‘หลังสิ้นยุคกัดดาฟี ลิเบียได้เข้าสู่สงครามกลางเมืองตั้งแต่ปี 2011 ฝ่ายที่นำโดยกลุ่มซานูซี ได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่ได้ถูกต่อต้านจากประเทศอาหรับบางประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็มีความพยายามมราจะฟื้นฟูราชวงศ์ซานูซีขึ้นมาอีกครั้ง’
ในภาพ นายฟาเยซ อัล ซาราจ (Fayez Al-Sarraj) หัวหน้าคณะผู้บริหารสำนักงานประธานาธิบดีลิเบีย (The Head of the Libyan Presidential Council) ได้พบปะกับบรรดาผู้ผลิตน้ำมันและนักลงุทนของอเมริกันในระหว่างเดินทางไปเข้าร่วมประชุมสหประชาชาติที่นิวยอร์ค โดยได้เชิญชวนผู้ผลิตน้ำมันและนักทุนอเมริกัน ร่วมลงทุนธุรกิจน้ำมันและก่อสร้างสาธารณูปโภคในลิเบีย
‘สงครามกลางเมืองส่งผลให้ลิเบียสูญเสัยกำลังการผลิตลงไปมาก แต่เราได้ฟื้นคืนกลับมาผลิตได้ 2 ล้านบาเรลล์ต่อวัน และยังสามารถผลิตได้อีกมาก จึงขอเชิญชวนนักลงทุนไปลงทุนในลิเบีย ทั้งการผลิตน้ำมันและสาธารณูปโภคที่ยังขาดแคลนและเสียหายจากสงคราม’ ผู้นำลิเบีย กล่าว
รัฐบาลของนายฟาเยซ อัล ซาราจ ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติ ให้เป็นรัฐบาลที่ถูกต้องหลังการโค่นล้มอดีตประธานาธิบดีโมฮัมมาร์ กัดดาฟี แต่สถานการณ์สู้รบในลิเบียยังคงดูเดือด โดยนายพลฮัฟตาร์ ลูกน้องเก่าของโมฮัมมาร์ กัดดาฟี ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก อาทิ ฝรั่งเศส อิสราเอล และกลุ่มประเทศอาหรับ อย่างสหรัฐอาหรับเอมอเรสต์ และอียิปต์ กับฝ่ายประชาชน อันประกอบด้วยกลุ่มซานูซีเก่า กลุ่มอิควานในลิเบียและอื่นๆ ที่นำโดยนายซาราจ โดยกลุ่มนี้ ได้รับการรับรองจากสหประชาชาติและการสนับสนุนจากตุรกี
การกำเนิดของกลุ่มซานูซี เหมือนเป็นการย้อนอดีตไปสมัยเมื่อ 40 ปีก่อนที่กษัตริย์อิดรีส แห่งราชวงศ์ซานูซี หัวหน้าของอุมัร มุคตาร์ ราชสีห์ทะเลทราย ที่ได้ต่อสู้กองกำลังของจอมเผด็จการมุสโสลินี แห่งอิตาี ทีี่นำกำลังเข้ายึดครองลิเบีย จนได้ชัยชนะ ก่อนจะถูกนายร้อยอย่างโมฮัมมาร์ กัดดาฟี โค่นบัลลังก์ ในข้อหาไร้ความสามารถในการบริหารประเทศ
กษัตริย์อิดรีส อัซซานูซี เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้เสียสละ และสมถะ ได้มอบราชวังของตนให้เป็นมหาวิทยาลัย และปฏิเสธที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์ด้วยงบประมาณแผ่นดิน และไม่ให้ใส่รูปของท่านในเงินลิเบีย
อย่างไรก็ตาม ในกระแสที่ความเจริญวัดกันด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจและความอยู่ดีกินดีของประชาชนวัดกันด้วยวัตถุ กษัตริย์อิดริส ไม่สามารถนำพาประเทศไปสู่ความรุ่งเรืองตามรูปแบบของตะวันตกได้ ในบั้นปลายชีวิต ในขณะที่หูไม่ค่อยได้ยิน ประชาชนคนลิเลียได้ออกมาชุมนุมขับไล่กษัตริย์อิดริดและพากันตะโกนว่า “เรายอมเอาอิบลีส แต่ไม่เอาอิดรีส” มีคนรายงานต่ออิดริส ท่านก็ยกมือขอดุอาอ์ “โอ้อัลลอฮ์ โปรดรับด้วยเถิด”
ไม่นานบัลลังค์กษัตริย์อิดริสก็ถูกโค่นล้ม โดยมีผู้นำที่ปกครองด้วยความแข็งกร้าวอย่างโมฮัมมาร์ กัดดาฟี
กัดดาฟี ปกครองโดยใช้ระบบสังคมนิยมแอฟริกาที่กำลังเฟื่องฟูในขณะนั้น โดยกระจายได้ และจัดสวัสดิการให้กับประชาชน รวมทั้งใช้ อำนาจที่เด็ดขา่ดในการปราบปรามชนเผ่าที่แข็งขืน สามารถทำให้ลิเบียรวมทั้งมีความแข็งกร้าวในตอบโต้กับชาติตะวันตก จนเป็นที่ยอมรับในสังคมมุสลิม แต่สุดท้ายกัดดาฟีก็ถูกโค่นล้มโดยอเมริกา หลังปกครองลิเบียยาวนาน 42 ปี ชะตากรรมของเขาไม่ต่างจากซัดดัม ฮุซเซนแห่งอิรัก
หลังสิ้นยุคกัดดาฟี ลิเบียได้เข้าสู่สงครามกลางเมืองตั้งแต่ปี 2011 ฝ่ายที่นำโดยกลุ่มซานูซี ได้รับการยอมรับให้เป็นรัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่ได้ถูกต่อต้านจากประเทศอาหรับบางประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็มีความพยายามมราจะฟื้นฟูราชวงศ์ซานูซีขึ้นมาอีกครั้ง
ในระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อ 24 กันยายน 2562 ที่กรุงนิวยอร์ค นายฟาเยซ ได้ประชุมทวิภาคีกับประธานาธิบดีแอร์โดฆาน แห่งตุรกี และได้แถลงชื่นชมจุดยืนของตุรกีที่เป็นมิตรแท้ ให้การสนับสนุนกลุ่มซานูซี
‘เพื่อนแท้พิสูจน์กันยามยากนี่แหละ’เขากล่าว
แต่ไม่ง่ายนัก เพราะตุรกีเองก็ยังเผชิญศึกอยู่หลายด้านทั้งกลุ่มชาวเคิร์ด และซีเรีย ซานูซียังคงต้องดิ้นรนต่อไป เพื่อสร้างเอกภาพในลิเบีย