ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ สาขาปัตตานี เผยรายงาน ฝ่ายวิชาการ ระบุ 10 หัวข้อสำคัญ ของสถานการณ์ โควิด-19 มีผลกระทบต่อ เศรษฐกิจฮาลาล และ เศรษฐกิจอิสลามทั่วโลก ในปี 2021
ท่ามกลาง สถานการณ์ แพร่ระบาดโควิด-19 ที่กำลังรุมเร้าทั่วโลก โดยเฉพาะในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา และเพิ่งผ่านพ้น ศักราชใหม่ปี 2021 มาหมาดๆ แค่เดือนกว่าๆ มีรายงานที่น่าสนใจจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี โดย ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี ระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเรา แต่ยังมี ประเด็นด้านอื่นที่สามารถ ดึงดูดความสนใจต่อ เศรษฐกิจฮาลาลและเศรษฐกิจอิสลามทั่วโลก และ นี่คือ 10 เรื่องราวที่ถูกรวบรวมไว้ สำหรับเศรษฐกิจฮาลาล และ เรื่องราวของประเทศ OIC ที่คาดว่าจะมีผลต่อเนื่องในปี 2021
1.ความมั่นคงทางอาหาร (Food security)
ในปีนี้ ห่วงโซ่อุปทานของโลกหยุดชะงัก เนื่องจากการล็อคดาวน์จากการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 และข้อจำกัดด้านอื่นๆ ส่งผลให้ผู้บริโภคจำนวนมาก เมื่อจ้องมองไปยังชั้นวางของในซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ว่างเปล่าจากการตื่นตระหนกและการกักตุนสินค้า ทำให้สินค้าบางอย่างขาดตลาด ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในองค์กรความร่วมมืออิสลาม (OIC) มานานแล้ว แต่ปีนี้ได้ส่งสัญญาณเตือนออกมาอย่างชัดเจน เนื่องจากประเทศ OIC นำเข้าอาหารจากต่างประเทศโดยส่วนใหญ่ การระบาดของ Covid-19 ทำให้ประเทศมีความเสี่ยงการหยุดชะงักของเสบียงอาหารจากต่างประเทศ เราเริ่มจะเห็นความเคลื่อนไหวในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และซาอุดิอารเบียน ในการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่เพียงแค่เสบียงระยะกลางเท่านั้น แต่ยังมองไปถึงความมั่นคงทางอาหารในระยะยาวอีกด้วย โดยกำลังเตรียมผลิตโครงการต่างๆทางด้านนี้ออกมามากมายในอนาคต
2. ปัญหาสุขภาพด้านจิตใจของประชากรมุสลิม
ไวรัส Covid-19 สร้างความโกลาหล ตื่นตระหนกและวิตกกังวลท่ามกลางความไม่แน่นอนมากมาย สำหรับทุกคนในปีนี้ มาตรการการล็อคดาวน์ และการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทำให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงต้องห่างกัน ทำให้หลายคนโดดเดี่ยว เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน ทำให้ธุรกิจบางประเภทไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และสิ่งนี้ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและรายได้ของครอบครัว ปัญหาสุขภาพทางด้านจิตใจของมุสลิม ได้มีมาก่อนในปี 2020 ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการทำกิจวัตรทางศาสนาของชุมชน และเป็นบททดสอบความอดทนและความยืดหยุ่นของเรา เนื่องจากการงดละหมาดที่ มัสยิด รอมฎอนที่ต้องอยู่กับบ้าน ผลกระทบต่อวันอีดทั้งสอง และ ต่อการทำฮัจญ์และอุมเราะห์ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด
3. อิสลามเสมือน (Virtual Islam)
การแต่งงาน (นิกะห์) ผ่านโปรแกรม Skype การละศีลอด (อิฟฏอร) แบบออนไลน์ในเดือนรอมฎอน การฉลองวันอีดผ่านโปรแกรม Zoom และการตรวจฮาลาลเสมือนจริง (Virtual Halal Audit) ในขณะที่เราแยกจากกันในปีนี้ กิจกรรมต่าง ๆของเราออนไลน์มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคยังไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลงในหลายประเทศ สิ่งนี้จึงเป็น “เรื่องปกติใหม่ หรือnew normal” เนื่องจากเราหลายคนคุ้ยเคยกับชีวิตดิจิทัลกับมากขึ้น
4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-commerce
การระบาดครั้งใหญ่กระตุ้นให้เกิดการซื้อขายทางออนไลห์หรือ E-commerce ครั้งใหญ่ เนื่องจากร้านค้าจริงปิดตัวลงในช่วงที่มีการล็อคดาวน์ หรือข้อจำกัดอื่นๆ นี่คือพัฒนาการอย่างหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มองเป็นความต่อเนื่องของการเป็นเรื่อง “ปกติใหม่หรือ new normal”
5. ยาฮาลาล (Halal pharma)::
ต้องขอบคุณการแข่งขันสำหรับวัคซีนป้องกัน Covid-19 ที่ได้รับการพัฒนาและเร่งวางตลาดภายในไตรมาสสี่ของปี 2020 เรายังคงสงสัยว่า จะมีวัคซีนป้องกันไวรัส Covid-19 ที่ฮาลาลหรือไม่ ความสนใจในปัญหานี้ได้พุ่งไปสู่การรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับยาฮาลาล อุตสาหกรรมยาฮาลาลยังเป็นเพียงแค่การตั้งไข่ มาตรฐานฮาลาลที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลยังไม่ถูกนำมาใช้ แม้ว่าหน่วยงานที่กำกับดูแลของ OIC อย่างสถาบันมาตรฐาน และมาตรวิทยาสำหรับประเทศอิสลาม หรือ SMIIC ที่กำลังดำเนินการแก้ไข ได้เพียงแค่จัดตั้งคณะกรรมการด้านเทคนิคเกี่ยวกับเภสัชภัณฑ์ฮาลาล (TC 16) ในปี 2019 ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาในประเด็นเรื่องนี้ การเปลี่ยนแปลงอาจจะเห็นได้ชัดขึ้นในปี 2021
6. การควบรวมกิจการธนาคาร
การควบรวมกิจกรรมระหว่างธนาคารในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ในปีนี้ถือเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุด โดยธนาคารพาณิชย์แห่งชาติของซาอุดิอาระเบียและกลุ่มการเงิน Samba ตกลงที่จะควบรวมกิจการในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยสร้างสถาบันการเงินที่มีทรัพย์สินกว่า 837 พันล้านริยาล หรือประมาณ 223 พันล้านดอลลาร์ การควบรวมกิจการครั้งใหญ่อีกแห่งเกิดขึ้นในอินโดนีเซีย ซึ่งเกี่ยวข้องกับธนาคาร Mandiri ธนาคาร Negara Indonesia และ ธนาคาร Rakyat Indonesia การควบรวมกิจการทั้งสามของธนาคารรัฐ จะรวมกันเป็นธนาคารอิสลามที่มีมูลค่า 15 พันล้านดอลลาร์ ผลกระทบการควบรวมกิจการครั้งสำคัญทั้งสองนี้จะเริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 อย่างไม่ต้องสงสัย
7. เนื้อสัตว์ทางเลือกจากพืช (Plant-based alternatives)
เนื้อสัตว์ทางเลือกจากพืช เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้บริโภคจำนวนมากต้องการลดการบริโภคเนื้อสัตว์ในปี 2019 ตามข้อมูลของ Euromonitor International รายงานว่า ยอดค้าปลีกของภาคเนื้อสัตว์ทางเลือกจากพืชทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 18,600 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตในอัตารา 6.7% ต่อไปจนถึงปี 2024 สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปีะเด็นทางด้านนี้คือ มันได้รับการตอบรับและแพร่หลายออกไปในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และผู้ผลิตต่างเลือกที่จะขอการรับรองฮาลาล นี่คืออีกหนึ่งประเด็นที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปี 2021
8. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และอิสราเอล
ในเดือนสิงหาคม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และอิสราเอลประกาศว่า พวกเขามีความสัมพันธ์ที่เป็นปกติ สิ่งนี้ได้สร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วทั้งตะวันออกกลาง ซึ่งการประกาศครั้งแรกทีาตามมาด้วยข้อตกลงการลงนามในทุกภาคส่วนรวมถึงการเงิน เทคโนโลยีและการเดินทาง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เปิดประตูให้ประเทศอาหรับอื่นๆ พิจารณาความสัมพันธ์กับอิสราเอลและเราอาจจะได้เห็นเพิ่มเติมในประเด็นหัวข้อนี้ในปี 2021
9. เทคโนโลยีการเงินอิสลาม (Islamic fintech)
หลายปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเงินในแบบอิสลาม ได้พูดคุยกันในศักยภาพของเทคโนโลยีทางด้านการเงินและโอกาสสำหรับเทคโนโลยีทางด้านการเงิน ในปี 2020 ที่มีโมเมนตัมเพิ่มขึ้นอย่างมาก และเราได้เห็นธนาคารดิจิทัลอิสลามแบบ สแตนด์อโลน มาติดตามกันต่อในปี 2021
10. รัสเซีย
มีสัญญาณมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และในปี 2020 ในที่สุด เราก็ได้เห็นรัสเซียในด้านการเงินอย่างชัดเจน การพัฒนานี้จะเป็นที่น่าจับตามองมากที่สุดในปี 2021
วันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการบริการการเงินอิสลาม (IFSB) ได้ประกาศว่า ได้แปลมาตรฐาน 3 มาตรฐานเป็นภาษารัสเซีย “เพื่อรองรับความสนใจและการยอมรับการเงินอิสลามที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางการใช้กฎหมายของคนที่พูดภาษารัสเซียทั่วโลก” IFSB กล่าวว่า จะยังคงแปลมาตรฐานเป็นภาษารัสเซีย”