ดูการเมือง บ้านเขา เทียบ บ้านเรา ปธ.เสธ.ทหาร สหรัฐฯ ยืนยัน กองทัพ ไม่ยุ่ง ศึกเลือกตั้ง ประธานาธิบดี ชี้ เป็นหน้าที่ของฝ่าย”ตุลาการ-นิติบัญญัติ” ขณะที่ รมว.กลาโหม ยังไม่ให้คำตอบ ด้าน โดนัลด์ ทรัมป์ ห่วง การส่ง “ผลโหวต” ผ่านทางไปษณีย์ อาจมีปัญหา ทุจริต
วันที่ 29 ส.ค.63 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจาก กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าพล.อ.มาร์ค มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วมสหรัฐ ส่งหนังสือตอบกลับถึง คณะกรรมาธิการด้านอาวุธของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องการคำชี้แจงเกี่ยวกับ “บทบาท” ของกองทัพสหรัฐ ต่อกระบวนการเลือกตั้ง และ “กรณีพิพาท” ที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกตั้งประธานาธิบดี ซึ่งจะมีการลงคะแนนในวันที่ 3 พ.ย. นี้
พล.อ.มิลลีย์ กล่าวตอนหนึ่ง ว่าเขามีความเชื่อมั่นต่อ “หลักการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง” ของกองทัพสหรัฐ ในกรณีที่เกิดข้อพิพาทจากการเลือกตั้ง กฎหมายระบุชัดเจนว่าการแก้ไขสถานการณ์ “เป็นอำนาจ” ของฝ่ายตุลาการและฝ่ายนิติบัญญัติ “ไม่ใช่ฝ่ายกลาโหม” ดังนั้นเขาจึงไม่เห็นบทบาทของทหารในเรื่องนี้
Gen. Mark Milley, chairman of the Joint Chiefs of Staff, told Congress that the U.S. armed forces will not be involved in the election process or resolving a possible disputed vote this November.https://t.co/kY51e9sGMB
ต่อข้อซักถาม ในประเด็นที่ ประธานาธิบดีใช้อำนาจทางทหาร “เพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง” พล.อ.มิลลีย์ตอบว่า “กองทัพไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ” ทั้งนี้ คำถามแบบเดียวกันส่งถึง นายมาร์ค เอสเปอร์ รมว.กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เช่นกัน แต่ “เอสเปอร์” ยังไม่ได้ส่งคำตอบ เนื่องจากอยู่ระหว่างปฏิบัติภารกิจในต่างประเทศ
“All of my life Ive heard that if it rains on a big occasion it brings luck, so Mark I think youre goingto be the luckiest general in history.”
President Trump participates in Armed Forces welcome ceremony honoring the 20th chairman of the Joint Chiefs of Staff Mark Milley. pic.twitter.com/sduSA9dyHb
ส่วนกรณี ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังโจมตีระบบการลงคะแนนเลือกตั้งทางไปรษณีย์ ซึ่งจะมีการใช้มากขึ้นในการเลือกตั้งครั้งนี้ เนื่องจาก สหรัฐยังเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ว่าเป็นระบบ “ที่ไม่เที่ยงตรงและง่ายต่อการทุจริต” โดยยังไม่เสนอหลักฐานสนับสนุน คำพูดดังกล่าว สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่าย ว่าผู้นำสหรัฐจะยอมรับผลการเลือกตั้งครั้งนี้หรือไม่ หากในที่สุดแล้วเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ซึ่งทรัมป์กล่าว เมื่อเดือนที่แล้วว่า “ยังเร็วเกินไป” ที่จะให้เขาตอบชัดเจนตั้งแต่ตอนนี้