สภาวิศวกรรมสถาน ผนึกกำลังคณะกรรมาธิการฯ สภาผู้แทนฯ ผลักดันรัฐ เร่งตัดสินใจขุดคลองไทย ชี้จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและศักยภาพในการแข่งขันมหาศาล มูลค่าก่อสร้าง 2 ล้านล้าน จ้างงาน 16 ล้านคน สร้างรายได้ปีละอย่างต่ำ 2 ล้านล้าน หากล่าช้าทำให้ไทยเสียโอกาส และไม่สามารถแข่งขันได้ ยืนยันวิศวกรไทย สามารถทำได้
วันที่ 31 กรกฎาคม ที่โรงแรมเจ้าพระยา คณะอนุกรรมาธิการศึกษาขุดคลองไทยและระเบียงเศรษฐกิจและผลประทบ ร่วมกับสภาวิศววิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราขูปถัมป์ ได้จัดการเสวนา เรื่องมุมองวิศวกรต่อการพัฒนาคลองไทย โดยมีศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกรฯ เป็นประธานเปิด
ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า อยากเห็นประเทศไทยก้าวสู่ประเทศชั้นนำระดับโลก ไม่เพียงมุมมองทางเศรษฐกิน ที่เรามีปัญหาความเหลื่อมล้ำ มีช่องห่างของรายได้ อนาคตของลูกหลานไทย หากไม่มีการสร้างแนวคิดด้านวิศวกรรม จะไม่สามารถแข่งในเวทีโลกอีกต่อไป
‘เวียดนาม มีการก้าวหน้าด้านวิศวกรรมมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา มีต่างชาติมากกว่าไทย 3 เท่า ซึ่งเราไม่สามารถอยู่เฉยได้ และไม่เฉพาะรัฐที่ต้องสนใจ แต่ทุกภาคส่วนต่องร่วมมือกัน ให้การพัฒนาทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วม ในเจนเนอชั่นนี้ มีสิ่งใหม่รองรับพัฒนา เรื่องการพัฒนาคลองไทย ยังไม่มีคำตอบว่า จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ แต่ทุกคนจะต้องหาคำตอบร่วมกัน’นายกวิศวกร กล่าว
นายกวิศวกร กล่าวว่า โลกเปลี่ยนแปลงทุกนาที คนร่ำรวยล้มหายตายจาก จากนี้ไปประเทศไทยต้องบริหารกันด้วยหลักวิชา วันนี้ จะจึงต้องพูดด้วยหลักวิชา ถ้ายังไม่สามารถหาคำตอบชัดเจน ทำได้หรือไม่ ใช้เวลาเท่าไหร่ มีผลต่อเศรษฐกิจ ต่อสภาพสังคมที่เกี่ยวข้อง จึงไม่เกิดซักที ไม่มีประเทศในโลกที่จะไม่นำทรัพยกรที่ได้เปรียบมาใช้ในการพัฒนาประเทศ หากเรานิ่งเฉย เราก็จะไม่สามารถแข่งขันได้
พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ ประธานอนุกรรมาธิการศึกษาการขุดคลองไทย กล่าวว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลกได้ หากมีการขุดคลองไทย มีการเสนอสภาสปช. แต่ไม่การนำมาดำเนินการ จึงได้เสนอเป็นญัติเข้าสู่สภาผู้แทนฯ ซึ่งได้เสียงสนับลสนุนเป็นเอกฉันท์ เพราะคลองไทยถือเป็นทางออกของประเทศ โดยเฉพาะยุคโควิด ไม่มีทางอื่นจะหาเงินเข้าประเทศได้มากมายขนาดนี้ ไม่ว่า จะมีสงครามการค้า หรือเศรษฐกิจตกต่ำ อย่างสิงคโปร์มีรายได้เข้าประเทศแต่ละนาทีมหาศาล และเราได้เปรียบที่มีน้ำจืดที่จะขายให้เรือต่างๆ เพียง ประมาณว่า จะมีรายได้ 4 ล้านล้านขึ้นไป ถ้ามีระเบียงเศรษฐกิจอาจจะสูงถึง 10 ล้านล้าน
คลองไทย เป็นโครงการอภิมหาโปรเจคท์ หากสำเร็จจะมีการย้ายฐานเศรษฐกิจของโลกมายังประเทศไทย ซึ่งจะมีการเสนอให้ทำประชามติ ได้เรียนให้นายกฯ ทราบแล้ว ไม่ได้คัดค้าน แต่ได้บอกให้ศึกษาด้านความมั่นคง ซึ่งไม่มีปัญหา การเสวนาก็จะมีประโยชน์ในแง่ด้านวิชาการ ที่จะนำสู่สภาต่อไป
และภายในปีนี้จัผลักดันให้รัฐบาลดำเนินการเป็นวารระแห่งชาติ และจะมีการออกกฎหมายให้รัฐบาลดำเนินการตาม ยืนยันว่า การขุดคลองไทยคุ้มค่าแน่นอน ตอนนี้ ทั้งสหรัฐฯ จีน ออสเตรเลีย อินเดีย ติดต่อเข้ามา ถ้าไม่สำคัญประเทศมหาอำนาจไม่ให้ความสนใจ และจะเสนอให้เป็นคลองนานาชาติ เพื่อไม่ให้มีปัญหาความขัดแย้งของมหาอำนาจ
ความแตกต่างของระดับน้ำ 2 ฝั่งทะเล ข้อมูลจากกรมอุทกศาสตร์ ระบุว่า ต่างกันแค่ 60 เซนติเมตร
ส่วนในแง่การลงทุน ตอนนี้มีคนเสนอขอขุดคลองไทย 100% แต่เราจะทำMOU สำหรับผู้สนับสนุนการลงทุน ซึ่งจะแก้ปัญหาเงินลงทุนได้ และหลายประเทศต้องการให้ขุดเพื่อย่นระยะทาง 4,000-5,000 กิโลเมตร และหากเราทำระเบียงเศรษฐกิจครบวงจร ส่วนผลกระทบ จะต้องมีการเยียวยาประชาชน
นายวีรวัฒน์ แก้วนพ วิศวกรสมาคมคลองไทย และกรรมการสภาวิศวกร กล่าวว่า ในโลกนี้ มี2 คลอง คือ คลองสุเอซ และคลองปานามา ที่ขุดโดยมนุษย์ ย่นระยะทางได้นับ 10,000 กิโลเมตร มีเรือผ่าน 2 คลองประมาณ 30,000 ลำ แต่ช่องแคบมะละกามีเรือผ่าน 80,000 ลำต่อปี เพราะเป็นฐานการผลิตของโลก และมีประชากรเยอะ มีตู้คอนเทนเนอร์ผ่านปีละ 50 ล้านตู้ ซึ่งมี 17 ล้านตู้ ไม่จำเป็นต้องแวะสิงคโปร์ แต่ละลำใช้น้ำมัน 65 ตัน ตกวันละกว่าล้านบาทต่อลำหรือ 2แสนล้านต่อปี สำหรับรายได้ของเรือที่ผ่านช่องแคบมะละกาประมาณ 100 ล้านล้าน และเราต้องส่งสินค้าไปขึ้นเรือที่สิงคโปร์และปีนัง ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นมหาศาล
สำหรับขุดคลองไทย จากสิเกา จ.ตรัง นครศรีธรรมราช และลงทะเลที่สงขลา ดินจากการขุดก็นำไปสร้างเกาะ ลงทุน 2 ล้านล้าน การใช้จ่ายต่อปี ปรีะมาณ 4 หมื่นล้าน
และรอบบริเวณคลอง จะต้องแนวการพัฒนาเป็นระเบียงคลอง บริเวณพัทลุงและสงขลา เป็นแหล่งรวมสินค้า ที่ดินปรับเป็นสวนอุตสาหกรรม การแปรรูปสินค้า รายได้ประมาณ 1.4 แสนล้านต่อปี
นายวีรวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนเรือจะมาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัย คือ จะต้องย่นระยะทาง ปัจจัยค่าผ่านทางที่สมเหตุสมผล เรื่องความปลอดภัย และการบริการที่ต้องรวดเร็ว ซึ่งเรือน้ำมัน 7,000 ลำที่ไม่ต้องจอดสิงคโปร์ จะผ่านได้ ส่วนเรือคอนเทนเนอร์ การบริการสามารถพัฒนาได้ และจะต้องใช้เวลาในการในการสร้างพันธมิตร ค่าผ่านคลอง ประมาณ 50,000 ล้านบาท
สำหรับการขุดคลอง ส่วนหนึ่งจะต้องขุดผ่านทะเลช่วงกระบี่และตรัง จะเกิดปัญหาความขุ้นของน้ำ ซึ่งต้องใช้วิธีขุดและหยุด ลดความขุ่น ตรงพื้นดิน จะเจอภูเขาที่นครศรีธรรมราช และกระทบต่อแหล่งน้ำจืดลุ่มน้ำตรัง พรุควนเคร็ง นครศรีฯ และทะเลทะเลน้อย ที่จะมีน้ำเค็มกระทบ ซึ่งในเชิงวิศวกรรมสามารถลดกระทบน้ำเค็มได้ โดยหากมีการขุดจะเวลาศึกษาประมาณ 2 ปี ใช้เวลาขุดประมาณ 4 ปี
นายพิเชษซ์ เชื้อเมืองพาน ประธานอนุกรรมาธิการศึกษาระเบียงเศรษฐกิจ กล่าวว่า การขุดคลองไทยใช้ความกว้าง 1 กิโลเมตร ยาว 135 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 ล้านล้านบาท มีคลองเล็กคู่ขนาน 2 คลอง เป็นเรือท่องเที่ยว เรือหาปลาขนาดเล็ก และแก้ปัญหาน้ำท่วม ไทยเป็นพื้นที่พัฒนาสุดท้ายในการขุดคลอง มีเขตเศรษฐกิจพิเศษขนาดใหญ่จะใหญ่กว่า EEC 10 เท่า มีคนทำงาน 16 ล้านคนจากทั่วโลก
‘การทำ 4 คลอง ต้องเวนคืนมหาศาล ประมาณ 60 กิโลเมตร ยาว 135 กิโลเมตร ประมาณ 8,000 ตารางกิโลเมตร เพื่อพัฒนาเป็นสมาร์ทซิตี้ ต่างชาติไม่สามารถเป็นเจ้าของได้ จะใช้วิธีการร่วมทุน เป็นแนวคิดที่จะนำไปสรุป’ นายพิเชษฐ์ กล่าว
เขา กล่าวว่า เรื่องความมั่นคงไม่มีปัญหา การขุดคลองจะทำให้เรือของกองทัพเรือไม่ต้องอ้อมแหลมมะละกา เราจะมีแสนยานุภาพทางทะเล เป็นชาติทะเล และมีอุโมงค์ลอดทุก 10 กิโลเมตร จึไม่มีปัญหาในการเดินทาง
ผศ.ยุทธนา มหัจฉริยวงศ์ กรรมการวิศวกร และที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า ในการขุดก่อสร้าง คนไทยสามารถทำได้ ทั้งการเจาะ การขุด เทคโนโลยีสามารถไปถึงกันได้ ในการดำเนินการจะพิจารณาในส่วนของความลึก การนำดินไปสร้างเกาะ การจัดทำคันกั้นคลอง ซึ่งจะใช้ยางพารา จะช่วยให้ให้ราคายางดีขึ้น
ในที่สัมมนา มีบรรดาวิศวกรหลายคนร่วมแสดงความเห็น อาทิ นายประสงค์ ธาราไชย ประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ สภาวิศวกร นายธวัชชัย สุทธิประภา ที่ปรึกษาคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. ศ.ดร.ชัยยุทธ ชินณะราศรี อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รศ.ดร.สุทธิ์ศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.ประพันธ์พงษ์ อุปลา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจริยะ สจล. และดร.พรชัย มงคลวณิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม โดยส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า วิศวกรสามารถสร้างโครงการขนาดใหญ่อย่างการขุดคลองไทยได้ ตั้งแต่การออกแบบจนถึงการขุด เนื่องจากมีประสบการณ์จากการดำเนินโครงการต่างๆมาเป็นจำนวนมาก และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย แต่จะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาดำเนินการ
‘อย่าให้เหมือนโครงการรถไฟไทย-จีน ที่ต้องให้วิศวกรจากจีนเข้ามาดำเนินการทั้งที่วิศวกรไทยก็สามารถทำได้’ ผู้เข้าร่วมเสวนาระบุ
และได้เรียกร้องร้องให้รัฐบาลเร่งตัดสินใจ เพราะหากล่าช้า จะทำให้ประเทศไทยสูญเสียโอกาสในการแข่งขัน และสูญเสียด้านเศรษฐกิจ