‘ศุภชัย’ นำทีมคมนาคมแถลง รถไฟฟ้าสายสีเขียว ราคาต้องไม่แพง รอคำนวณทั้งระบบ

คมนาคม แถลงรายละเอียด การขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ยืนยัน หนังสือตอบกลับความเห็นจากคมนาคม 3 ครั้งแรก เห็นชอบแบบมีเงื่อนไข แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใสในการดำเนินงาน เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
.
วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย, นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม, นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม, นายกิตติพันธ์ ปานจันทร์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง และนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมแถลงข่าวชี้เเจงเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรณีฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ ณ รัฐสภาฯ ห้อง 203 ห้องแถลงข่าวคมนาคมการ กล่าวว่า นายสรพงศ์ ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว นั้น แบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหลัก คือจากหมอชิต – อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ – สะพานตากสิน ซึ่งกรุงเทพมหานครได้ให้สัญญาสัมปทานแก่เอกชน เปิดให้บริการระหว่างปี พ.ศ. 2542 – 2572 และต่อมาเมื่อปี 2555 ได้มีการลงนามในสัญญาว่าจ้างเดินรถต่อระยะเวลาระหว่างปี 2572 – 2585
.
นายสรพงศ์ กล่าวอีกว่า ในส่วนที่สอง คือส่วน อ่อนนุช – แบริ่ง และสะพานตากสิน – บางหว้า ในส่วนนี้ กรุงเทพมหานคร ได้มีการมอบหมายให้ บริษํท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นเทศวิสาหกิจของ กทม รับไปดูแลและว่าจ้างเอกชนเดินรถ สัญญาหมดสิ้นปี 2585 เช่นเดียวกับส่วนหลัก และในส่วนที่สาม คือส่วนต่อขยาย ที่มีปลายสายทางอยู่นอกเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร กล่าวคือช่วงหมอชิต – ไปคูคต และแบริ่ง – สมุทรปราการ คณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2551 และ 2556 จึงได้มอบหมายให้ การรถไฟฟ้าขนส่งวมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้รับดำเนินการก่อสร้าง
.
รองปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา ในปี 2558 เพื่อประโยชน์ของประชาชนในการโดยสารรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก จึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 มอบหมายเห็นชอบในหลักการให้ กทม. เป็นผู้เดินรถส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว และมอบหมายให้ คค. เจรจากับ กทม. ในส่วนการบริหารจัดการเดินรถ โครงการรถไฟฟ้าสวนที่สาม ดังกล่าว พร้อมทั้งเจรจาและหาข้อสรุปเกี่ยวกับเงื่อนไขด้านการเงิน ระหว่าง กระทรวงการคลัง กรุงเทพมหานคร และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และเมื่อได้รายงานเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ กทม. บริหารจัดการเงินรายได้ และตั้งงบประมาณให้เพียงพอต่อการชำระหนี้ดังกล่าว รวมทั้งกำหนดค่าโยสารให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับค่าครองชีพ
.
จนกระทั่ง ทั้งสามหน่วยงาน คือ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และกรุงเทพมหานคร ได้เจรจากันเรียบร้อยจบสิ้นจึงได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ขอความเห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์มูลค่า 52,904.75 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ทั้งสองช่วงดังกล่าว ซึ่ง ครม. ก็ได้มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ แต่ก็ได้กรุณา กำชับ ให้กระทรวงคมนาคม และกรุงเทพมหานคร บูรณาการเชื่อมต่อโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ รวมทั้งการกำหนดอัตราค่าแรกเข้า และอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม เป็นธรรม และไม่ก่อให้เกิดภาระต่อประชาชนผู้ใช้บริการมากเกินไป รวมทั้งให้เร่งรัดดำเนินการเรื่องระบบตั๋วร่วมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้ กทม. พิจารณากำหนดอัตราค่าแรกเข้าและระบบตั๋วร่วม ให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล ตามเห็นของกระทรวงการคลัง ด้วย
.
สำหรับกรณีที่ กระทรวงมหาดไทยเสนอ เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามคำสั่ง คสช. ที่ 3/2562 ลงวันที่ 11 เมษายน 2562 ได้มีการนำเข้าพิจารณาใน ครม. มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งกระทรวงคมนาคม ได้มีหนังสือตอบกลับความเห็นของกระทรวงทั้งหมด 4 ครั้ง โดยใน 3 ครั้งแรก ได้แก่ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563
และครั้งที่สาม คือเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563
.
“ทั้ง 3 ครั้งแรก กระทรวงคมนาคมได้สนอความเห็นว่า สมควรเห็นชอบ แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เพื่อให้เกิดความชัดเจน โปร่งใสในการดำเนินงาน เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ”
.
นายสรพงศ์ กล่าวว่า ต่อมา กรมการขนส่งทางราง รฟม. และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรถไฟฟ้าต่างๆ ได้มีการประชุมหารือกัน และได้มีหนังสือของกรมการขนส่งทางราง รายงานมาที่กระทรวงคมนาคม และกระทรวงคมนาคม ได้มีประเด็นความเห็นเป็นครั้งที่ 4 เป็นการขยายความตามความเห็นทั้ง 3 ครั้ง ของกรมการขนส่งทางราง รฟม. และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรถไฟฟ้าต่างๆ รายงานไปยัง คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 ได้รายงานว่าได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงแล้ว สมควรให้ความเห็นเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ใน 4 ประเด็น ดังนี้
.
1.ประเด็นเรื่องความครบถ้วนตามหลักการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 2.ประเด็นเรื่องการคิดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม และเป็นธรรมแก่ประชาชนผู้ใช้บริการ 3.ประเด็นเรื่องการใช้สินทรัพย์ของรัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4.ประเด็นเรื่องข้อพิพาททางกฎหมาย ทั้งนี้ก็เพื่อความรอบคอบ และเป็นประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชน และสอดคล้องตามที่คณะรัฐมนตรีได้กรุณามีมติมอบหมายไว้เท่านั้น กระทรวงคมนาคม จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมกันบูรณาการการทำงาน โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนารถไฟฟ้าในราคาที่เหมาะสมและเอื้อต่อการใช้บริการเพื่อให้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนเป็นบริการที่ทุกคนเข้าถึงได้ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน