จังหวัดน่าน เปิดป้ายพทูศาสนาเป็นศาสนาประจำจังหวัด แตาพบสถิตืดื่มสุรา ิติดอันดับ 1 ฝน 5 ของประเทศ ในขณะที่มีโบสถ์คริสต์เกือบ 100 แห่งอยู่ในจังหวัด
เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. กลุ่มชาวน่าน ประกอบด้วยพระภิกษุ สามเณรทฆราวาสประมาณ 100 คน ได้ร่วมกิจกรรมเปิดป้าย พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำจังหวัด บริเวณสำนักสงฆ์บ้านใหม่ดินแดน- สาขาวัดบุญยืนพระอารามหลวง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
โดยมีการระบุว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติมานาน แต่ระยะหลังได้เลือนหายไป ทำให้ถูกศาสนาอื่นแทรกแซง ความสำคัญของพุทธศาสนาจึงลดลง ชาวจังหวัดน่านจึงได้จัดตั้งองค์กรปกป้องพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพขึ้นมา และจัดทำป้าย พระพุทธศาศนาเป็นศาสนาประจำจังหวัดขึ้นมา ให้ชาวน่านได้เห็นความสำคัญของพระพุทธศาสนา ไม่ให้บรรพบุรุษชาวน่านที่ล่วงลับไป ได้เศร้าโศกเสียใจ ว่า ลูกหลานชาวน่านไม่รักษาสิ่งที่ดีงามไว้ จึงได้จัดกิจกรรมให้ลูกหลานได้ชื่นชม โดยชาวน่านทุกคนให้การสนับสนุน
สำหรับจังหวัดน่าน มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ ร่วมอาศัย อาทิ ชาวไทยวน หรือ คนเมือง ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงแสนและบริเวณต่างๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด
ชาวไทลื้อ (ไทลื้อ, ไทยอง) ส่วนใหญ่อพยพมาจากสิบสองปันนาและหัวเมืองต่างๆ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจและอพยพมาเนื่องจากเกิดศึกสงครามทั้งภายในหัวเมืองลื้อเอง
ชาวไทลื้อฝั่งสิบสองปันนา ชาวไทพวน หรือ ลาวพวน ชาวไทเขิน หรือ ชาวขึน อพยพมาจากเชียงตุง ชาวไทใหญ่ หรือ เงี้ยว หรือ ไตโหลง มีถิ่นฐานในรัฐฉาน และเชียงตุง นอกจากนั้น ยังมีชาวเขา ได้แก่ ชาวม้ง, เมี่ยน, ลัวะหรือถิ่น, ขมุ รวมถึงชาวตองเหลืองหรือมาบลี ที่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา
ผู้คนในจังหวัดน่านจึงมีภาษาพูดที่หลากหลายด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยถิ่นเหนือหรือคำเมืองสำเนียงน่าน
นอกจากศาสนาพุทธ ที่มีผู้คนนับถือมากที่สุดแล้ว จังหวัดน่านยังมีผู้นับถือศาสนาคริสต์จำนวนมาก โดยมีโบสถ์กระจายทุกอำเภอ จำนวน 89 แห่ง ส่วนอิสลามมีจำนวนเพียงเล็กน้อย
ในขณะที่สถิติเมื่อปี 2560 นายภุชพงค์ โนดไธสง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผย ผลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ. 2560 จากผลสำรวจ พบว่า จากจำนวนประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 55.9 ล้านคน โดยเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอในรอบปีที่แล้ว พบว่าจังหวัดที่มีอัตราผู้ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สม่ำเสมอ เกินกว่าร้อยละ 40 มีจำนวน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย (ร้อยละ 45.3) จังหวัดลำพูน (ร้อยละ 44.1) จังหวัดพะเยา (ร้อยละ 44.0) จังหวัดน่าน (ร้อยละ 42.4) และ จังหวัดสุรินทร์ (ร้อยละ 40.6)