คนเอาวาน(ความรู้น้อย)บางจำพวก ชอบตั้งแง่ รั้น สงสัยในสิ่งที่ผู้นำอูลามาอฺ ออกฟัตวา(ชี้ขาด) เรื่องที่ศาสนาอนุญาต แม้แต่การละหมาดที่มัสยิดทั้งญามาอะห์(เป็นกลุ่ม)และวันศุกร์ ซึ่งศาสนามีข้อผ่อนปรน ผ่อนผัน เมื่อเกิดวิกฤตและเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งในสมัยท่านนบีมุฮัมมัด และบรรดาศอฮาบะห์สหายของท่านเคยเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้นแล้ว เช่นฝนตกหนัก น้ำท่วม โรคระบาด และอากาศหนาวเหน็บ ซึ่งบรรดาอูลามาอฺก็นำเหตุและผล จากอัลกุรอานและฮะดิษ มาเปรียบเทียบวินิจฉัยกับเหตุการณ์ รวมทั้งข้อกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยเรื่องการปฎิบัติตัวในภาวะการระบาดของโรคไวรัสโควิด19 รรดาอูลามาอฺทั้งหมดเห็นพ้องต้องกันทุกมัสฮับ(สำนักคิดนิติศาสตร์อิสลาม)
อูลามาอฺเหล่านี้ไม่ได้คิดเองเออเอง โดยศาสตร์ในอิสลามครอบคลุมทุกอิริยาบถของเราทุกรูปแบบ อย่าลืมว่าบรรดาผู้รู้หรืออูลามาอฺคือทายาทของท่านนบี
มีฮะดิษ จากท่านนบีศ็อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
แท้จริงอูลามาอฺคือผู้สืบทอดมรดกของบรรดานบี
ซึ่งที่จริงแล้วพวกเขาไม่ทอดทิ้งสิ่งใดเลย(ให้คนที่มีชีวิตต่อจากเขา) แม้จะเป็นเงินซักดีนาร์หรือเงินดิรฮัมเดียว แต่สิ่งที่พวกเขาได้ทิ้งไว้ คือความรู้,ดังนั้นใครก็ตามที่เขาได้รับเอาไปก็เท่ากับว่าเขาได้รับโชคลาภอันล้ำค่าที่สุด (บันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีย์)
การเปรียบเทียบมัสยิด กับตลาด เป็นการเทียบที่ไม่ถูกต้อง และเป็นการเขลาในความรู้เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมัสยิดเป็นสถานที่มีเกียรติ มีความประเสริฐ จะนำไปเทียบกับตลาดซึ่งเป็นแหล่งการขายอาหารไม่ได้ เราปฎิเสธไม่ได้ว่าการกินการดื่มต้องอาศัยปัจจัยยังชีพ อาหารเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ มนุษย์ไม่ใช่มลาอิกะห์ ที่ถูกสร้างมาโดยไม่กินไม่ดื่ม ไม่มีใครปฎิเสธสิ่งเหล่านี้ หรือใครที่อยู่ทุกวันนี้โดยไม่กินอาหาร?
ซาอุดิอารเบีย อียิปต์ จอร์แดน มาเลย์ สิงคโปร์ และอีกหลายประเทศที่สั่งเคอร์ฟิว ล็อกดาวส์ มีการปิดมัสยิด แต่อนุโลมเป็นบางเวลาให้มีการซื้อขายในตลาด เพื่อให้ประชาชนประทังชีวิต ถ้าปิดตลาดแล้วจะกินอะไร? เพราะการแจกจ่ายไม่ทั่วถึงแน่นอน
อำนาจการจัดการตลาดในพื้นที่ตอนนี้ ก็เป็นหน้าที่การปกครอง ผู้ว่า เทศบาล หรืออบต ในพื้นที่ที่ต้องจัดระเบียบดูแล ป้องกันโรคระบาด ไม่ใช่หน้าที่ของจุฬาราชมนตรีที่มีหน้าที่ประกาศเรื่องศาสนา ต้องแยกแยะ ลองคิดภาพว่า หากให้อิหม่าม หรือโต๊ะเซียะห์ไปเดินห้ามตามตลาด หรือเดินห้ามตามธนาคาร หรือไปเดินห้ามตามที่สาธารณะ มันใช่หน้าที่พวกเขาหรือไม่ ในเมื่อมีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว
ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศมุสลิม จุฬาฯไม่มีอำนาจไปสั่งผู้ว่า ให้ปิดตลาด ปิดธนาคาร ปิดอำเภอ ปิดจังหวัดได้ ซึ่งมีอำนาจและเป็นเรื่องของส่วนราชการอื่นๆ แต่สิ่งที่จุฬาฯทำได้คือ ประกาศแนวทางข้อผ่อนปรนตามหลักศาสนา ให้พี่น้องชาวไทยมุสลิมป้องกันโรคดังกล่าวตามที่ท่านได้วินิจฉัยกับบรรดาอูลามาอฺแล้ว
อิสลามถือว่าชีวิตที่อัลลอฮ์ทรงสร้างนั้นสำคัญที่สุด อิสลามเป็นทางสายกลาง ไม่ตึงและหย่อนเกินไป ทุกอย่างหากเกิดวิกฤตคือศาสนามีข้อผ่อนปรน อย่าเอาบริบทปกติมาใช้กับเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ การรวมตัวในสถานที่เดียวกันในเวลานานๆ ซึ่งไม่ใช่การเคลื่อนไหวหรือทิ้งระยะห่างในการพูดคุย หรือยืน ถือเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งในสถานการณ์เช่นนี้
ล่าสุดมีการประกาศตามหาผู้ละหมาดที่มัสยิดแห่งหนึ่งแล้ว ในจ.ทางภาคใต้ มีการแอบละหมาดกัน ซึ่งมีผู้ติดเชื้อไปละหมาดและอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวด้วย ใครรับผิดชอบ?
อีกทั้งหากเกิดการระบาดขึ้นอีกในมัสยิด มุสลิมจะตกเป็นข้อครหาต่อสังคมว่า เห็นแก่ตัว สร้างปัญหาในสังคม และไม่แคร์ต่อส่วนรวมทำให้ภาพลักษณ์ดูแย่ลง
ทั้งๆที่อิสลามมาเพื่อมนุษยชาติทุกคน ไม่ใช่แค่เฉพาะมุสลิม อิสลามสอนให้มีการป้องกันเหตุ ก่อนมาแก้ไข เรื่องดังกล่าวมีคำสอนมานับพัน4ร้อยปี อย่าให้พวกเขามองเราเป็นตัวประหลาด หรือตัวแปลกแยกในสังคม ปฎิบัติตามผู้นำตามผู้รู้..จบ อย่าทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก หากท่านคิดว่าทำดี แต่กลับกัน สิ่งนั้นสร้างความเดือดร้อนตามมา ความหวังในผลบุญของท่านจะกลายเป็นบาปแทน 1.บาปในการไม่เชื่อฟังผู้นำ 2.บาปที่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น 3.บาปที่ทำร้ายตัวเอง ฯลฯ หมดโควิด19เมื่อไหร่จะละหมาดฟัรดู+ซุนนะห์ ทั้งคืนก็ไม่มีใครห้ามท่าน
ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่สั่งห้ามละหมาดที่มัสยิด
หลายประเทศมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม ได้มีการสั่งปิดมัสยิด และศาสนสถานของศาสนาอื่นๆ มา1เดือนแล้ว บางที่มากกว่า2เดือน ตามการระบาดของโรคโควิด19ในแต่ละพื้นที่ โดยประชาชนในประเทศเขาเข้าใจต่อปัญหา และไม่ได้ออกมาตั้งข้อสงสัยหรือใคร่จะไปมัสยิดให้ได้ในสถานการณ์เช่นนี้
หากท่านไม่สามารถละหมาดที่มัสยิด ท่านละหมาดที่บ้านได้ แต่ถ้าหากท่านไม่มีอาหารประทังชีวิต ท่านก็ไม่มีความสามารถหาริสกี ไม่มีแรงปฎิบัติศาสนกิจและทำอิบาดะห์ได้เต็มที่เช่นเดียวกัน
#Pageรู้จักมุสลิมรู้จักอิสลาม เรียบเรียง