รมว.สาธารศุข เผย ต้นปี 64 ไทยจะได้ “ต้นแบบวัคซีนโควิด-19” หลังจาก ร่วมมือกับ ต่างชาติ ทั้ง องค์การอนามัยโลก ม.อ๊อกฟอร์ด รวมทั้ง บริษัท ผลิตยา ชื่อดังร่วมกันคิดค้น ให้ได้ วัคซีน สกัดโควิด-19 ที่มีคุณภาพ ได้อย่างเพียงพอ
วันที่ 19 ต.ค.63 ที่ กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้แถลงข่าวความคืบหน้าการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับคนไทย โดยระบุว่า แผนของกระทรวงฯ คือ ต้องให้คนไทย 50% ของจำนวนประชากร ได้เข้าถึงวัคซีน และเพื่อให้มั่นใจว่าคนไทยได้รับวัคซีนไม่ล่าช้า จึงได้ร่วมมือกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ในโครงการ COVAX ซึ่งแสดงแจตนารมย์เข้าร่วมโครงการไปแล้ว ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มี สถาบันวัคซีน กรมควบคุมโรค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธาณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลประสานงาน โดย เป็นโครงการขนาดใหญ่ หากมีประเทศไหนประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีน ประเทศอื่นๆ ก็จะได้ประโยชน์ตามไปด้วย
นอกจากนั้น ยังด้ร่วมมือกับทีมผู้ผลิต ซึ่งกำลังทดสอบวัคซีนโควิด-19 ในมนุษย์ หรืออยู่ในระยะที่ 3 มีทั้งทีมของเอเชีย ยุโรป และกำลังดำเนินการไปพร้อมกับการเจรจาแบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนให้มากยิ่งขึ้น โดยที่เป็นรูปธรรม คือ ความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข กับ บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด, SCG และ แอสตราเซเนกา ที่ได้ลงนามในหนังสือร่วมผลิต และจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่ พัฒนาโดย มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ด ของ อังกฤษ
ในส่วนของทีมผู้ผลิตวัคซีนในประเทศ ทางกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสำคัญ และสนับสนุน เพื่อให้ทีมผู้ผลิตดำเนินการคล่องตัว รวดเร็ว ทีมที่มีความคืบหน้ามากที่สุด แบ่งเป็น ทีมของคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวัคซีนชนิด mRNA นอกจากนั้น ยังมีวัคซีนแบบ DNA ของบริษัท ไบโอเน็ตเอเชีย จำกัด รวมถึงทีมผู้ผลิตจาก บริษัท ใบยาโฟโต้ฟาร์ม จำกัด ร่วมมือกับคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ผลิตวัคซีนจากการสกัดโปรตีนในพืช
ทั้งนี้ ทีมต่างๆ ได้หารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยที่สุด โดย ตามแผนการ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 ประเทศไทยจะมีต้นแบบวัคซีนโควิด-19 ความร่วมมือทั้งหมด คือ เป็นทีมไทยแลนด์ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมด้วยช่วยกัน ใช้ทุกองคาพยพ จัดหาวัคซีนโควิด-19 มาให้ประชาชนอย่างเพียงพอ