“อันวาร์ สาและ” สส.เมืองปัตตานี ปชป.ทำหนังสือถึง ผู้บริหารพรรคปชป. เสนอให้ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล อัญเชิญพระราชดำรัสในหลวงร.9 เตือนใจ เราต้องร่วมกันควบคุมคนไม่ไดี ไม่ให้มีอำนาจก่อความวุ่นวาย ยกกรณี “ธรรมนัส” เป็นชนวนเหตุสำคัญ
7 พ.ค.64 นายอันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาธิปัตย์ ทำหนังสือถึงคณะกรรมการบริหาร(กก.บห.)พรรค เรื่อง ขอเสนอพรรคถอนตัว เพื่อแก้ไขปัญหาของชาติ โดยในหนังสือได้อัญเชิญพระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาบพิตร ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติคร้ังที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี วันที่ 10 ธ.ค. 2512 ความว่า “ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครจะทําให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทําให้บ้านเมืองมีความปรกติสุข เรียบร้อยจึงมิใช่การทําให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
หนังสือฉบับดังกล่าว ยังมีใจความสำคัญตอนหนึ่งระบุว่า สื่อออสเตรเลียรายงาน เรื่องคําตัดสินของศาลไทยพร้อมทั้งมีคําวิจารณ์พ่วงต่อด้วยว่า โจรที่ไหนก็เข้ามาทํางานการเมืองไทยได้ ถ้าไม่ได้ทําผิดในประเทศไทย ข่าวนี้เป็นกระแสดังไปทั่วโลกเพราะทุกประเทศก็ทราบกันดีว่า องคก์ารสหประชาชาติตระหนักถึงความสําคัญของปัญหายาเสพติด ที่จะต้องมีความจําเป็นในการร่วมมือระหว่างประเทศในการควบคุมจึงได้มีการจัดทําอนุสัญญาด้านยาเสพติดเพื่อให้สามารถนํามาใช้ เป็นเครื่องมือ (Legal instruments) ในการควบคุมยาเสพติด ทําให้มีอนุสัญญาที่สําคัญเกิดขึ้น จํานวน 3 ฉบับ ซึ่งอนุสัญญาทั้ง 3 ฉบับนี้มีประเทศต่างๆได้ให้การยอมรับและเข้าเป็นภาคีแล้ว โดยการให้สัตยาบันเป็นจํานวนมาก สําหรับประเทศไทยนั้น ในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กรสหประชาชาติจึงได้ร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญา3ฉบับข้างต้นแล้วรายละเอียดสามารถไปสืบค้นดูไดจ้าก กฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับยาเสพติดในบทที่ 3
ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดการอ่านคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า ไม่พ้นสภาพส.ส. เพราะเป็นการกระทําผิดในต่างประเทศ และถูกจําคุกด้วยคําวินิจฉัยของศาลต่างประเทศซึ่งไม่เกี่ยวกับศาลไทย จึงทําให้เกิดวิกฤตศรัทธาต่อกระบวนการยุติธรรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยมีศาลรัฐธรรมนูญตกเป็นจําเลยของสังคม แม้ว่าในคําวินิจฉัยศาลจะพยายามอ้างเหตุผลพร้อมทั้งตัวบทกฎหมาย แต่ดูเสมือนหนึ่งว่าสังคมไม่ยอมรับ
ผมเองไม่โทษศาลรัฐธรรมนูญ และก็จะไม่โทษ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า แต่ผมจะโทษ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพราะปัญหาทั้งหมดเกิดจากท่านนายกฯไม่ใช่หรือ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าเบื้องหลัง ร.อ.ธรรมนัส เป็นอย่างไร แต่ไม่สนใจกลับ แต่งตั้งมาเป็น รัฐมนตรี การกระทําเช่นนี้เท่ากับเป็นการดูแคลนประชนคนไทยทั้งประเทศและเมื่อเกิดกระแสสังคมต่อต้านทําให้ร.อ.ธรรมนัส มีความจําเป็นต้องออกมาประกาศให้สังคมทราบผ่านสื่อเมื่อ 11 กค. 62 ว่า “ผมคือเส้นเลือดใหญ่ เลี้ยงหัวใจรัฐบาล ผมกุมความลับ ดีลต่อรองหากล้มผมได้รัฐบาลก็สั่นคลอน” น่าจะเป็นเหตุผลที่ท่านนายกต้องแต่งต้ังหรือไม่ทั้งๆที่เคยประกาศว่า จะต่อต้านนักการ เมืองเลวๆในทุกรูปแบบ ซึ่งท่านไม่ได้ให้คําจํากัดความว่า นักการเมืองเลวๆ ในความหมายของท่านคืออย่างไร แล้วในพรรคร่วมรัฐบาลมีหรือไม่สรุปแล้วปัญหาทั้งหมดเกิดจากใคร เกิดจากท่านนายกหรือไม่ และเมื่อมีปัญหาที่ต้องแก้ไข ท่านก็โยนให้องค์กรอิสระที่มีอยู่มาจัดการแทน ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เว้น สังคมแตกแยกกันในเรื่องความคิด ซึ่งจะนําไปสู่วิกฤตศรัทธา คงจํากันได้ ที่ผมเสนอว่าต้องร่วมรัฐบาลด้วยความจริงใจ ทําในสิ่งถูกให้เป็นถูกผิดให้เป็นผิด ปัญหาจะแก้ไขได้ อย่าเห็นแก่การร่วมรัฐบาลต้องเห็นแก่ประชาชนและประเทศชาติ วันนี้รัฐบาลมีปัญหามาก สังคมวิตก ภาคเอกชนก็แสดงความจริงใจที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องวัคซีนแต่รัฐบาลก็ปฏิเสธ ปัญหาต่างๆรุมเร้า และยังไม่มีแนวทางชัดเจนที่จะแก้ไข
การที่ฝ่ายค้านเรียกร้องให้ท่านนายกลาออก คงเป็นไปไม่ได้ เพราะท่านคิดว่าท่านไม่ผิด คิดว่าวิกฤติทั้งหมดเกิดจากวิกฤติโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องโควิด แต่คงไม่มีใครกล้าเตือนว่าปัญหาทั้งหมดเกิดจากตัวผู้นําทั้งๆที่ตัวอย่างก็มีให้เห็นแล้วที่สหรัฐอเมริกา ผู้นําเปลี่ยน วิกฤตเปลี่ยน ดังนั้นเมื่อฝ่ายค้านเรียกร้องให้ท่านนายกฯลาออก ซึ่งท่านคงไม่ออก ท่านก็คงอยู่อย่างนี้ ทุกอย่างก็คงเหมือนเดิม เพราะพรรคร่วมรัฐบาลก็เป็นพรรคเดิม ก็คงคิดแบบเดิม ๆ แนวทางที่จะแก้ไขปัญหาก็ไม่ชัดเจน
ผมจึงขอเสนอสิ่งที่ผมเคยเสนอเอาไว้หลายคร้ังว่า พรรคประชาธิปัตย์ควรใช้โอกาสนี้ แก้ไขปัญหาของประเทศชาติ ด้วยการถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาลเพื่อเปิดโอกาสให้มีการ เปลี่ยนแปลงตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย”