ชาวสวนทุเรียนยะลา เฮ ราคาทุเรียน ขยับสูง หลังไทย เจรจา จีน-มาเลเซีย เปิดด่านเพิ่มช่องทางส่งออก หลัง COVID-19 ระบาด ด้าน เกษตรกรรายใหญ่ ผู้ปลูกทุเรียนพันธุ์ “มูซานคิงส์” ใน จ.ยะลา บอกไม่กระทบ ยังมียอดจองผ่านออนไลน์ สามารถส่งจำหน่ายได้ทั่วไทย ผลผลิตออกไม่ทันผูบริโภค
วันที่ 30 พ.ค. 63 ที่ สวนศักดิ์ศรี เลขที่ 113/2 ม. 2 ต. ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา นายศักดิ์ศรี สง่าราศี เปิดเผยว่าใน เดือน มี.ค.- พ.ค. ของทุกปีถือเป็นช่วงที่ผลผลิตทุเรียนของไทยออกสู่ตลาด โดยปีนี้การส่งออกทุเรียนของไทยเผชิญความท้าทาย จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ โดยประเทศจีนยังคงเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ที่มียอดขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 1.3 หมื่นล้านบาท จากเดิมในปี 2562 มูลค่าส่งออกทุกเรียนสด 2.6 หมื่นล้านบาท กระแสทุเรียนฟีเวอร์ เหมือนทุกปีและมี ราคาดีขึ้นไปด้วย
จะพาไปดูทุเรียนพันธุ์มาเลเซีย หรือ ที่ได้รับความนิยมในหมู่นักบริโภค เรียก “มูซานคิงส์ ” กิโลกรัมละ 550 บาทต่างจากปีก่อนที่ขายได้เพียง 200 – 300 บาทต่อกิโลกรัม เพราะ ลูกค้า ชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ ไม่สามารถเดินทางมาที่สวนได้ จากสถานการณ์โควิด-19 จึงโทรสั่งจองตั้งแต่เริ่มออกผลผลิตแล้วในราคากิโลกรัมละ 600 – 800 บาท ซึ่งเป็นราคาขายปกติในมาเลเซีย ทั้งนี้หากสถานการณ์ปกติ ใน มี.ค.-พ.ค. จะมีกรุ๊ปทัวส์ และ กลุ่มครอบครัว ชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ เดินทางมาซื้อถึงสวนเลยทีเดียวไม่ว่าจะมานั่งกินใต้ต้นทุเรียนและนำกลับไปฝากญาติที่มาเลเซียด้วย
นายศักดิ์ศรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลผลิตทุเรียน มูซานคิงส์ ในสวนปีนี้ค่อนข้างดีกว่าปีที่ผ่านมา มียอดจองมาแล้วกว่า 1,500 ลูก เราดูแลคุณภาพตั้งแต่เริ่มออกดอก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมีภายในสวน ทำให้ลูกค้าติดใจในคุณภาพถึงขนาดจองข้ามปี การตัดทุเรียนนั้นจะเลือกลูกที่แก่จัด สังเกตที่ขั้วผลอวบๆร่องพูสีน้ำตาล เส้นพูชัดเจน ส่วนลูกค้าที่ซื้อทุเรียนไปรับประเทานเอง ต้องรอให้มีกลิ่นหอม ขั้วผลเริ่มแยกหรือหลุด หรือเคาะผลดู ถ้าหลวมๆก็สามารถผ่าทุเรียนกินได้เลย
ปัจจุบัน เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์ มูซานคิงส์ จำนวนมาก รวมถึงในพื้นที่ปลูกทุเรียนหลัก ในแถบภาคตะวันออก อย่าง จังหวัดจันทบุรี และระยอง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ปลูกทุเรียนเพื่อการส่งออก จะหันมาปลูกทุเรียนพันธุ์ มูซานคิงส์ เกือบ 80% เพราะตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดหลักในการส่งออกทุเรียนจากประเทศไทย มีความต้องการบริโภคทุเรียนพันธุ์นี้ ส่วนราคากิ่งพันธุ์ มีราคาตั้งแต่ 260 บาท 350 บาทไปจนถึง 400 บาท และ 500 บาท แล้วแต่ขนาดและอายุของกิ่งพันธุ์ ส่วนที่มาของกิ่งพันธุ์ ก็มีทั้งนำเข้าจากมาเลเซีย อาทิ พันธุ์แชมป์เปี้ยน และพันธุ์ทั่วไป สามารถหาซื้อได้ ที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ จังหวัดใกล้เคียง หรือ ติดต่อ คุณศักดิ์ศรี สง่าราศี โทร. 098- 061- 2806 098-871-4889
ด้าน นางผุสสดี จ๋ายเจริญ พาณิชย์จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ภาพรวมของทุเรียนในปีนี้ของ จ.ยะลา มีผลผลิตประมาณ 52,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 20 เปอร์เซนต์ โดย ปีที่แล้วส่งออกได้ ประมาณ 42,000 ตัน สำหรับในปีนี้ทุเรียนคาดว่าจะสามารถส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทั้งหมดของจังหวัด ตลาดที่ส่งออกก็คือตลาดจีน ตอนนี้ก็มีบริษัทตัวแทนมารับซื้อสนใจเข้ามแล้วา สำหรับการขนส่งถ้าในเรื่องของการส่งออก จากเดิมใช้การขับรถบรรทุกคนไทยที่ไม่คุ้นชินเส้นทาง
ดังนั้น ได้แก้ไขปัญหาเมื่อถึงประเทศลาวที่จะส่งผ่านไปประเทศจีน จะมีการเปลี่ยนคนขับรถเป็นชาวลาวเพื่อให้การขนส่งสามารถไปส่งปลายทางที่ประเทศจีนสะดวก นอกจากนั้น กระทรวงเกษตรได้เจรจากับจีน เพิ่มการส่งออก จากเดิมผ่านด่านตงชีเท่านั้น ให้พิจารณาขยายช่องทางด่านอื่นๆอย่างน้อยอีก1แห่ง ส่วนด่านทางภาคใต้คือด่านสะเดา จ.สงขลา นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ได้เจรจากับมาเลเซียให้เปิดด่านที่ปาดังเบซา ที่จำกัดเฉพาะส่งออกยางพารา ให้ ส่งออก ผลไม้ คือ ทุเรียน มังคุด และ เงาะ ด้วย