ตามที่มีการเสนอข้อมูล “เปิดจังหวัดปลดล็อกดาวน์” ซึ่งทำให้ประชาชนหลงเข้าใจว่ามีการเตรียมปลดล็อกดาวน์จังหวัดแล้วนั้น ล่าสุดยังเป็นเพียงการคาดการณ์ของสังคมเองเท่านั้น โดยยังไม่มีคำสั่งจากวงประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ซึ่งมีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่นั่งเป็นประธานฯ แต่อย่างใด
ทั้ง นี้ข้อมูลดังกล่าวอ้างถึงเอกสารการประชุมของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย.63 ซึ่งรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่แต่ละจังหวัด โดยแบ่งกลุ่มจังหวัดเป็นกลุ่มเสี่ยงต่ำ-เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูง ดังนี้
กลุ่ม 1 จังหวัดที่ไม่พบผู้ป่วยในช่วง 14 วัน 32 จังหวัด ได้แก่ น่าน กำแพงเพชร พิจิตร สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท บึงกาฬ ตราด ระนอง จันทบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด สุโขทัย อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครนายก นครพนม พังงา สกลนคร สตูล หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน ลพบุรี สระบุรี
กลุ่ม 2 พบผู้ป่วยในรอบ 14 วันแบบประปรายในวงจำกัดไม่เกิน 5 ราย ต่อสัปดาห์ สามารถหาความเชื่อมโยงของผู้ป่วยได้ รวม 38 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี เชียงใหม่ นราธิวาส กระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น ชุมพร เชียงราย ตรัง ตาก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา พะเยา พัทลุง เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สงขลา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองคาย อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี และ
แน่นอนว่าข้อมูลดังกล่าว จะใช้ในการประกอบการพิจารณาพื้นที่จังหวัดเพื่อเป็นการนำร่องการปลดล็อกดาวน์ ให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การเปิดร้านอาหาร ร้านค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำ ร้านเสริมสวย ห้างสรรพสินค้า ซึ่งที่ประชุม ศบค.จำเป็นที่จะต้องรับฟังความคิดเห็นจากที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุขก่อน
ขณะที่แนวคิดหนึ่งจากฝั่งของ “สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” หรือสภาพัฒน์ ซึ่งได้ส่งมอบข้อเสนอของภาคเอกชน ต่อนายกรัฐมนตรีนั้น มีความน่าสนใจไม่น้อย
แหล่งข่าวในวงประชุมครั้งนี้ เปิดเผยแนวคิดดังกล่าวคือ การเสนอทดลองปลดล็อกดาวน์ โดยนำร่อง 2-3 จังหวัดในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน ประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งการเปิดร้านอาหาร เปิดห้างสรรพสินค้า โดยที่การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจดังกล่าว ยังคงอยู่ภายใต้มาตรการการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เช่น การเว้นระยะห่างจากกัน 1 เมตร การสวมหน้ากากอนามัย และการวัดไข้ก่อนเข้าสถานที่ที่เปิดให้บริการ
ถือว่านี่คือแนวคิดที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด เนื่องจากหากวัดผลแล้วไม่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก็สามารถที่จะขยายผลไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นได้ แต่หากเกิดการแพร่กระจายเชื้อก็สามารถสั่งปิดล็อกดาวน์จังหวัดนั้นได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
โดยจะเริ่มตั้งแต่สัปดาห์หน้า หากประสบความสำเร็จก็จะเริ่มในจังหวัดอื่นๆ ในช่วงต้นเดือน พ.ค. ขณะที่ กทม.และ 5 จังหวัดปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง คาดว่าจะเป็นกลุ่มจังหวัดท้ายสุดที่จะมีการปลดล็อก
แม้แนวคิดดังกล่าวอาจจะฝืนมาตรการสาธารณสุข แต่หากมองในด้านเศรษฐกิจ ถ้ายังมีการล็อกดาวน์พื้นที่อยู่เช่นนี้ นอกจากเศรษฐกิจจะหยุดนิ่งอยู่กับที่แล้ว กลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ลูกจ้าง พนักงาน จะเดือดร้อนเพิ่มมากขึ้น เศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นจะยิ่งตายลง จนยากที่จะฟื้นฟูในภายหลัง และรัฐจะต้องใช้เม็ดเงินอีกเป็นจำนวนมหาศาลในการอัดฉีดและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อเสนอดังกล่าวขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธาน ศบค. ที่จะเป็นผู้ตัดสินใจ โดยการรับฟังความเห็นทั้งจากที่ปรึกษาสาธารณสุข และที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน