สงครามศาสนา เป็นการป้องกันตัวเป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนทุกคน การทำสงครามในอิสลามคือการใช้สิทธิในการป้องกันตัวตามธรรมชาติ ไม่ใช่การอนุญาตให้ฆ่าผู้อื่นตามการมโนของ ม.ล.บางคน
ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ กรรมการกลางอิสลามแ่งประเทศไทย ได้เขียนบทความกรณี การโจมตีอิสลามโดยกลุ่มพุทธสุดโต่ง ทีนำ’ ม.ล.’ คนหนึ่ง ระบุว่า เป็นคนมีการศึกษา แต่ขาดคุณสมบัติผู้ดี เพราะเอาศาสนามาย่ำยีโดยอคติ และปราศจากความรู้จริง
การป้องกันตัวเป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนทุกคน การทำสงครามในอิสลามคือการใช้สิทธิในการป้องกันตัวตามธรรมชาติ ไม่ใช่การอนุญาตให้ฆ่าผู้อื่นตามการมโนของ ม.ล.บางคน
กรอบใหญ่ในการทำสงครามตามที่พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานบัญญัติไว้ ปรากฎในโองการที่ 190 บท อัตเตาบะฮ ดังนี้
وقاتلوا في سبيل الله الذين يقاتلونكم ولا تعتدوا إن الله لا يحب المعتدين
“จงทำสงครามในหนทางแห่งอัลลอฮกับคนที่ก่อสงครามกับพวกเจ้า และจงอย่าละเมิดความชอบธรรม แท้จริงองค์อัลลอฮไม่ทรงรักผู้ละเมิด”
พิจารณาบทบัญญัตินี้จะเข้าใจได้ว่า
1.มุสลิมจะก่อสงครามกับผู้อื่นไม่ได้ ยกเว้นคนอื่นมาหาเรื่องก่อสงครามก่อน
2. การสงครามที่อนุญาต ต้องอยู่ในครรลองแห่งอัลลอฮ ไม่ใช่สงครามเพื่อแย่งดินแดน ไม่ใช่สงครามเพื่อชาติพันธุ์ และไม่ใช่สงครามเพื่อแย่งทรัพยากร
3.แม้ในยามสงคราม ก็ต้องระวังไม่ให้ละเมิดสิทธิ์ผู้อื่นและไม่ละเมิดหลักความชอบธรรม จะไปฆ่าผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ไม่ฆ่าผู้หญิง เด็ก คนชราและนักบวชรวมทั้งไม่ทำลายทรัพยากร
4.หากไม่อยู่ในกรอบบัญญัติทั้งสาม ก็ไม่นับเป็นการสงครามตามแนวทางอิสลามแต่อย่างใด
ส่วนโองการอื่น ๆ ในพระคัมภีร์ที่เกี่ยวกับการสงคราม ล้วนเป็นส่วนปลีกย่อยของโองการนี้ หมายความว่าต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาที่โองการนี้กำหนดเท่านั้น
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ดร.วิสุทธิ์ ในฐานะประธานฝ่ายวิชาการและการศึกษา คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรรม และการท่องเที่ยวสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ดำเนินการขจัดอคติ สร้างความเข้าใจ และสร้างความสมานฉันท์ทางศาสนา โดยระบุว่า ตามที่มีการเคลื่อนไหวทางสังคม เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาในศาสนาของคนในประเทศไทย โดยกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า องค์กรปกป้องพระุทธศาสนาเพื่อสันติภาพ (อปพส.) เป็นการเคลื่อนไหวที่อาจก่อให้เกิดความเกลียดชัง ระหว่างผู้รับถือศาสนาพุทธและอิสลามได้ ทั้งๆที่ศาสนิกของทั้ง 2 ศาสนาตางมีความสัมพันธ์ที่ดีมานานตลอดประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้เคลื่อยไหวอย่างต่อเนื่องผ่านโลกโซเชียล และล่าสุดได้ยื่นหนังสือถึงจุฬาราชมนตรี ประกอบด้วยข้อเรียกร้อง 9 ข้อ ทั้งหมดสะท้อนความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนต่ออิสลามและมุสลิม ซึ่งอาจนำไปสู่วิกฤติความสัมพันธ์ของคนในชาติและประทบต่อความมั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฝ่ายวิชาการและการศึกษา คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เฝ้าติดตามด้วยความวิตกกังวลอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศษไทยประกอบด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติศาสนา และมีความเป็นพหุวัฒนธรรม ตั้งแต่ครั้งก่อตั้งชาติประเทศ และศาสนิกทั้งหลายมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมายาวนานในฐานะคนไทยใต้ร่วมพระบรมโฑธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนา
ดงนั้นจึงขอให้คณกรรมาธิการฯ ดำเนินการอย่างเหมาะสมตามอำนาจหน้าที่ เพื่อขจัดอคติทางศาสนาและชาติพันธุ์ รวมทั้งสร้างความเข้าใจความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกต่างๆ เพือดำรงไว้ไว้ซึ่งสเถียรภาพ ความสงบและความมั่นคงของประเทศชาติต่อไป