สภาฯ เตรียมถกร่าง พ.ร.บ.โอนงบ 8.8 หมื่นล้านสู้พิษ โควิด-19 “กลาโหม” คืนมากสุด กว่า 1.7 หมื่นล้าน “ศธ.” รั้งที่ 2 คืน 4 พันล้าน “คมนาคม” ตามมาที่ 3 คืนกว่า 3 พันล้าน ขณะ ก.แรงงาน “จับกัง” คืนน้อยสุด 22 ล้านบาท
วันที่ 3 มิ.ย.63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ….. วงเงิน 88,452 ล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอมีทั้ง 5 มาตรา โดยมีหลักการและเหตุผลให้โอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ของหน่วยรับงบประมาณเป็นบางรายการ ไปตั้งไว้เป็นงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพิ่มเติม หลังวงเงิน 96,000 ล้านบาทที่ตั้งไว้ในงบประมาณปี 2563 นั้น ไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้จ่ายสนับสนุนในการแก้ไขปัญหา และเยียายาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโควิด-19 รวมไปถึงกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินจำเป็นจากสถานการณภัยแล้ง และสาธารณภัยอื่น ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ
สำหรับรายละเอียดที่แต่ละหน่วยงานได้มีการโอนงบประมาณ 2563 คืนรัฐบาล เพื่อตั้งเป็นงบกลางไว้สำหรับแก้ไขปัญหาโควิด โดยเรียงตามลำดับกระทรวงที่โอนงบคืนสูงที่สุด ดังนี้
1.กระทรวงกลาโหม (กห.) จำนวน 17,700 ล้านบาท
2.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 4,746 ล้านบาท
3.กระทรวงคมนาคม (คค.) จำนวน 3,427 ล้านบาท
4.กระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 2,057 ล้านบาท
5.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จำนวน 1,356 ล้านบาท
6.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 1,254 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จำนวน 1,153 ล้านบาท
8.สำนักนายรัฐมนตรี (นร.) จำนวน 1,065 ล้านบาท
9.กระทรวงการคลัง (กค.) จำนวน 778 ล้านบาท
10.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 641 ล้านบาท
11.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จำนวน 571 ล้านบาท
12.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวม 506 ล้านบาท
13.กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) จำนวน 384 ล้านบาท
14.กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) จำนวน 277 ล้านบาท
15.กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จำนวน 203 ล้านบาท
16.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) จำนวน 192 ล้านบาท
17.กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จำนวน 139 ล้านบาท
18.กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จำนวน 62 ล้านบาท
19.กระทรวงพลังงาน (พน.) จำนวน 37 ล้านบาท
20.กระทรวงแรงงาน (รง.) จำนวน 22 ล้านบาท
1.กระทรวงกลาโหม (กห.) จำนวน 17,700 ล้านบาท
2.กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จำนวน 4,746 ล้านบาท
3.กระทรวงคมนาคม (คค.) จำนวน 3,427 ล้านบาท
4.กระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 2,057 ล้านบาท
5.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จำนวน 1,356 ล้านบาท
6.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 1,254 ล้านบาท
7.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จำนวน 1,153 ล้านบาท
8.สำนักนายรัฐมนตรี (นร.) จำนวน 1,065 ล้านบาท
9.กระทรวงการคลัง (กค.) จำนวน 778 ล้านบาท
10.กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 641 ล้านบาท
11.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จำนวน 571 ล้านบาท
12.กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวม 506 ล้านบาท
13.กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) จำนวน 384 ล้านบาท
14.กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) จำนวน 277 ล้านบาท
15.กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) จำนวน 203 ล้านบาท
16.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) จำนวน 192 ล้านบาท
17.กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) จำนวน 139 ล้านบาท
18.กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จำนวน 62 ล้านบาท
19.กระทรวงพลังงาน (พน.) จำนวน 37 ล้านบาท
20.กระทรวงแรงงาน (รง.) จำนวน 22 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีการโอนงบของส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง รวม 775 ล้านบาท อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 544 ล้านบาท, สำนักพระพุทธศาสนา จำนวน 177 ล้านบาท เป็นต้น รวมไปถึงงบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 2,537 ล้านบาท, งบประมาณจากแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่างๆทั้ง 15 ด้าน รวมกันทั้งสิ้น จำนวน 13,256 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ ซึ่งเป็นของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 35,303 ล้านบาท