ศบค.ฟันธง! ต่อ พรก.ฉุกเฉิน1เดือน ชี้ ปล่อยทันที ไม่ได้ ต้องมีมาตรการ”คู่ขนาน”

ศบค. มีมติ ให้ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ต่อไปอีก 1 เดือน หลัง “บิ๊กตู่” นั่งหัวโต๊ะ รับฟัง เสียงจากทุกฝ่าย ชี้ แม้สถานการณ์ดีขึ้น แต่หากปล่อยอิสระทันที อาจพลิกกลับมาระบาดได้อีก และ การปรับข้อกำหนด ผ่อนผัน และมีมาตรการคู่ขนาน 

วันนี้ (27 เม.ย.) เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาลนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) โดยมีคณะรัฐมนตรี หน่วยงานด้านความมั่นคง การสาธารสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารืออย่างพร้อมเพรียง โดย จะมีการประเมินสถานการณ์ด้านความมั่นคงและการสาธารณสุข ในมาตรการต่างๆรวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่แม้จะมีอัตราการติดเชื้อที่ลดลง แต่แพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารสุขส่วนใหญ่ ยังมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าการผ่อนคลายมาตรการและข้อกำหนดต่างๆโดยทันทีอาจส่งผลให้การติดเชื้อกลับมาแพร่ระบาดอีกครั้ง อีกทั้งหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ได้มีการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ยังมีความเห็นสอดคล้องว่าควรจะยังคงมาตรการและข้อกำหนดต่างๆไว้ก่อน

ล่าสุดที่ประชุมมีความเห็นตงกันว่า จะให้มีการต่ออายุ การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน โดยจะสิ้นสุดมาตรการดังกล่าวนี้ ภายในวันที่ 30 พ.ค.2563

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถือเป็นการหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาโควิด-19 ซึ่งประเทศไทยทำได้ดีมากในระดับหนึ่ง ได้รับการยอมรับทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง และที่ต้องมีการพิจารณาวันนี้คือเรื่องการต่ออายุการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งการปรับข้อกำหนดให้มีการผ่อนผัน จะต้องให้มีเวลาเตรียมการและมีมาตรการคู่ขนานด้านการสาธารณสุข ต้องดูแลก่อนช่วงที่จะมีการปลดล็อค ซึ่งการประกาซใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มา 1 เดือนเต็มนั้น ต้องขอบคุณทุกฝ่ายที่ได้ทำหน้าที่ยังเต็มที่ทั้งผู้ที่ไม่ได้เป็นกรรมการ แต่ก็มาเป็นที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือ วันนี้จะมีการพิจารณาข้อเสนอที่ส่งมายังภาครัฐ เป็นความร่วมมือของประชาชนจากทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ซึ่งสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากหลังจากที่มีการแพร่ระบาดหลังจากนี้

“สิ่งที่ผมจะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมในวันเดียวกันนี้ คือแนวทางการผ่อนปรนภายหลังจากที่มีการขยายเวลาการประกาซใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยแผนต่างๆ จะยึดตามหลักการสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก เป็นหลักในการดำเนินการ สิ่งที่ผมเป็นกังวลก็คือเรื่องการเยียวยาที่หลายฝ่ายไม่ทั่วถึง เพียงพอ” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว