นักวิชาการ ด้านรัฐศาสตร์ มสธ. เชื่อ การชุมนุม มีความเสี่ยง อาจทำให้เกิดการปะทะ หาก จนท.ยืนยัน จะไม่ให้ใช้สถานที่ ภายใน ธรรมศาสตร์ ห่วง “มือที่สาม” จุดไฟลุกลาม หาก จนท.ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้
นาย.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( มสธ.)ประเมิน การชุมนุมใหญ่ 19 ก.ย.ของ กลุ่มนักศึกษาและประชาชน ว่า การชุมนุมของกลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” จะมีการปักหลักค้างคืน แต่ไม่นานเหมือนการชุมนุมเมื่อ 10 กว่าปีก่อน โดย วันที่ 20 ก.ย.จะเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปยื่นหนังสือยังทำเนียบรัฐบาล อีกทั้งบรรดาเครือข่าย จะเน้นการเคลื่อนไหวกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ และเชื่อว่ามวลชนจะมาร่วมชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.เป็นจำนวนมาก ประมาณ 50,000 คนขึ้นไป ซึ่งมากกว่าการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา
“เมื่อมีมวลชนจากทุกสารทิศ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก นั่นหมายความว่า พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไม่น่าจะรองรับผู้คนจำนวนมากได้เพียงพอในการนอนปักหลักค้างคืน อาจไหลล้นมาพื้นที่สนามหลวง ตรงนี้น่าจับตามองเพราะสนามหลวง เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ เพราะปัจจุบันมีการกั้นรั้ว อาจเห็นการยื้อแย่งพังรั้วเกิดขึ้นระหว่างมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และถ้ามวลชนมีมากถึง 5 หมื่นคนขึ้นไป หางขบวนน่าจะไปถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”
นอกจากนี้แม้ว่าทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ต้น แต่สุดท้ายแล้วผู้ชุมนุมจะต้องเข้าไปในพื้นที่จนได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม เนื่องจากเป็นสถาบันการศึกษา ซึ่งพ.ร.บ.การชุมนุมฯ ไม่สามารถบังคับใช้ หรือปิดกั้น สั่งให้เลิกการชุมนุมได้ แต่ส่ิงที่น่ากังวลมากสุด คือความรุนแรงทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายผู้ชุมนุม ซึ่งก่อนหน้านั้นนายกรัฐมนต รีได้กำชับเจ้าหน้าที่ไม่ให้ใช้ความรุนแรง ขณะเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะทำการตรวจตราอาวุธ และเฝ้าระวัง ไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมก่อความรุนแรง เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มความรุนแรงก่อน ก็จะเสียเปรียบ
ส่วน กรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วง อาจจะมี “มือที่สาม” มีความเป็นไปได้หรือไม่ นายยุทธพร ยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยและหาตัวไม่ได้ว่าใครเป็นมือที่สาม มาจากกลุ่มใด จนถูกยกเป็นวาทกรรมเพื่อทำลายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะเดียวกันมองว่าในโลกยุคปัจจุบัน มีเทคโนโลยีสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นฝ่ายใด ดังนั้นการก่อกวนโดยมือที่สาม อาจไม่ง่ายเหมือนในอดีต
แต่ความเสี่ยงที่มือที่สามจะเข้ามาก่อสถานการณ์ต่างๆ มักเกิดขึ้นในทุกการชุมนุม ซึ่งจะต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้นแล้ว การจะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปต่อคงไม่ได้ เช่น การพิจารณารัฐธรรมนูญในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กังวลมากสุดหากเกิดความรุนแรง หรืออาจจบด้วยการรัฐประหาร มีความเป็นไปได้ตลอดเวลา แต่เชื่อว่ารัฐประหารไม่น่าเกิดขึ้นก่อนเดือนต.ค. เพราะผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพ จะเริ่มมีผลในเดือน ต.ค.แทนผู้เกษียณอายุ
ส่วนการชุมนุมครั้งนี้ จะเห็นมวลชนที่มาจากทุกเพศทุกวัย ซึ่งมีแนวร่วมทางอุดมการณ์เดียวกัน ทั้งกลุ่มนิสิตนักศึกษา มวลชนที่เป็นอดีต นปช. กลุ่มเกษตรกร และ กลุ่มแรงงาน แต่ก็น่าห่วงในการกำกับดูแลมวลชน อาจทำได้ไม่ง่ายเพราะไม่มีแกนนำ ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่มีแกนนำชัดเจน ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม กปปส. หรือ กลุ่ม นปช.
นาย.ยุทธพร อิสรชัย อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประเมิน การชุมนุมใหญ่ 19 ก.ย.ของ กลุ่มนักศึกษาและประชาชน ว่า การชุมนุมของกลุ่ม “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” จะมีการปักหลักค้างคืน แต่ไม่นานเหมือนการชุมนุมเมื่อ 10 กว่าปีก่อน โดย วันที่ 20 ก.ย.จะเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปยื่นหนังสือยังทำเนียบรัฐบาล อีกทั้งบรรดาเครือข่าย จะเน้นการเคลื่อนไหวกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ และเชื่อว่ามวลชนจะมาร่วมชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย.เป็นจำนวนมาก ประมาณ 50,000 คนขึ้นไป ซึ่งมากกว่าการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ส.ค.ที่ผ่านมา
“เมื่อมีมวลชนจากทุกสารทิศ เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก นั่นหมายความว่า พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ไม่น่าจะรองรับผู้คนจำนวนมากได้เพียงพอในการนอนปักหลักค้างคืน อาจไหลล้นมาพื้นที่สนามหลวง ตรงนี้น่าจับตามองเพราะสนามหลวง เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ เพราะปัจจุบันมีการกั้นรั้ว อาจเห็นการยื้อแย่งพังรั้วเกิดขึ้นระหว่างมวลชนและเจ้าหน้าที่รัฐ และถ้ามวลชนมีมากถึง 5 หมื่นคนขึ้นไป หางขบวนน่าจะไปถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”
นอกจากนี้แม้ว่าทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ต้น แต่สุดท้ายแล้วผู้ชุมนุมจะต้องเข้าไปในพื้นที่จนได้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตาม เนื่องจากเป็นสถาบันการศึกษา ซึ่งพ.ร.บ.การชุมนุมฯ ไม่สามารถบังคับใช้ หรือปิดกั้น สั่งให้เลิกการชุมนุมได้ แต่ส่ิงที่น่ากังวลมากสุด คือความรุนแรงทั้งฝ่ายรัฐ และฝ่ายผู้ชุมนุม ซึ่งก่อนหน้านั้นนายกรัฐมนต รีได้กำชับเจ้าหน้าที่ไม่ให้ใช้ความรุนแรง ขณะเดียวกัน กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จะทำการตรวจตราอาวุธ และเฝ้าระวัง ไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมก่อความรุนแรง เพราะหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มความรุนแรงก่อน ก็จะเสียเปรียบ
ส่วน กรณีที่หลายฝ่ายเป็นห่วง อาจจะมี “มือที่สาม” มีความเป็นไปได้หรือไม่ นายยุทธพร ยอมรับว่า มีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยและหาตัวไม่ได้ว่าใครเป็นมือที่สาม มาจากกลุ่มใด จนถูกยกเป็นวาทกรรมเพื่อทำลายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ขณะเดียวกันมองว่าในโลกยุคปัจจุบัน มีเทคโนโลยีสามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นฝ่ายใด ดังนั้นการก่อกวนโดยมือที่สาม อาจไม่ง่ายเหมือนในอดีต
แต่ความเสี่ยงที่มือที่สามจะเข้ามาก่อสถานการณ์ต่างๆ มักเกิดขึ้นในทุกการชุมนุม ซึ่งจะต้องหาทางป้องกันไม่ให้เกิดความรุนแรง เพราะหากเกิดความรุนแรงขึ้นแล้ว การจะทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปต่อคงไม่ได้ เช่น การพิจารณารัฐธรรมนูญในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่กังวลมากสุดหากเกิดความรุนแรง หรืออาจจบด้วยการรัฐประหาร มีความเป็นไปได้ตลอดเวลา แต่เชื่อว่ารัฐประหารไม่น่าเกิดขึ้นก่อนเดือนต.ค. เพราะผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพ จะเริ่มมีผลในเดือน ต.ค.แทนผู้เกษียณอายุ
ส่วนการชุมนุมครั้งนี้ จะเห็นมวลชนที่มาจากทุกเพศทุกวัย ซึ่งมีแนวร่วมทางอุดมการณ์เดียวกัน ทั้งกลุ่มนิสิตนักศึกษา มวลชนที่เป็นอดีต นปช. กลุ่มเกษตรกร และ กลุ่มแรงงาน แต่ก็น่าห่วงในการกำกับดูแลมวลชน อาจทำได้ไม่ง่ายเพราะไม่มีแกนนำ ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่มีแกนนำชัดเจน ทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ กลุ่ม กปปส. หรือ กลุ่ม นปช.