ย้อนตำนาน! อาณาจักรไทย จุฬาราชมนตรี ตำแหน่ง คู่ราชบัลลังก์

ในความเป็นชาติไทยนั้นประกอบด้วยชนชาติที่หลากหลายความเชื่อ ซึ่งได้รับรองชนชาติเหล่านั้นตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ประเทศไทยในปี ๒๕๔๙ มีจำนวนประชากรทั้งประเทศกว่า ๖๓ ล้านคน โดยประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนับถือพุทธศาสนา รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม หรือประมาณ ๑๐% ของจํานวนประชากรทั้งหมด ซึ่งส่วน ใหญ่อาศัยอยู่ในภาคใต้

โดยเฉพาะในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ของไทย (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) รวมถึงจังหวัดสตูลและจังหวัดสงขลา

นอกจากนี้ คนไทยที่นับถือศาสนาอิสลามหรือที่เรียกกันว่า “ชาวไทยมุสลิม” นั้นยังอาศัยกระจัดกระจายทั่วประเทศทั้งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดในปริมณฑลของกรุงเทพหานคร รวมถึงกระจายไปยังภาคอื่นไม่ว่า ภาคตะวันออก ภาคเหนือ หรือแม้กระทั่งในภาคอีสาน นอกจากนั้นก็มีประชากรอีกจํานวนหนึ่งที่นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู ซิกข์ และอื่นๆ

ภายใต้การปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้น องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในทุกรัชกาล นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะเป็นพุทธมามกะตามกฎมณเฑียรบาล แต่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ก็ยังเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๙ แห่งกฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติ (พุทธศักราช ๒๕๔๐)

นอกจากนี้รัฐธรรมนูญมาตรา ๕ ยังระบุว่า ประชาชนชาวไทยไม่ว่า เหล่ากําเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนะนี้เสมอกัน

ขณะเดียวกันมาตรา ๓๘ ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการนับถือศาสนานิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามหลักศาสนา หรือพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐลิดรอนสิทธินั้น

ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้น ยังแบ่งหน้าที่ตามอํานาจฝ่ายต่างๆ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญออกเป็น ๓ ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีประธานรัฐสภาเป็นผู้บริหารสูงสุด และฝ่ายตุลาการซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประมุขสูงสุด

ส่วนตําแหน่งผู้นําทางศาสนา ซึ่งมี “พระสังฆราช” เป็นประมุขสูงสุดของพุทธศาสนา และเป็นผู้นําของพุทธศาสนิกชนของคนไทย

ส่วนศาสนาอิสลามเรียกว่า “จุฬาราชมนตรี” ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นประมุขทางศาสนาอิสลาม และเป็นผู้นําสูงสุดของชาวมุสลิมในประเทศไทย

คําว่า “จุฬาราชมนตรี” นั้น ตามความหมายในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า เป็นตําแหน่งสูงสุดทางด้านการ บริหารกิจการมุสลิมในประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาทางราชการเกี่ยวกับ กิจการมุสลิมทั้งปวง

ตําแหน่ง “จุฬาราชมนตรี” ซึ่งเป็นตําแหน่งผู้นําฝ่ายศาสนาอิสลาม ในประเทศไทยนั้นมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกตั้ง แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเริ่มบันทึกตําแหน่งนี้นับแต่ในสมัยแผ่นดิน พระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. ๒๑๓๖ – ๒๑๗๑) อันเนื่องจากอยุธยาในขณะนั้น เริ่มเปิดประเทศคบหาสมาคมกับชาวต่างชาติเป็นจํานวนมาก

ไม่เฉพาะกับพวกที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น ที่ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยเข้ามาประกอบการค้า แต่ก็มีชาวต่างชาติอื่นๆ อีก

หลายชาติที่เข้ามาค้าขาย รวมถึงการเข้ารับราชการในยุคนั้นเป็นจํานวนมาก เช่นเดียวกัน

ครั้นจะย้อนอดีตจะพบว่านับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในแผ่นดินกรุงศรีอยุธยามีอํานาจยิ่งใหญ่กว่าประเทศข้างเคียง มีความมั่นคงทางการเมือง ทําให้ผู้คนเดินทางมาค้าขายอย่างปลอดภัย และเกิด ความมั่งคั่งทําให้เศรษฐกิจในยุคนั้นเติบโตเหมือนเงาตามตัว

ในระยะเวลาดังกล่าวมีชาวตะวันตก โดยเฉพาะชาวยุโรปหลายชาติ เดินเรือเข้ามาติดต่อด้วย โดยชาวโปรตุเกสนับเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่ เข้ามาค้าขายในยุคนั้น นอกจากจะเข้ามาค้าขายแล้ว ยังตั้งหลักแหล่งและ รับราชการเป็นทหารอาสา พร้อมๆ กับนําวิทยาการใหม่ๆ เช่น การสร้าง ป้อมปราการเมืองและการใช้อาวุธปืนมาสอนให้

ครั้นนับแต่สมัยสมเด็จพระนเรศวรเป็นต้นมา มีชาวอังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศส เข้ามาติดต่อและมีบทบาททางการค้า รวมถึงทางการ เมืองในประเทศไทยด้วย

นอกจากชาวตะวันตกแล้ว ยังมีชาวเอเชียที่หลังไหลมาค้าขายกับ กรุงศรีอยุธยาเช่นกัน เช่น พวกพ่อค้าชาวอาหรับ พวกแขกจาม แขกมัวร์ จีน ญี่ปุ่น และชาวมลายู เป็นต้น ทําให้กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ยุคของการรวม ของชนชาติในภูมิภาคนี้

จากเหตุผลข้างต้นนี้ ชี้ให้เห็นว่าชาวอาหรับและคนมุสลิมได้มี ความสัมพันธ์กับประเทศไทยมาช้านาน และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลายด้านก็บ่งชี้ว่า กลุ่มมุสลิมไม่เพียงแต่เข้ามาเพื่อทําการค้าขาย เท่านั้น

แต่ในอดีตกลุ่มมุสลิมเหล่านี้เองก็มีบทบาทในการด้านทหารและ มีตําแหน่งขุนนางในสํานักราชวัง ตลอดจนเป็นนายทหารและขุนนางชั้น สําคัญในราชสํานักที่เคียงบ่าเคียงไหล่กับราชสํานักและสถาบันพระมหา กษัตริย์ในอดีตในหลายแผ่นดินหลายสมัย

จากหนังสือประวัติศาสตร์ “ขุนนางมุสลิมสยาม” เขียนโดย อาลี เสือสมิง (หน้า ๑๒๗) ได้อ้างการบันทึกของ รศ.ดนัย ไชยโยธา ในหนังสือ “๕๓ พระมหากษัตริย์ไทย” ว่า ในเหตุการณ์สงครามยุทธหัตถี มีขุนนางราชทินนามผู้หนึ่ง ชื่อ “พระยาศรีไสยณรงค์” ซึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คุมทัพออกไปสืบหาข่าวคราวข้าศึกและกําชับไม่ให้มีการสู้รบกับพม่า ฝ่ายพม่าถือดีว่ามีกำลังพลมากกว่าก็เข้าโจมตีทัพของ “พระยาศรีไสยณรงค์”

จนทัพของ “พระยาศรีไสยณรงค์” แตกถอยหนีไม่เป็นกระบวน สมเด็จพระนเรศวรทราบจึงจัดแยกทัพหลวงไปซุ่มไว้พอพม่าหลงระเริงไล่ทัพ “พระยาศรีไสยณรงค์” ทัพที่ทุ่มก็ออกโจมตีทัพพม่าโดยไม่รู้ตัว เกิดอลหม่านแตกทัพไม่เป็นกระบวน

และหลักฐานจากหนังสือ “ขุนนางสยาม” เขียนโดย ส.พลายน้อย ระบุว่า “พระยาศรีไสยณรงค์” นี้ ในสมัยหลังๆ พบว่ามีราชทินนามอีกอย่าง ว่า “พระยาศรีไสยหาญณรงค์” ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ราชทินนาม นี้เป็นขุนนางแขก คือ “พระยาศรีไสยหาญณรงค์” (ยี) เจ้าเมืองตะนาวศรี บิดาของหลวงศรียศ (สน) ซึ่งภายหลังเป็น “พระยาจุฬาราชมนตรี” นั่นเอง

นอกจากนี้ ในหนังสือประวัติศาสตร์ “ขุนนางมุสลิมสยาม” หน้า ๑๓๘ อ้างจาก “เรื่องกฎหมายเมืองไทย” (หน้า ๑๓๕ – ๑๓๖) ระบุว่า ในทําเนียบศักดินาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีทําเนียบตำแหน่งขุนนาง ซึ่งในชั้นหลังเรียกว่า “กรมท่าขวา” มี “พระยาจุฬาราชมนตรี” เป็นหัวหน้าฝ่ายแขก คู่กับ “หลวงโชฎึกราชเศรษฐี” ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายจีน

สําหรับตําแหน่ง “จุฬาราชมนตรี” ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาจุฬาราชมนตรี” มีบทบาทและหน้าที่ควบคุมชาวมลายู ซึ่งในพระธรรมนูญกล่าวถึงตราประจำตำแหน่งของ พระยาจุฬาราชมนตรี และพระโชฎึกราชเศรษฐีไว้ แต่ไม่ทราบว่ามีรูปร่างเป็นอย่างไร

และยังมีหลักฐานระบุว่า ในบัญชีตราโคมวิสาขบูชา ในรัชกาลที่ ๔ ได้บอกถึงตราไว้ว่า “พระยาจุฬาราชมนตรีตรารูปกำปั้นสามเสามีใน โชดึกราชเศรษฐีตรารูปสำเภามีเสามีใบ”

นอกจากนี้ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระยาวรเชษฐภักดี (ชื่น) บุตรชายของท่านเฉค อะหมัดกับคุณหญิงเชย เมื่อครั้งแผ่นดินพระเจ้าปราสาททองได้เลื่อนขึ้นเป็น “เจ้าพระยาอภัยราชา” (ชื่น)

สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ ในรัชกาลนี้ (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่ออายุได้ ๗๐ ปี ท่านมีบุตรธิดา ๒ คน คือ

๑) ธิดาชื่อ “เลื่อน” เป็นพระสนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระองค์เจ้าหญิงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า “พระองค์เจ้าหญิงแสงจันทร์”

๒) บุตรชื่อ “สมบุญ” ได้รับราชการจนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็น “เจ้าพระยาชํานาญภักดี” ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

และนี่เป็นหลักฐานที่ชี้ชัดและยืนยันได้ว่า ขุนนางมุสลิมในยุคอดีต นั้น เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากราชสํานักมาหลายยุคหลายแผ่นดิน

ขณะเดียวกันหลักฐานดังกล่าวก็สามารถบ่งชี้ได้ว่า กว่าจะได้มาซึ่ง ตําแหน่ง “จุฬาราชมนตรี” ของขุนนางแขกในอดีต ใช่ว่าจะได้มาอย่างง่ายดาย หรือเป็นเพราะโชค หรือลาภลอยเท่านั้น

แต่ตําแหน่ง “จุฬาราชมนตรี” นี้ นับมีความเหมาะสมทั้งความดี ความรู้ ความสามารถ ความชาญฉลาด ถึงจะได้รับการยอมรับ จนได้ความชอบจากพระมหากษัตริย์ไทยในยุคนั้นๆ

นอกจากนี้ ขุนนางแขกและผู้ที่เคยทําหน้าที่ “จุฬาราชมนตรี” ใน อดีตหลายคนนอกจากจะเข้ามาพึ่งโพธิสมภารในแผ่นดินฯ เพื่อทํามาค้าขายแล้ว บุคคลเหล่านี้ล้วนแต่มีบทบาทในการศึก หลายคราที่ได้สละชีวิต และ สองมือต้องกำดาบเปื้อนเลือดเพื่อปกป้องราชบัลลังก์มาหลายยุคหลายสมัย เช่นเดียวกัน

หลายคนมีประวัติที่น่าศึกษาแต่เสียดายที่สังคมรุ่นหลังไม่ได้ศึกษา ขณะเดียวกันรัฐบาลเองก็ไม่พยายามที่จะหยิบยกบทบาทคนเหล่านี้ได้รับรู้ อย่างกว้างขวาง อย่างน้อยที่สุดจะได้มีโอกาสการเรียนรู้ซึ่งกันและกันช่วย ให้สังคมลดความหวาดระแวง เพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างมีความสุขและปรองดองของคนในชาติ และที่สําคัญการอยู่ด้วยกันอย่างมี ภราดรภาพอันยั่งยืน

จากหนังสือ จุฬาราชมนตรี ประวัติศาสตร์ผู้นําไทยมุสลิม