ประเด็นร้อน วัคซีนไม่พอหรือจัดสรรมั่ว! สธ.แพะรับบาป-กทม.ผิดเต็มเปา

กรณี ปัญหา การประจายวัคซีน ที่กำลังเป็นประเด็นร้อน ตอบโต้กันพัลวัน ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข กับ กรุงเทพมหานคร จนเกิดปัญหา เมื่อ สถานพยาบาลหลายแห่งในพื้นที่ กทม.ประกาศขอเลื่อนกำหนดวัคซีนออกไป โดยไม่มีกำหนด และ จนถึงขณะนี้ ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้ฉีดกันเมื่อไร และ อย่างไร

ทั้งที่การฉีดวัคซีน ถือเป็น “วาระแห่งชาติ” ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. โดย กำหนดให้วันที่ 7 มิ.ย.2564 เริ่มปูพรม ดำเนินการฉีดวัคซีนพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เกิด”ภูมิคุ้มกันหมู่” แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถกระทำได้

ปัญหาหลักสำคัญ ซึ่งถูกเฉลยมาภายหลัง คือ วัคซีนที่มีอยู่ มีจำนวนไม่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็น ทั้ง แอสตร้า เซเนกา ที่ ผลิต โดย บริษัท สยามไบไซเอนซ์ จำกัด หรือ วัคซีนซิโนแวค จาก บริษัท ซิโนแวค ไลฟ์ ไซแอนซ์ ของประเทศจีน ที่มี “กลุ่มซีพี” ของ”เจ้าสัว” ธนินท์ เจียรวรนนท์ ถือหุ้นอยู่ด้วยหลังเกิดปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาชี้แจงว่า ปัญหาการกระจายวัคซีนในกทม. มีผลกระทบย้อนมาถึงกระทรวงสาธารณสุข จึงขอเรียนข้อมูลเพื่อทราบ แบบเข้าใจง่ายๆ คือ
1.กทม.เอาวัคซีน ที่ได้รับจาก สธ. 5 แสนโดส ไปฉีดตามแผนของตัวเอง
2.กทม.ไม่ได้เอาไปฉีดให้กับผู้สูงอายุ และคนมีโรคประจำตัวที่ลงทะเบียนไว้กับหมอพร้อม
3.กทม.ไปทำระบบ ไทยร่วมใจ ขึ้นมาใหม่ ทำเอง ฉีดเอง
4. กทม.ไม่สนใจกลุ่มเป้าหมายแรกที่มีความเสี่ยงมากสุด คือ ผู้สูงอายุ และคนมีโรคประจำตัว

ขณะเดียวกัน กทม.ซึ่งถือเป็นคู่กรณีโดยตรง ก็ได้ออกประกาศว่า จะจัดการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนกับหมอพร้อม โดย สำนักอนามัยได้พิจารณาจัดสรรวัคซีน AstraZeneca เพิ่มเติมให้ โรงพยาบาล สำหรับผู้ที่จองผ่านระบบ MOPH-IC วันที่ 14 มิ.ย. 64 ขอให้เข้ามารับได้ที่สำนักอนามัย ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงเวลา 20.00 น. และในวันพรุ่งนี้ เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป กราบขออภัยในความไม่ สะดวกมา ณ ที่นี้ผู้แทนสธ. ที่ทำงานร่วมกับกทม.และศบค รายงานข้อมูลดังนี้ครับ

1) ข้อมูลการจองผ่านหมอพร้อมหลังจากปิดระบบการจอง ได้สรุปราย รพ. ส่งให้กับ กรมควบคุมโรค และ กทม.อย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกันทุกส่วนมี username/password เข้าดูฐานข้อมูลการจองได้อยู่แล้ว

2) มีการประชุมเรื่องข้อมูลระหว่าง สธ. กทม. และภาคเอกชน ทีมหมอพร้อม เคยตั้งข้อส้งเกตว่า ในเดือน มิ.ย. กทม. มีวัคซีนอย่างน้อย 1 ล้าน น่าจะนำกลุ่มผู้สูงอายุ และ โรคเรื้อรังของ กทม. ทั้งกมด ราว 9 แสนคน ให้มาฉีดก่อนกลุ่ม ปชช. ทั่วไป

3) กรณีการนำ AZ ไปฉีดใน ม. 33 เคยมีการประชุมหารือ เรื่องการจัดสรร ทีมหมอพร้อม เคยตั้งข้อสังเกตไปว่า น่าจะนำ SV ไปแทน เพราะเป็นกลุ่มอายุน้อย ส่วน AZ ควรนำไปฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุ แต่ภาคเอกชนต้องการ AZ ไม่ต้องการ SV ทำให้ สธ. ต้องตัด AZ จาก ตจว. ไปให้ กลุ่ม ม. 33 แล้วส่ง SV ไปฉีดในกลุ่มผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังแทน แต่ก็มีเหตุผลว่า ต้องการคุมการระบาดในกทม. ให้ภูมิคุ้มกันขึ้นเร็ว จึงต้องใช้ AZ

4) ระบบการจองหมอพร้อม จะจัดทำ platform ให้พื้นที่ได้ใช้ เพื่อไม่ให้เกิดการจองซ้ำซ้อน จะชี้แจงระบบในสัปดาห์หน้านายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ชี้ ว่า การทำงานของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) พล.อ.ประยุธท์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ผอ.ศบค.จะเป็นผู้อนุมัติหลักการต่างๆ กรณีการจัดสรรวัคซีน ศบค.เป็นผู้แจ้งให้ สธ.จัดสรรวัคซีนตามที่ ศบค.เห็นชอบร่วมกันกับหน่วยงานราชการ และ การนำเสนอของกรมควบคุมโรค ดังนั้น 3 หน่วยงานนี้ ต้องเห็นพ้องต้องกัน จึงสรุปออกมาว่า จะให้ สธ.จัดส่งวัคซีนไปที่ไหน อย่างไร เช่น กทม. จังหวัดต่างๆ หน่วยงาน องค์การ หรือสมาคมห้างร้าน

“กทม. ชัดเจนที่สุด คือว่า ศบค.จะตกลงกับ กทม.และกรมควบคุมโรค ว่าเดือน มิ.ย.จะได้ตัวเลขจริงที่ 1 ล้านโดส โดยกรมควบคุมโรค ก็จะส่งวัคซีนไปตามจุดที่ กทม.บอกมา ไม่ใช่ส่งไปที่คลังของ กทม.เท่านั้น ยังส่งไปที่โรงพยาบาล เล็ก โรงพยาบาลน้อย น้อย เราก็ส่งไปถึงโรงพยาบาลนั้นๆ เพราะเราว่าจ้างบริษัทขนส่งให้ดำเนินการจัดส่งตามระบบลูกโซ่คงวามเย็น” นายอนุทินกล่าว

ส่วนการจัดสรรวัคซีนของ ศบค.ที่ให้กับ กทม. ตลอดเดือน มิ.ย.จำนวนเท่าไหร่ นายอนุทิน กล่าวว่า เริ่มต้นจาก 2.5 ล้านโดส แต่ว่ามีการจัดสรรให้กับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) 11 แห่ง 5 แสนโดส ซึ่งก็ดึงจากจำนวนนี้ ต่อมามีสำนักงานประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 อีก 1 ล้านโดส ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ กทม. ดังนั้น จะเหลือตัวเลขกลมๆ มาที่ กทม. ประมาณ 1 ล้านโดส โดยตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. กรมควบคุมโรค ส่งวัคซีนไปให้ กทม.แล้ว 5 แสนโดส และปลายสัปดาห์นี้ ก็จะส่งเพิ่มอีก 5 แสนโดส ดังนั้น จะอยู่ที่การบริหารของพื้นที่ตามที่เราตกลงกันว่าทั้งเดือน มิ.ย.จะส่งให้ 1 ล้านโดส จะมีการกระจายอย่างไรต่อไป

“จริงๆ แล้วไม่น่ามีปัญหาอะไร ถ้าเราบริหารจัดการส่งไปที่ต่างๆ แล้วแจ้งเขาชัดเจนว่า ตอนนี้มี 5 แสน เป็นแบบนี้ แล้วปลายสัปดาห์หน้าจะส่งมาอีก ตอนนี้ต้องเป็นการคาดการณ์ เมื่อทุกคนได้หมด ก็จะเข้าระบบ หมุนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างไรแล้ว การส่งวัคซีนที่กว่าจะออกมา เขาต้องมั่นใจเรื่องคุณภาพก่อน ผมยืนยันว่าวัคซีนไม่ขาด และ เดือน มิ.ย.จะมีการฉีดมากกว่า 6 ล้านโดส” นายอนุทินกล่าวนายอนุทินกล่าวย้ำว่า ตนจะหาทางสื่อสารกันระหว่าง กทม.และกรมควบคุมโรค ให้ลงรายละเอียดกันมากกว่านี้ ต้องปรับปรุงการสื่อสาร ทั้งนี้ เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า หากกรมควบคุมโรค มีมากก็ส่งให้มาก เพราะจริงๆ เราส่งไปสัปดาห์ละ 2.5 แสนก็ได้ แต่เรามีมากเราก็ส่งไป 5 แสนโดสก่อน โดยมีความเห็นว่าปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจาก รพ.เอกชน ไม่ได้ตรวจสอบกลับไปที่ กทม.ก่อน แต่กลับออกประกาศในโซเซียล ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ซึ่งขณะนี้ก็มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องแล้ว

อย่างไรก็ตาม นายอนุทินกล่าวว่า จะกำชับกับกรมควบคุมโรคให้แจ้งกับหน่วยงานที่รับวัคซีนให้ชัดเจน เพื่อให้เฉลี่ยวัคซีนแต่ละสัปดาห์ โดยจะต้องหารือกันว่า หากส่งวัคซีนไปเท่าไหร่ ก็ให้บริหารจัดการตามเหมาะสม และอาจให้คาดการณ์จำนวนวัคซีนล็อตถัดไปไว้เท่าไหร่ แม้จะไม่ทราบวัน เวลาที่ส่งที่แน่นอน แต่ให้บอกช่วงการคาดการณ์ไป ซึ่งเหมือนกับที่เรารับวัคซีนจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ที่เขาก็บอกเรารายสัปดาห์ ขณะนี้ 2 สัปดาห์แรก แต่เราต้องบริหารกว่า 100 ล้านโดส อาจขรุขระในช่วงต้นบ้าง ก็ขออภัยประชาชน

เมื่อถามถึงการจองคิวฉีดวัคซีนใน หมอพร้อม ที่มีการระบุในสัดส่วนของ กทม. นายอนุทินกล่าวว่า ในช่วงแรกของการลงทะเบียนหมอพร้อม ก็เพื่อการฉีดให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค ซึ่งกลุ่มนี้ที่อยู่ใน กทม. ดังนั้นวัคซีนจำนวน 1 ล้านโดสของ กทม.จะต้องครอบคุลมการฉีดในหมอพร้อมด้วย แต่ด้วยการลงทะเบียนช่องทางอื่นเพิ่มขึ้นมา ก็อาจทำให้หมอพร้อมถูกเทบ้าง

อย่างไรก็ตาม รมว.สาธารณสุข ยืนยันว่า จะหารือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางออกแก้ปัญหาทั้งหมด อย่างรวเร็วที่สุด เพื่อให้คนไทยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกัน มหันตภัย โควิด-19 ให้คลี่คลายลงให้ได้ !!