ตะลุย “บ้านนาต้นจั่น-อุทยานสุโขทัย” สัมผัสอารยธรรม ย้อนยุค

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดกิจกรรม “สื่อมวลชนสัญจร” สัมผัส “อุทยานประวัติศาสตร์ ” แหล่งท่องเที่ยว ย้อนยุค อารยธรรมเก่าแก่ สมัยพ่อขุนรามคำแหง และ พบกับ “บ้านนาต้นจั่น” หมู่บ้านต้นแบบ ธุรกิจ “โฮมสเตย์” และ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่สร้างรายได้กว่า ครึ่งล้าน ต่อเดือน

คณะสื่อมวลชน เดินทางถึง จ.พิษณุโลก ด้วยสายการบิน “บางกอกแอร์เวย์” ประมาณ 8.00 น. โดยใช้เวลา 50 นาที จาก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ในโครงการ “สื่อมวลชนสัญจร พื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง” ระหว่าง 31 กค.-1 ส.ค. ณ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรรม ภาคที่2 หรือ IPC 2 จ.พิษณุโลก และ จ.สุโขทัย

บรรยากาศ ช่วงเช้า ที่ สนามบินพิษณุโลก อากาศสดใส ประตูทางเข้า มีภาพ สมเด็จพระพุทธชินราช และ “พระองค์ดำ” สมเด็จพระนเรศวรมหาราช อันเป็นสัญลักษณ์ คู่บ้านคู่เมือง พร้อมป้ายขนาดใหญ่ “ยินดีต้อนรับ” สร้างความอบอุ่นใจต่อทุกคนที่พบเห็น

หลังจากใช้เวลาตรวจสอบ เอกสารไม่นานนัก เราก็ผ่าน เข้าไปในตัวเมือง ด้วย รถตู้ 4 คัน ที่ใช้เป็นยานพาหนะ ตลอดทริป และหลังจากเติมพลังด้วยอาหารมื้อเช้าในตลาดแล้ว

จุดแรก คือ ที่วางไว้ใน ภารกิจ คือ ติดตามการดำเนินงานของ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่2 จ.พิษณุโลก โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ต้อนรับ และ นำ เยี่ยมชม PILOT PLANE/ Design Center การออกแบบ ผลิตภัณฑ์สินค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำแพกเกจจิ้ง (Packaging Design) สินค้า อาหารพื้นเมือง ต่าง ๆ นานาชนิด

“หลังจากได้ออกแบบทำแพกเกจจิ้งให้ จากเดิมที่ใช้วิธีใส่ถุงพลาสติกธรรมดาแล้วใช้หนังยางปิดปากถุง ปรากฏว่ายอดขายเพิ่มขึ้นเท่าตัวจนวันนี้ผู้ประกอบการรายนั้นได้ลงทุนซื้อเครื่องมือไปประกอบเองสามารถสร้างรายได้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของจังหวัดไปแล้ว” จนท.สาว ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ IPC 2 เล่าให้ฟัง ขณะนำ ดูงาน

นอกจาก ผ้าหมักโคลน การทำแพกเกจจิ้ง สินค้าต่างๆ แล้ว ภายในศูนย์ IPC 2 ยังมี เครื่องมืออันทันสมัย ให้ผู้ประกอบการ นำเป็นแบบอย่าง ผลิตสินค้า วัสดุภัณฑ์ อาทิ เครื่องอบแห้ง ชุดอบสมุนไพร ภาพพิมพ์ เครื่องตัดกระดาษ ทำแพกเกจจิ้ง ให้พอดีกับตัว ผลิตภัณฑ์ ขนาดต่างๆ ตั้งแต่ เล็ก เท่า กล่องยาหม่อง หรือ กล่องห่อขนม ของหวาน ที่ใหญ่ขึ้นมา

เรียกได้ว่า สามารถเลือกได้ตามต้องการ โดยผ่านโปรแกรม ระบบคอมพิวเตอร์ สะดวก สบายครบวงจร แถมยังมีสีสัน สวยงาม อีกต่างหาก

อย่างไรก็ดี เครื่องจักร อุปกรณ์ เหล่านี้ มีราคาค่อนข้างสูง หากเป็นผู้ประกอบการรายย่อย SME เล็กๆ คงยากต่อการลงทุน นอกจากรายใหญ่ ที่มีทุนหนา แต่จะคุ้มค่าหรือไม่ จำเป็นต้องวางแผนบริหารการตลาดให้ดี

ตรงจุดนี้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะ กระทรวงพาณิชย์ เข้ามาช่วยดูแลกันอีกทางหนึ่ง แต่ที่สำคัญ สินค้า “ต้นตอ” ก็ต้องมี คุณภาพ เป็น จุดขาย ที่น่าสนใจด้วย

และ จาก สายตาที่พบเห็นในวันนี้ ของดี เมืองพิษณุโลก การันตีได้ !

เราใช้เวลา ตลอดครึ่งวันเช้า ที่ ศูนย์ IPC 2 สามารถเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ ไปลงทุน หาอาชีพเสริมช่วย ได้แน่ หากจะเอากันอย่างจริงจัง ก็ต้องขอบคุณ จนท.ทุกฝ่ายด้วย

หลังจากนั้น ด้วยรถตู้ชุดเดิม ซึ่งมี ป้ายหมายเลข 1-4 ติดประจำด้านหน้า ก็นำ คณะสื่อสัญจรฯ เดินทางต่อ ไป “วัดใหญ่” หรือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร ที่ ปลูกสร้าง ริมน้ำน่าน อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวพิษณุโลก และ คนไทยทั่วประเทศนับถือ

ภายในพระอุโบสถ ขนาดไม่ใหญ่โตมากนัก มีรูปปั้น “พระองค์ดำ” สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งเคียงข้าง องค์หลวงพ่อ ที่แลดู เหมือน ภาพนิมิต ทอประกาย เหลืองอร่าม ด้วย ทองคำเปลว จากแรงศรัทธา ของชาวพุทธ ที่หลั่งไหล ไป กราบสักการะ ในแต่ละวัน เพื่อเป็น ศิริมงคลแก่ชีวิต

คำนวน ด้วยสายตา จากผู้คน และ รถจำนวนมาก ที่ จอดอยู่ในลานขนาดใหญ่ หน้าวัด คาดว่า วันหนึ่งๆ น่าจะ ผู้คน เฉลี่ยขั้นต่ำ 1000 แวะเวียน เข้ามาสักการะบูชา

นอกจากได้ “อิ่มบุญ” กันถ้วนหน้าแล้ว ยังช่วย ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ท้องถิ่นมีรายได้ด้วย ถือเป็น อานิสงฆ์ ที่ตามมา จาก สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน คู่เมือง

“กองทัพ เดินด้วยท้อง” คือ ภารกิจเร่งด่วน ต่อจากนั้น โดย ใกล้ๆ กับ “วัดใหญ่” เป็นที่ตั้ง ร้านก้วยเตี๋ยวห้อยขา ตรงข้ามลำน้ำน่าน การันตีได้ ว่า รสดชาดไม่ธรรมดาแน่นอน วัดจากจำนวนลูกค้าจำนวนมาก ที่อัดแน่นอยู่ภายใน

หลังจากยืนชมวิว บรรยากาศ ริมน้ำน่าน จน ก้วยเต๋ยวเรียงเส้น ก็เข้าโปรแกรม ช่วงบ่าย ตารางที่วางไว้ คือ “อุทยานแห่งชาติประวัติศาสตร์สุโขทัย” ที่ หลายคนตั้งตาคอย เพื่อสัมผัส อารยธรรม เก่าแก่ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์ “อักษรไทย” ให้เป็นมรดกตกทอด ถึงลูกหลานไทย ใช้สื่อสาร เป็น เอกลักษณ์ของชาติ มาถึงปัจจุบัน

จากริมน้ำน่าน คณะรถตู้ 4 คัน ล้อหมุน พร้อมกัน มุ่งหน้า สู่ ต.เมืองเก่า บนหลวงแผ่นดินหมายเลข12 หรือ ที่ ชาวบ้านย่านนั้น เรียกกันว่า “ถนนจรดวิถีถ่อง” ใช้เวลา ไม่นาน ก็ถึงจุดหมายปลายทาง

อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ กินพื้นที่ กว่า 2 พันไร่ ครอบคลุม อารยธรรมโบราณ ศูนย์กลางการปกครอง ของอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือ ตอนล่าง ของไทย ช่วงพุทธศตวรรษที่ 18–19

ผังเมือง มีลักษณะ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 2 กม. กว้าง 1.6 กม. มีประตูเมือง อยู่ตรงกลางกำแพงแต่ละด้าน ภายใน ยังมีร่องรอย พระราชวัง และวัดวาอาราม อีก 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุด คือ วัดมหาธาตุ ซึ่งได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ โดย กรมศิลปากร ด้วยความช่วยเหลือจาก ยูเนสโก ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”

จุดเด่นที่เห็นชัด คือ การก่ออิฐแดง เป็นกำแพงเมือง ยามนั้น ได้ สะท้อนแสง ตะวันยามบ่าย เป็นประกาย ดูงดงาม สะท้อน ร่องรอย อารยธรรมอันเก่าแก่ จากการก่ออิฐ ถือปูน

ส่วน ที่เหลือ ถือเป็น วัดบริวาร ที่แวดล้อม กว่า 30 แห่ง อาทิ วัดตระพังเงิน วัดตะพรังทอง วัดศรีสวาย วัดชนะสงคราม วัดพระพายหลวง วัดอรัญญิก ฯลฯ

ที่น่าสนใจคือ “วัดชนะสงคราม” ซึ่งตามตำนาน ระบุว่า พ่อขุนศรีอิทราทิตย์ สร้างขึ้นให้เป็น อนุสาวรีย์ เพื่อเป็นเกียรติยศ ต่อ พระโอรส ที่สามารถชนช้าง เอาชนะ ขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ด้วยพระชันษา แค่ 16 ปี ซึ่ง พระโอรส องค์นั้น ก็คือ “พ่อขุนรามคำแหง” นั่นเอง

ใกล้ๆ กัน มีกระดิ่ง ทองเหลือง แขวนไว้ มี บันทึก ระบุว่า ชาวประชาหน้าใส มีช้างมาค้า มีม้ามาขาย ใครมีทุกข์ เดือดร้อน ให้มาสั่นกระดิ่ง แล้ว พ่อขุน จะมาช่วยแก้ไข !

ถัดจาก จุดสั่นกระดิ่ง เป็นที่ตั้ง ของ “ทำนบพระร่วง” ที่ใช้หล่อเลี้ยง อาณาจักรสุโขทัย มี การขุดสระน้ำ หลายแห่ง ล้อมรอบตัวเมือง แต่ สำหรับ” ทำนบพระร่วง” นั้น ได้รับยกย่อง ให้ เป็น “เขื่อนดิน” แห่งแรกของ เมืองสยาม

หลังจาก ชื่นชม อุทยานประวัติศาสตร์ ถ่ายภาพ เป็นที่ระลึก กันเรียบร้อย เราก็ ย้ายคณะ เดินทางเข้า โรงแรม ชานาลัย รีสอร์ทแอนด์ โฮเทล ที่พัก ก่อน ชม โฮมสเตย์ บ้านนาต้นจั่น อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

ดูการสาธิต ตุ๊กตา บาร์โหน การทำผ้า หมักโคลน ผ้าด้นมือ และ เรือนไม้สองชั้น กลางทุ่งนา อันเป็น จุดดึงดูดให้ นักท่องเที่ยว มาเยือน ในรูปแบบ โฮมเสตย์ อันสวยงาม

ใช้เวลาไม่นาน มาถึง บ้านนาต้นจั่น ในเวลาโพล้เพล้ สิ่งแรกที่สร้างความประทับใจ คือ เรือนไม้ขนาดใหญ่ ประดับด้วย แสงไฟระยิบระยับ มีทิวเขาสูงเป็นฉากหลัง

นี่คือ “โฮมเสตย์” ของ ป้าเหงี่ยม หรือ นางเสงี่ยม แสงหล้า ผู้นำชุมชน บ้านนาต้นจั่น ที่ระดมลูกบ้าน ทั้งหมด 28 หลัง ทำธุรกิจ ”โฮมสเตย์” ทุกหลังคาเรือน

สำหรับพิธีอย่างเป็นทางการวันนั้น มี นายธีระยุทธ วาณิชชัง ผช.รมต.อุตสาหกรรม เป็นประธาน พร้อมกล่าวเปิดงานว่า

บ้านนาต้นจั่น เป็นชุมชนที่มีภูมิปัญญา หัตถกรรมที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพชน ทำให้เกิด กลุ่มทอผ้า จักสาน และงานหัตถกรรม จาก ตอไม้ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในไร่นา เป็นชุมชนที่มีศักยภาพ ทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญา
ชุมชนบ้านนาต้นจั่น เข้าร่วม โครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 สามารถสร้างรายได้ให้ชุมชน จากกิจกรรมการท่องเที่ยว ปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างการรับรู้สินค้าและบริการที่เป็นเอกลักษณ์

ขณะที่ “ป้าเหงี่ยม” ได้จัด สำรับ ขันโตก มาต้อนรับ แขกบ้าน ต่างเมือง สร้างความประทับใจ ปิดท้ายทริบ ในวันแรก อย่างมีความสุข

เช้าวันรุ่งขึ้น ภารกิจ มีไม่มากนัก “ไฮไลท์” อยู่ที่ การเดินทางมาของ สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม เปิดงาน “ผูกพันรัก ทักษะอาชีพ สร้างงานเสริมรายได้ กระจายโอกาสสู่ชุมชน” โดย กล่าวชื่นชม บ้านนาต้นจั่น อันเป็นแบบอย่างหมู่บ้านที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจของประเทศ ฟื้นฟูให้ทุกภาคส่วนกลับมาโดยเร็วหลังวิกฤตโควิด-19โดยเฉพาะเศรษฐกิจฐานราก

ปัจจุบันบ้านนาต้นจั่น มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชนอยู่ที่ 500,000 ต่อเดือน ซึ่ง หากพัฒนาให้เป็นหมู่บ้าน CIV 5 ดาว จะก่อให้เกิดการท่องเที่ยว และสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 8 ล้านบาท

ถือว่าเป็น “บ้านนาต้นจั่น” เป็นโครงการต้นแบบ ที่น่าสนใจ สามารถนำไปต่อยอดให้กับ พื้นที่อื่นๆ แก้ปัญหา เศรษฐกิจ ที่กำลังตกสะเก็ด ได้ไม่มาก ก็น้อย !