‘ฮาลาลกักขฬะ’ รอคุก ชาวพุทธนำไปขยายผลโจมตี ระดมเครือข่ายเสวนาใหญ่

สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาฯ จัดเสวนา เรื่องฮาลาล นำข้อมูลการกระทำมิชอบของฝ่ายตรวจสอบฮาลาลไปขยายผล ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมเสียขององค์กรอิสลามอีกครั้งหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2562 เวลา 13.00 น.สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ (สพวช.) เสวนา เชิงวิชาการหัวข้อ ถอดรหัส ฮาลาลใครได้ ใครเสีย… โดยมี
นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษา ม.ล.กานตพงศ์ วรวุฒิ นักเคลื่อนไหวด้านพระพุทธศาสนา ณ ห้องประกอบ หุตะสิงห์ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

ประเด็นเกี่ยวกับการเสวนา หัวข้อหนึ่ง ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการอิสลามฯ แพ้คดีอาญา
อนาคตฮาลาลเป็นอย่างไร ชาวไทย ควรเสียค่าเครื่องหมาย ฮาลาลอีกหรือไม่? เป็นการจั่วหัวเพื่อระดมชาวพุทธร่วมเสวนา

ทั้งนี้ การตรวจรับรองตราฮาลาล ของไทย มีมานานกว่า 70 ปี เริ่มต้นจากบริษัทแหลมทองของ ชาวพุทธต้องการส่งไก่ไปคูเวต แต่ทางคูเวตขอให้มีการรับรองฮาลาล จึงไปปรึกษา จุฬาราชมนตรีในขณะนั้น จุฬาราชมนตรีจึงได้รับรองฮาลาลไก่ที่ส่งไปคูเวต ทำให้สามารถส่งออกไปได้

ต่อมาการตรวจรับรองฮาลาลดำเนินการโดยคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยฝ่ายกิจการฮาลาล ของคณะกรรมการกลางฯ และฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เป็นผู้ตรวจรับรอง โดยปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฮาลาล ประมาณ 200,000 ผลิตภัณฑ์ มียอดการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปประเทศมุสลิมประมาณ 300,000 ล้านบาท ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ตกอยู่กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ หากไม่ขอการรับรองฮาลาลก้ไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศมุสลิม โดยฝ่ายกิจการฮาลาลและสำนักจุฬาฯ มีรายได้จากการบริหารจัดการเพียงปีละประมาณ 200 ล้านบาท

กรณีที่มีการนำมาเสวนาขยายผล คือ กรณีที่ได้มีการจัดตั้งฝ่ายตรวจสอบฮาลาล เพื่อดำเนินการตรวจสอบและจับกุมการละเมิดเครื่องหมายฮาลาลทั่วประเทศ ซึ่งได้ร่วมกับทางตำรวจในการตรวจสอบจับกุม ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจับกุมผู้ผลิต ทั้งรายเล็กรายใหญ่ รวมทั้งร้านมุสลิมที่นำเครื่องหมายฮาลาลไปใช้โดยไม่ได้ขอการรับรอง มีการปรับผู้ละเมิดหลายราย รวมเป็นเงินหลายล้านบาท แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยตัวเลขงบดุลแต่อย่างใด ตลอด 7 ปีของการดำเนินการ โดยรายใหญ่ๆ อาทิ บริษัทซีพี มีการปรับบริษัทประมาณ 20 ล้านบาท แต่กรณีที่มีปัญหา คือ การจับกุมน้ำปลาของผู้ประกอบการรายหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยผู้ประกอบการรายนี้ ได้เพิ่มสูตรไอโอดีนลงไปในน้ำปลา เพื่อเพิ่มคุณค่าอาหาร ซึ่งที่ปรึกษาบริษัทก็เห็นชอบให้ดำเนินการได้ ไม่ผิดหลักศาสนาแต่อย่างใด แต่ฝ่ายตรวจสอบได้ไปจับกุม โดยที่ๆปรึกษาที่เห็นชอบ ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการด้วย

มีการเรียกเก็บเงินค่าปรับหลายล้านบาท ซึ่งบริษัทไม่มีเงินจ่ายจึงมีการเรียกเก็บน้ำปลานับแสนขวดไปทำงาย สร้างความเสียหายให้กับบริษัจำนวนมาก ต่อมาจึงมีการฟ้องร้อง และศาลมีคำสั่งให้บริษัทชนะ โดยระบุว่า คณะกรรมการฯตรวจสอบไม่มีอำนาจในการจับกุม การละเมิดเครืองหมายการค้า ไม่ได้เป็นการละเมิดผลิตภัณฑ์ เหมือนกรณีการละเมิดแบรนด์เนม ซึ่งกรณีนี้มีความเสียหายทางธุรกิจ แต่การนำเครื่องหมายฮาลาลไปใช้ คณะกรรมการกลางฯ ไม่ได้เสีนหายในเชิงธุรกิจ เพราะเป็นองค์กรศาสนา ซึ่งเรื่องนี้อยู่ระหว่างอุทธรณ์ ซึ่งหากเป้นไปตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดสมุทรสาคร ก็จะทำให้นายทำตำรวจชุดจับกุม คณะกรรมการฯที่เกี่ยวข้อง อาจจะฟ้องหลายข้อหา