ยีแมโกลก ประชุมแกนนำดะวะห์ หลังเป็นข่าวถูกฟ้องฉ้อโกงประชาชน ยืนยันใช้เงินถูกต้อง ระบุ เด็ก 300 กว่าคนบางเดือนต้องกินข้าวกับไข่ ตั้งข้อสังเกตุเงินรายได้มหาศาล ทำไมเลี้ยงเด็กแบบอนาถา เงินไปอยู่ที่ไหนหมด
ตามที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีแกนนำกลุ่มดะวะห์มัรกัสยะลา ข้อหาฉ้อโกงประชาชน กรณีการขายที่ดินพื้นที่ตาเซะ อ.เมือง จ.ยะลา มูลค่า 350 ล้าน แต่ไม่ดำเนินการโอนที่ดินให้ผู้ซื้อจำนวน 3,000 ราย จำนวน 7,000 ล็อก บนที่ดิน 1,800 ไร่ จนกระบวนการดำเนินคดีเข้าสู่ชั้นอัยการแล้วนั้น หลังเป็นข่าวออกไป นายอับดลรอมาน อิบรอฮีม หรือยีแม โกลก ผู้นำกลุ่มดะวะห์มัรกัสยะลา ได้เรียกประชุมบรรดาแกนนำ เพื่ออธิบายเรื่องที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า การใช้การใช้ประโยชน์ที่ดิน 1,800 ไร่ ได้นำเงินมาใช้จ่ายเพื่อการเรียนการสอนฮาฟิซเด็กนักเรียน 300 กว่าคน และครู 17 คน (ฟังคลิป)
‘ถ้าพี่น้องไปดู พี่น้องต้องร้องไห้ เด็กๆต้องกินไข่กับข้าว เป็นเวลา 2-3 เดือน อุซตาดก็กินอยู่ในนั้น บางคนได้ 6,000 บาท กินพอไม๊ บางทีฝนตกกรีดไม่ได้ เราอย่าพูดสิ่งที่เราไม่รู้ และเงินบริหารของตาเซะ เป็นเงินส่วนรวมทั้งหมด ไม่ได้แตะต้องแม้แต่ซักบาท ก็มีการทำที่ดิน ปั้มน้ำมัน ได้กำไร 10 ล้านบาท และไปซื้อที่ดิน 10 ล้านบาท ไปบริหารตรงนั้น ไม่ได้เอาเงินตาเซะ ส่วนรวมมาใช้ ตามที่เขาพูดกัน บางคนบอกว่า เป็นเงินฮาหร่าม กินฮาหร่าม และตอนนี้มีการฟ้องร้องกัน แต่อัลเลาะฮตาอาลาฯให้ ราคาที่ดินขยัน 7,000 ห้องทั้งหมด 3,000 กว่าคน บางคนก็มาขอเงิน เราจะขายได้อย่างไร และอัลเลาะฮ์ให้ที่ดิน ที่ราคา 50,000 หรือ 100,000 บาท ตอนนี้ ขายไป 200,000 บาท ก็มี ถนนก็เสร็จแล้ว แต่ยังไม่มีการลาดยาง มีคนมาเลเซียมาสร้างบ้าน’ ยีแม โกลก กล่าว
อามีรมัรกัสยะลา กล่าวว่า อาทิตย์ที่แล้ว มีการฟ้อง มีการนำทนายมาด้วย นำนักข่าวมาด้วย ลงข่าวทั่วประเทศไทย แต่ไม่เป็นไร เราพิสูจน์กับอัลเลาะฮขอให้เราทำถูกและเอกสารครบทุกอย่าง เงินทุกบาททุกสตางค์ เงินบริจาคที่ได้มา ทั้งหมด มีหลักฐาน ให้ไปทางตำรวจแล้ว ให้กับนายพลทหาร การฟ้องร้องทั้งหมด ฟ้องร้องด้วยปาก แต่หลักฐานอยู่ที่เรา
ทั้งนี้ ที่ดิน 1,800 ไร่ บริเวณตาเซะ จ.ยะลา ดำเนินการโดยมูลนิธิอัลนูรมัรกัสยะลา เชิญชวนให้ผู้ศรัทธาซื้อดินบนพื้นที่ 1,800 ไร่ โดยแบ่ง เป็น 7,000 ล็อกๆละ 25 ตารางวาง ที่เหลือใช้เป็นสาธารณประโยชน์ อาทิ มัสยิด โรงเรียน เป็นต้น โดยมีผู้จำนวน 3,000 คน มูลค่า 350 ล้านบาท เมื่อปี 2552 โดยเงินจำนวน 350 ล้านบาท นำไปจ่ายค่าที่ดิน จำนวน 280 ล้านบาท เหลือ 64 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนเพื่อสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณประโยชน์
อย่างไรก็ตาม หลังผู้ซ้อจ่ายเงินครบ 350 ล้าน ในการโอนที่ดิน กลับมีการโอนในบุคคลจำนวน 6 คน ประกอบด้วย นายอาดัม ดาเระมูซอ นายสตอปา มะลี นายอับดลรอหมาน (ยีแมโกลก) อิบรอฮีม นายสุรศักดิ์ หมีโหด และนายมะนาวี แกมะ และต่อมาได้โอนเป็นชื่อ นายอาดัม ดาเระมูซอ เพียงคนเดียว ไม่ได้โอนเข้าเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิตามที่มีการเชิญชวนไว้แต่แรก รวมไม่ได้โอนให้กับผู้ซื้อตามสัญญา เป็นเวลานานนับ 10 ปีทำให้มีการฟ้องร้องกัน
ขณะเดียวกัน ได้มีการทำประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเป็นสวนยางจำนวน 1,800 ไร่ ซึ่งตามข้อมูลของการยางแห่งประเทศไทย สวนยาง 1 ไร่ ให้ผลผลิต จำนวน 240 กิโลกรัม/ปี ดังนั้น สวนยาง 1,800 ไร่ จะให้ผลผลิตต่อปี จำนวน 432,000 กิโลกรัมต่อปี
หากคำนวณรายได้จากการขายยาง ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา พบว่า ระหว่างปี 2552-2557 ราคายางอยู่ระหว่าง 80-120 บาท/กิโลกรัม คำนวณเฉลี่ย ราคา 80 บาท/กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ ปีละ 34.56 ล้านบาท รวม 5 ปี เป็นจำนวน 172.8 ล้านบาท
ในระหว่างปี 2557-2562 ราคายางอยู่ระหว่าง 60-40 บาท รายได้เฉลี่ยคิดที่ 40 บาท/กิโลกรัม มีรายได้ปีละ 17.28 ล้านบาท รวมระยะเวลา 5 ปี เป็นรายได้ประมาณ 86.4 ล้านบาท รวม 10 ปี สวนยางตะเซะ 1,800 ไร่ มีรายได้ประมาณ 258.68 ล้านบาท หักเดือนที่ไม่สามารถตัดยางได้ปีละ 3 เดือน ยังเหลือเงิน 181 ล้านบาท โดยประมาณ ถือว่า เป็นรายได้จำนวนมหาศาล
คำนวณค่าใช้จ่ายในการเป็นอยู่ของเด็กเดือนละประมาณ 3,000 บาท/คน จำนวน 300-400 คน คิดเป็นเงินเดือนละ 1,200,000 บาท ครูผู้สอน เงินเดือนประมาณ 8,000 บาท จำนวน 17 คน เป็นเงิน 136,000 บาท โดยประมาณ เท่ากับใช้จ่ายปีละประมาณ 16,336,000 บาท ประมาณว่า 10 ปี รวม 160 ล้านบาท เมื่อเทียบเท่ากับรายได้กับค่าใช้จ่ายห่างกันมาก เงินจำนวนนี้หายไปไหน ซึ่งคำนวณใช้ตัวเลขรายได้ต่ำสุด ค่าใช้จ่ายตัวเลขสูงสุด โดยตามข้อเท็จจริงน่าจะเป็นจำนวนเงินมากกว่า
‘ตามที่คำนวณรายได้ ปีละเฉลี่ย 25 ล้านบาท แต่ยีแม บอกว่า เด็กบางเดือนต้องกินข้าวกับไข่ เท่ากับว่า นำเงินจากการกรีดยางไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น แต่ปล่อยให้เด็กอด หรือใช้เด็กเป็นตัวประกันในการอ้างความชอบธรรมในการใช้จ่ายเงินจากสวนยาง ซึ่งคนจำนวน 3,000 คน เป็นเจ้าของ โดยจำนวนหนึ่งไม่ได้อนุญาตเท่ากับเป็นเงินฮาหร่าม’
ขณะเดียวกัน ได้การก่อตั้งมูลนิธิขึ้นมารองรับ ชื่อ มาดีนะอัลนูร โดยในตอนแรก มีแต่งตั้งบุคคลหลากหลายเป็นคณะกรรมการ แต่ต่อมา ได้เปลี่ยนแปลงเป็นบุคคลในตระกูล ตาเซะมูซอทั้งหมด ทั้งให้เกิดคำถามว่า มีเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ใจหรือไม่ และที่ดินยังไม่โอนเข้าเป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิ แต่มีการระดมทุนก่อสร้างมัสายิดมูลค่า 2,500 ล้านบาทแล้ว