกิจฮาลาล(Halal Economic Corridor) “ที่ประชุมยังให้ขยายการส่งเสริมสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรอาหารฮาลาลในภาคเหนือ ภาคอีสานภาคกลาง และภาคตะวันออกโดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนที่เป็นเมืองท่าหน้าด่านเช่น อุดรธานี เชียงราย ตาก กาญจนบุรี เป็นต้น โดยประสานกับโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และศูนย์ AIC เพื่อขยายฐานการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำ ปลายน้ำไปทุกภาคทั่วประเทศฟื้นเศรษฐกิจฝ่าวิกฤติโควิด สร้างงานสร้างอาชีพสร้างผลิตภัณฑ์สร้างตลาดใหม่ๆให้มากที่สุดเร็วที่สุด รวมทั้งเห็นควรขยายความร่วมมือกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) ในการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพฮาลาล ตลอดจนการขยายผลการเรียนการสอนหลักสูตรการบริหารจัดการฮาลาล และโครงการโรงเชือดแพะต้นแบบมาตรฐานฮาลาลของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.-หาดใหญ่) สำหรับผู้ประกอบการและเกษตรกร

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบรายงานผลการแก้ไขปัญหาเนื้อวัวปลอม ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และได้มีการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค นับเป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามประสบผลสำเร็จแต่ก็ต้องเฝ้าระวังต่อไป