ติดไวรัสเพิ่ม 45 ราย-ดะวะห์สงขลา 8 ปัตตานีเพิ่ม 7 ราย เตือน! ติดเชื้อในครัวเรือนสูง

278

สธ.แถลงรายวัน เจอผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ 45 ราย มาจากลุ่มกักตัวหลังกลับจากตปท.9 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ป่วยสะสม 2,518 ราย เสียชีวิตรวม 35 ราย หายแล้ว 1,135 ราย เผยกลุ่มสัมผัสใกล้ชิดยังติดต่อกันสูง มาจากครอบครัวสูงสุด 56% 

วันที่ 11 เม.ย.63 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงข่าวประจำวันว่า วันนี้มีผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 45 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย ผู้ป่วยสะสมรวม 2,518 ราย กระจายใน 68 จังหวัด รักษาหาย 1,135 ราย เสียชีวิตรวม 35 ราย ผู็เสียชีวิต ได้แก่

1.ผู้ป่วยชายไทย อายุ 46 ปี ทำหน้าที่ในโรงรับจำนำ มีโรคอ้วน และอาศัยอยู่กับแม่และน้องสวที่ป่วยโรคโควิด-19 เริ่มมีอาการไข้สูง 39 องศาเซลเซียสและไอ เข้ารับการรักษา รพ.เอกชนแห่งหนึ่งใน กทม. มาวันที่ 1 เม.ย. แพทย์ส่งตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้ผลลบ ให้ยาต้านไวรัสและส่งตรวจโควิด-19 โดยพบว่ามีเชื้อ ตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. โดยวันที่ 9 เม.ย.มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต

2.ผู้ป่วยชายไทยอายุ 65 ปี อาชีพพนักงานทำความสะอาดใน กทม. เริ่มป่วยวันที่ 11 มี.ค. ด้วยอาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก อ่อนเพลีย วันที่ 19 มี.ค.กลับบ้าน จ.พะเยา และไปเข้ารับการรักษาวันที่ 24 มี.ค.ใน นพ.แห่งหนึ่ง จ.พะเยา ส่งตรวจเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้ผลลบ และมาส่งตรวจโควิด-19 ก็ได้ผลยืนยัน วันที่ 27 มี.ค. โดยมีอาการหนักขึ้น วันที่ 28 มี.ค. เหนื่อยหอบมากขึ้น แพทย์ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตวันที่ 10 เม.ย.

นพ.ทวีศิลป์กล่าวว่า ผู้ป่วยรายใหม่ 45 คน แบ่งเป็น 1.ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 36 คน ได้แก่ กลุ่มสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 23 ราย กลุ่มที่ไม่เกี่ยวกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 9 ราย คือ คนต่างชาติเดินทางเข้ามา 1 ราย คนไทยกลับจากต่างประเทศ 2 ราย คือจากอังกฤษ ไปสถานที่ชุมชน 3 ราย อาชีพเสี่ยง 1 ราย บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข 2 ราย และกลุ่มอยู่ระหว่างสอบสวนโรค 4 ราย และ 2. ผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศและอยู่ในสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ 9 ราย ได้แก่ กลับมาจากอินโดนีเซียที่สงขลา 8 ราย และกลับจากสหรัฐฯ ที่ กทม. 1 ราย นี่คือความสำคัญที่้ต้องเน้นย้ำว่า ทำไมคนไทยกลับมาจากต่างประเทศต้องรับการดูแลเป็นพิเศษ

กลุ่มที่เดินทางจากต่างประเทศอังกฤษ 2 คน แยกย่อย กลุ่มที่เดินทางจากต่างประเทศ และผู้ที่อยู่ระหวางการักตัว 9 ราย เป็นกลุ่มที่กลับจากอินโนีเชีย 8 ราย ที่สงขลา และกทม.1 ราย กลับจากสหรัฐฯ

‘นี่คือความสำคัญว่า ทำไมทาง ศบค. หรือผู้บริหารทั้งหลายได้เน้นย้ำว่า ผู้ที่กลับมาจากต่างประเทศจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีเป็นพิเศษ’ นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

จำนวน 45 รายที่เพิ่มขึ้นใหม่ แบ่งเป็น กทม.17 ราย สงขลา 8 ราย ปัตตานี 7 ราย ภูเก็ต 6 ราย ปทุมธานี 3 ราย ชลบุรี 2 ราย และปราจีนบุรีกับพัทลุง จังหวัดละ 1 นาย

‘ต้องขอบคุณคนสงขลา ที่ท่านได้เสียสละ ให้กลุ่มควอรันตีเข้าไปพัก เราจึงแยกตัวเลขออกมา ไม่ปนกับการติดเชื้อปกติ’

โดยการสะสมตัวแบ่งเป็นรายจังหวัด 10 อันดับแรก 1. กทม.สะสม 1,280 คน 2. ภูเก็ต 172 คน 3. นนทบุรี 148 คน 4. สมุทรปราการ 106 คน 5.ยะลา 77 คน 6.ชลบุรี 75 7. ปัตตานี 74 คน 8. สงขลา 55 คน 9. เชียงใหม่ 40 คน และ10.ปทุมธานี 33 คน โดยจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมาก เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร(ต่อประชาการแสนคน) ภูเก็ต 41.61 กรุงเทพฯ 22.57 ยะลา 14.41 นนทบุรี 11.78 ปัตตานี 10.26 สมุทรปราการ 7.94 สตูล 4.96 ชลบุรี 4.87 สงขลา 3.83 และกระบี่ 3.37

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์จำนวนผู้ป่วยวันที่ 4-10 เม.ย. พบผู้ป่วย 495 ราย พบว่า 144 ราย เป็นกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยยืนยันเคสก่อน คิดเป็น 29% กลุ่มใหญ่สุด คือ 1.ครอบครัว 81 ราย หรือ 56% โดยคนป่วยที่ใกล้ชิดมากสุด คือ สามีภรรยา 35 ราย บิดามารดา 20 ราย ญาติอื่นๆ อาศัยร่วมบ้าน 17 ราย บุตร 9 ราย 2.กลุ่มสถานที่ทำงาน 33 ราย หรือ 23% เป็นเพื่อนร่วมงาน 22 ราย โดยเป็นพนักงานบริษัท 27% ผู้บังคับบัญชา 6 ราย ผู้มารับบริการติดต่อประสานงาน 5 ราย 3.กิจกรรมรวมกลุ่ม 26 ราย 18% คือ การพบปะเพื่อน/คนรู้จัก ส่วนใหญ่รับประทานอาหารดื่มเครื่องดื่มร่วมกัน ดังนั้น ช่วงสงกรานต์นี้จะมีการกลับไปอยู่ที่บ้านนั่งพูดคุยกัน ดื่มกันตรงนี้มีโอกาสติดโรคได้ทันที และ 4.กลุ่มอื่นๆ 4 ราย 3% เช่น สัมผัสร่วมยานพาหนะ 2 ราย สัมผัสในชุมชน 2 ราย

“ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ที่บอกว่าน้อย เอาไปใส่ในกลุ่มผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่หรือไม่ ในส่วนของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่นั้น จากเดิมเราคาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยสูงในช่วงต้นปี และลดลงมา แต่ปรากฏว่า เดือน ม.ค.มีผู้ป่วยสูงจริง แต่ ก.พ. มี.ค. ผู้ป่วยลดลงมาก เพราะได้รับอานิสงส์จากการป้องกันจากโรคโควิด-19 “ นพ.ทวีศิลป์กล่าว

น.พ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อในระยะหลัง มีการติดจากการวงสังสรรค์ 4-5 คน เพิ่มขึ้น ในปีนี้ เทศกาลสงกรานต์ ทางกระทรวงวัฒนธรรม จึงสั่งงดการละเล่นทั้งหมด ในส่วนของสำนักงานพระพุทธศาสนา ได้หารือกับพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในส่วนของพระภิกษ ให้ลด ละ เลิกการรวมกลุ่มของสงฆ์ให้น้อยที่สุด ที่เราต้อวร่วมมือกัน ความสำคัญของวัฒนธรรมไม่ว่า ศาสนาไหนมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่จะสำคัญอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับสุขภาพ สุขภาพต้องมาก่อน เราจึงจะสืบสานวัฒนธรรมนั้นต่อไปได้ ถ้าสุขภาพเรามีปัญหา วัฒนธรรมไม่สามารถสืบทอดผ่านคนรุ่นต่อรุ่นไปได้ นี่คือสิ่งที่เราต้องมาช่วยกัน

# ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน# กระทรวงสาธารณสุข# ศบต.# โควิด-19# ไข้หวัดใหญ่