แฉกลางยูเอ็นพม่า”ฆ่า-ข่มขืน” โรฮิงญา แต่ทูตรัฐบาล “ซูจี” ยังมีหน้าปฏิเสธ

วันที่ 13 มีนาคม ตามเวลาในประเทศไทย คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ ได้กล่าวหาเมียนมาว่า “ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” จากการปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรงฮิงญา

นางยังฮี ลี ผู้ตรวจการพิเศษยูเอ็น อธิบายต่อที่ประชุมให้ได้ทราบถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาตกเป็นเหยื่อการสังหารและข่มขืน

ขณะที่นายทิน ลินน์ ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติปฏิเสธว่าไม่เคยมีการก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติเกิดขึ้นในเมียนมา

นายทิน ลินน์ ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติImage copyrightEPA
คำบรรยายภาพนายทิน ลินน์ ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ

ขณะที่โจนา ฟิชเชอร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำเมียนมา ได้พูดคุยกับ จามาลีดา เบกัม สาวโรฮิงญาวัย 25 ปี หนึ่งในผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่เมียนมาข่มขืนและทำร้ายร่างกาย โดยเธอให้สัมภาษณ์นักข่าวบีบีซี หลังจากที่หลบหนีออกจากเมียนมาไปพักพิงที่ค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศ

จามาลีดา เล่าว่าทหารเมียนมากระชากตัวเธอ ผลักลงไปที่พื้น ฉีกเสื้อผ้าและข่มขืนเธอในที่สุด จากนั้นเธอต้องไปซ่อนตัวในป่าแล้วจึงตัดสินใจหลบหนีไปยังบังกลาเทศ

ทั้งนี้ จามาลีดาเคยให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งโดยรัฐบาลเมียนมา แต่สิ่งที่เธอเล่ากลับถูกทางการตัดสินว่าเป็นเรื่องโกหก

จามาลีดา
คำบรรยายภาพจามาลีดา

เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา จามาลีดาปรากฏในสื่อโทรทัศน์ของเมียนมาในวีดิโอที่บันทึกไว้ขณะที่เธอกำลังให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวแก่คณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงที่นางออง ซาน ซู จีเป็นผู้แต่งตั้งหลังจากเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีรายงานจากองค์การสหประชาชาติซึ่งระบุว่า เจ้าหน้าที่เมียนมาได้สังหาร ทำร้ายร่างกาย และข่มขืนชาวโรฮิงญานับร้อยคน

จามาลีดากำลังให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่

ขณะที่จามาลีดากำลังให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เป็นภาษาโรฮิงญาผ่านล่ามโดยบอกว่าเธอเห็นหญิงสาว 3 คนถูกทหารบังคับให้เข้าไปในพุ่มไม้ และพยายามอธิบายต่อว่าเธอเห็นเลือดตามช่วงล่างของร่างกายของผู้หญิงเหล่านั้น แต่ล่ามคนดังกล่าวพยายามหยุดไม่ให้เธออธิบายต่อและบอกให้เธอตอบแต่เพียงว่าเธอเห็นผู้หญิงดังกล่าวถูกข่มขืนใช่หรือไม่ ซึ่งเธอตอบว่า “ไม่เห็น” แล้วล่ามคนดังกล่าวจึงสรุปว่าเป็นภาษาพม่าให้คณะกรรมการสอบสวนฟังว่า “เธอไม่เห็น”

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ได้สอบถามจามาลีดาเช่นกันว่าเธอถูกข่มขืนหรือไม่ เธอตอบว่าทหารฉีกเสื้อผ้าเธอ ลวนลามโดย “ใช้มือเท่านั้น” ล่ามคนดังกล่าวจึงพูดเป็นภาษาพม่าว่า “เธอไม่ถูกข่มขืน” อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นสิบวัน คณะกรรมการสอบสวนได้ลงไปยังพื้นที่อีกครั้งและสัมภาษณ์จามาลีดา ในครั้งนี้เธอบอกว่าเธอถูกข่มขืน ความขัดแย้งของข้อมูลทำให้ทางการเมียนมานำไปเป็นข้อสรุปว่าข้อกล่าวหาเรื่องเจ้าหน้าที่เมียนมาข่มขืนชาวโรฮิงญาไม่เป็นความจริง และที่จามาลีดาพูดเรื่องทหารพม่าข่มขืนหญิงโรฮิงญาเป็นเรื่องโกหก

ชาวโรฮิงญาImage copyrightEPA

ก่อนหน้านี้ นางยังฮี ลี ผู้ตรวจการพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในเมียนมา ขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ให้สัมภาษณ์เรื่องนี้กับรายการข่าวนิวส์ไนท์ของบีบีซี ซึ่งแม้เธอจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ในพื้นที่ขัดแย้งของเมียนมา แต่หลังจากการพูดคุยกับชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ นางลี ระบุว่า สถานการณ์ของชาวโรงฮิงญาในเมียนมาเลวร้ายกว่าที่คาด และสิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติโดยน้ำมือของเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นทหาร เจ้าหน้าที่หน่วยตระเวนชายแดน ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง

รัฐบาลซูจี อาจจะถูกสอบสวว่า ขับไล่โรฮิงญาออกนอกประเทศ

Cr.BBCThai