‘มัสยิดต้นสน’ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง กับเงิน 60 ล้านที่ต้องสะสาง

1748

มัสยิดต้นสน ได้จัดกิจกรรมครั้งแรกหลังอยู่ในแดนสนธยามายาวนาน งานร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับมัสยิด นำอาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์มุสลิม มาพูดคุย เรื่องประวัติศาสตร์ของมัสยิดต้นสน เพื่อให้ความยาวนานของมัสยิดแห่งนี้ ได้หลอมรวมสัปบุรุษให้เข้าด้วยกัน หลังจากถูกทำให้แบ่งแยกมานานหลายปี

เป็นกิจกรรมของคณะกรรมการ 12 คน ที่คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ตั้งขึ้นมา เพื่อเตรียมการเลือกตั้งคณะกรรมการมัสยิดอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13 กันยายน

คณะกรรมการชุดนี้ คัดเลือกมามาจากตัวแทนแต่ละสายตระกูลของสัปปุรุษมัสยิดต้นสน ที่ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย กับการบริหารมัสยิดของรักษาการ 3 คน โดยเฉพาะกับนายปรีชา แสงวานิชย์ รักษาการคอเต็บประจำมัสยิด ที่มีการสงสัยว่า ได้ใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะการใช้จ่ายเงินของมัสยิดในหลายโครงการ รวมทั้งการตั้งเงินเดือนให้กับตัวเอง ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์จริยธรรมของมัสยิด และไม่มีความรู้ความสามารถเพียงพอ ในตำแหน่งหน้าที่ๆได้มอบหมาย

เป็นความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของกอ.กทม. ที่ตั้งคนเหล่านี้เข้ามาทำงาน ข้ามหัวบรรดาสัปบุรุษ 1,200 คน ที่เป็นตระกูลเก่าแก่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

กอ.กทม.ถูกกดดันหนักจากความผิดพลาดนี้ และไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องผ่องถ่ายอำนานจากมัสยิดต้นสน การตั้งคณะกรรมการ 12 คน ขึ้นมา เป็นการถอยก้าวสำคัญ

คณะกรรมการ 12 คน ซึ่งลงนามโดยนายอรุณ บุญชม ประธานกอ.กทม. ที่ได้รับการแต่งตั้ง เพื่อเตรียมการเลือกตั้งคณะกรรมการมัสยิดตามกฎหมาย ประกอบด้วย 1.นายวิบูลย์ มุขตารี 2. นายกมล ทองคำวงศ์ 3.นายศราวุธ ศรีวรรณยศ 4.นายสิทธิเดช ท้วมประถม 5.นายสุทธิพงศ์ ชื่นภักดี 6.นายพิศาล มุขตารี 7.นายสุการี ท้วมประถม 8.นายกิติ ภู่มาลี 9.นายธานี ศรีวรรณยศ 10.นายมนูญพันธุ์ รัตนเจริญ 11.นายพินิจ หลังปูเต๊ะ และ12.นายไวยโรจน์ โกบประยูร

มีหน้าที่ ตรวจสอบผู้มีสิทธิคัดเลือกคณะกรรมการประจำมัสยิด และอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการคัดเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด

แต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามระเบียบของกอ.กทม. ที่เพิ่งออกมาหมาดๆ 6 มิถุนายน 2563 เรียกว่า ออกมาเพื่อการนี้ก็ไม่ผิดนัก

การจัดกิจกรรมเพื่อหลอมรวมคนมัสยิดต้นสน เป็นก้าวย่างแรก แม้จะมีคนเข้าไปรับฟังไม่มากนัก แต่ก็ถือว่า พอใช้ได้ กับปริมาณคนฟังหลายสิบคน แต่การหลอมรวมคน จะต้องทำความจริงหลายๆอย่างให้ปรากฎด้วย

มัสยิดต้นสน เป็นมัสยิดที่มีความสำคัญตั้งแต่อดีต มีส่วนร่วมในประวัติศาสตร์การเมืองของมุสลิมกับอาณาจักรตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาและรัตนโกสินทร์ เป็นที่ฝังของเหล่าบรรพชนมุสลิมที่ได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อแผ่นดินนี้ไว้ อาทิ พระยาจักรี (หมุด) เป็นต้น

ไม่มีเพียงมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ มัสยิดต้นสนยังเป็นมัสยิดที่ผลประโยชน์อยู่ไม่น้อย จากที่ดินวากั๊บที่ผู้ศรัทธาได้บริจาคไว้ให้ สร้างเม็ดเงินในแต่ละเดือนจำนวนไม่น้อย กลุ่มคนหลายกลุ่มจึงต้องการเข้าไป แตกต่างอย่างมัสยิดที่เงินทองไม่เยอะ หรือมัสยิดหัวไร่ปลายนา ไม่ค่อยมีคนสนใจ อย่างมัสยิดบ้านทางควาย ปล่อยให้ร้างตำแหน่งอิหม่าม และทำงานโดยคณะกรรมการรักษาการยาวนาน 16 ปี เป็นตัวอย่าง

เป็นเหตุผลหนึ่งหรือไม่ ที่กอ.กทม. ปล่อยให้รักษาการ 3 คน ทำหน้าที่มายาวนานหลายปี ไม่ดำเนินการเลือกอิหม่าม หรือคณะกรรมการมัสยิดซักที จนต้องถูกกดดันจากบรรดาสัปบุรุษ

(อันนี้ ไม่เกี่ยวกับการซื้อรถตู้คันใหม่ ของกอ.กทม. นะ 555)

จากการค้นหาข้อมูล พบว่า มัสยิดต้นสนมีรายได้หลักจากค่าเช่าตึกแถวอาคารพานิชจำนวน 165 ห้อง ที่ซอยพระยานาค ถนนเพชรบุรี เขต พญาไท เป็นที่ๆมีการวากั๊บให้เป็นผลประโยชน์ของมัสยิด โดยผลประโยชน์ประกอบด้วย

การต่อสัญญาเช่าครั้งละประมาณ 33 ล้านบาท
ค่าเช่าห้อง(ห้องแถว)ประมาณ 2,000บาท/เดือน แต่ละห้องราคาไม่เท่ากัน แต่โดยเฉพาะประมาณ 2,000 บาท รวมแต่ละเดือนมัสยิดมีรายได้จากค่าเช่า ประมาณ 330,000 บาท เป็นรายได้ที่ค่อนมหาศาล
เงินจำนวนนี้ คงต้องมีการตรวจสอบว่า ในยุคการบริหารของรักษาการ3 คน นำไปใช้อะไรบ้าง ซึ่งรวมทั้งโปรเจคท์การตัดต้นไม้ใหญ่

ส่วนเงินค่าต่อสัญญา หรือแป๊ะเจี๊ยะ ห้องละประมาณ 200,000 บาท มูลค่า ประมาณ 33 ล้าน (165×200,000) ซึ่งได้หมดสัญญาเช่าตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้มีการต่อสัญญาเช่าเลย เนื่องจากรักษาการไม่มีอำนาจตามกฎหมาย

จากการตรวจสอบ สัญญาเช่าอาคารไม่ได้ทำการต่อสัญญามา 2 รอบแล้ว
คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 60 กว่าล้านบาท

เป็นสิ่งที่ทำให้มัสยิดเกิดความเสียหาย

ในกรณีนี้ เช่าอาคารส่วนใหญ่ เกรงว่าตนเองอาจจะเสียสิทธิในการเช่า จึงโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของมัสยิด แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้รับใบเสร็จ

นี่เป็นผลประโยชน์ส่วนหนึ่งของมัสยิดต้นสน

จะเห็นได้ว่า เม็ดเงินจำนวนมากนี้ มีความพยายามของรักษาการ 3 คนนำมาใช้จ่ายโดยตั้งโครงการขึ้นมา อาทิ โครงการตัดต้นไม้ใหญ่ หรือโครงการรื้อลานจอดรถและสร้างใหม่ มูลค่า 1.2 ล้านบาท ที่ไม่แน่ว่า มีการดำเนินการหรือไม่ เนื่องจากมีเสียงคัดค้าน (ขอย้ำอีกทีว่า ไม่เกี่ยวกับรถตู้คันใหม่ของกอ.กทม. )

ช่องทางผ่องจ่ายเงิน อีกช่องทางหนึ่ง คือศูนย์จริยธรรม ที่ทำหน้าที่สอนศาสนาของมัสยิด ที่นายปรีชา เป็นผู้อำนวยการ(ใครตั้งไม่รู้) จ่ายเงินเดือนให้กับตัวเอง เดือนละ 20,000 บาท และนำอาจารย์มาสอนหลายท่าน ครูใหญ่รับเงินเดือน 15,000 บาท ครูคนอื่นมาสอนครั้งละ 1,000 บาท

กรณีของศูนย์ฯ ได้มีสัปบุรุษหลายออกมาคัดค้านในหลากหลายช่องทาง ให้ยุติการเรียนการสอนไปก่อน หลังจากมีการสอบเสร็จเรียบร้อยในสิ้นเดือนกรกฎาคม รวมทั้งคัดค้านที่จะมีการเปิดการเรียนการสอนทุกวันเวลาช่วงค่ำ ด้วยเหตุผลว่า นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีภูมิลำเนาใกล้มัสยิด การเปิดในช่วงกลางคืนมีปัญหาในการเดินทาง

กรณีนี้อยู่ระหว่างการต่อสู้คัดค้านของบรรดาสัปบุรุษ แต่ก็มีแรงผลักดันให้เปิดต่อ เพราะมีผลประโยชน์อยู่

หากพิจารณาตาม พ.ร.บ.บริหารองค์กรอิสลาม ปี2540 หน้าที่ 11 ในมาตรา 38 ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนถึงอำนาจหน้าที่ของผู้ที่เป็นคอเต็บว่า:
คอเต็บมีหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามในการแสดงธรรมแก่สัปปุรุษประจำมัสยิด

ซึ่งจะเห็นได้ว่า ตามกฎหมายหน้าที่ของผู้ที่เป็นคอเต็บ มีหน้าที่เพียงแค่ประการเดียวเท่านั้น คือการแสดงธรรม(คุตบะห์) ให้แก่สัปปุรุษประจำมัสยิดเท่านั้น (มีหน้าที่อย่างเดียว แต่กอ.กทม.กลับตั้งคนที่คุตบะห์มาเป็นมาเป็น ไม่รู้อะไรเข้าสิง)
และยิ่งเป็นเพียงแค่ตำแหน่งรักษาการ(ชั่วคราว) ก็ยิ่งไม่น่าจะมีอำนาจหน้าที่อะไรมากมายขนาดนั้น และยิ่งการใช้จ่ายเงินกฎหมายได้แยกอำนาจไว้ชัดเจน ไม่ให้คนที่มีตำแหน่งประจำ คืออิหม่าม คอเต็บ และบิหล่าน ที่มีตำแหน่งตลอดชีวิต เข้ามามีอำนาจ ได้แยกอำนาจไว้กับเหรัญญิก ซึ่งเป็น 1 ในกรรมการมัสยิด และการเบิกจ่าย จะต้องลงนาม 3 คน คือ อิหม่าม เหรัญยิก และการการอีกคนหนึ่ง ซึ่งในสมัยที่ นายเฟาซัน หลังปูเต๊ะ เป็นอิหม่ามการเบิกจ่ายก็ใช้ 3 คน คือ อิหม่าม เหรัญญิก และกรรมการอีกคนหนึ่ง แต่มีการปลดอิหม่าม ด้วยข้อสงสัยเรื่องการใช้จ่ายเงิน แต่ให้เหรัญญิกมารักการอิหม่าม

การดำเนินการของรักษาการ 3 คน จึงสุ่มเสี่ยงว่า จะดำเนินการเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เมื่อมีคณะกรรมการชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งของสัปบุรุษ หากคณะกรรมการฯ เห็นแก่ประโยชน์ของมัสยิด อาจมีการตรวจสอบและดำเนินคดีได้ ยกเว้นว่า จะรอมชอมกันตามสไตน์มุสลิม

เหล่านี้ เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของมัสยิดต้นสน เห็นตัวเลขแล้ว หลายคนคงจะถึงบางอ้อว่า ทำไมต้องปลด ต้องตั้งคนของตัวเองเข้าไป และไม่ยอมคายอำนาจง่ายๆ แต่ข้อเท็จจริงทั้งหมด คงต้องรอให้คณะกรรมการชุดใหม่เข้าไปตรวจสอบ

เห็นอย่างนี้แล้ว ในการเลือกตั้งคณะกรรมการมัสยิดในวันที่ 13 กันยายน บรรสัปดาสัปบุรุษ จะต้องเลือกคนที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของมัสยิด อย่าเลือกคนของกลุ่มคนบางกลุ่ม ที่หวังผลประโยชน์จากมัสยิด ไม่เช่นนั้น ท่านก็เสมือนหนึ่งสนับสนุนความไม่ชอบธรรม ต้องถูกสอบสวนด้วยเช่นกัน

Cr.สัปบุรุษมัสยิดต้นสน