ความเป็นจริง “กรณีศึกษา” มาตรา 44 กับ “เหมืองทองคำ”

การใช้ ม.44 ปิด เหมืองทองอัครา เป็นกรณี ศึกษาของ การใช้อำนาจ ดาบสองคม ที่ไม่สามารถ โต้แย้ง ถามว่า แล้วใคร จะรับผิดชอบ ถ้าหาก เรา ต้อง ฝ่ายปราชัย ในคดีนี้

การใช้มาตรา44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปิดเหมืองทองคำของ บริษัทอัครา รีซอร์สเซส เมื่อปี 2559 มีผล 1 ม.ค.2560 ทำให้ บริษัท คิงส์เกต แห่งออสเตรเลีย ขอเรียกค่าชดเชยจากรัฐบาล แต่ไม่เป็นผล จึงนำเรื่องเข้าฟ้องร้องต่อ อนุญาโตตุลาการ เรียกค่าเสียหาย 750 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท โดย รัฐบาลไทย ใช้บริษัทกฎหมายของสหรัฐฯ ต่อสู้คดี และ คาดว่า อนุญาโตตุลาการจะตัดสินคดีนี้ ปลายปี 2563 หรือ ต้นปี 2564

เหตุผลในการปิดเหมืองทองคำ เนื่องจากประชาชน ร้องเรียนว่าได้รับผลกระทบ จากมลพิษจนเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์ เฟสบุ๊ค ท้วงติงว่า คำชี้แจงของหน่วยงาน กระทรวงอุตสาหกรรม วันที่ 4 ส.ค.2563 ที่ ห้องประชุม งบประมาณ รัฐสภา ยืนยันว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประชาชน เกิดจากเหมืองทองอัคตราหรือไม่

ดังนั้นการที่คณะกรรมการตรจสอบข้อเท็จจริง ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าปัญหาที่เกิดกับประชาชน มาจาก การดำเนินการ ของเหมืองทองอัครา ไม่ว่าจะเป็น การ ระเบิดภูเขา ขุดดิน เจาะบ่อน้ำ สร้างปัญหาเชิงนิเวศน์ กระทบความเป็นอยู่ของราษฎร ที่อาศัยอยู่มาก่อน จริงหรือไม่

จึงถือว่า เป็นจุดอ่อนสำคัญ ของ ปมพิพาท คดีนี้ ที่สำคัญ เมื่อต่างชาตินำข้อพิพาท เข้าคณะอนุญาโตตุลาการ ประเทศไทยต้องต่อสู้คดี ด้วยการนำ “หัวใจ” ของ ปมพิาท มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยที่ผ่านมา มีการใช้เงินงบประมาณ ต่อสู้คดี 2ปี ติดต่อกัน เป็นเงิน 270 ล้านบาท และ ในร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2564 ตั้งไว้อีก 111 ล้านบาทเศษ

การปกป้องสุขภาพของประชาชนมีความจำเป็น แต่ต้องดำเนินการด้วยความชอบธรรม ผลการวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการ จะเป็นอย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงตามกระบวนการยุติธรรม แต่ได้พิสูจน์ให้เห็น ถึงปัญหาของการใช้อำนาจ มาตรา44 ที่ไม่สามารถตรวจสอบหรือโต้แย้งได้ และที่น่ากังวลคือ หากผลคำวินิจฉัยคดีออกมาในทางที่ประเทศเสียประโยชน์ จะเกิดข้อถกเถียงว่า ใครจะต้องรับผิดชอบ !

ลม สลาตัน