นักเศรษฐศาสตร์การเมือง มอง เลือกตั้ง 62 การเลือกตั้งของทุน-แตกแยกสูง

รศ.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ บทความ ‘สถานการณ์ การเลือกตั้งปี 2562’

มีลักษณะ 10 ประการ ดั ลักษณะนี้:

1) เป์นการเลือกตั้งภายใต้อำนาจรัฐที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพราะเป็นอำนาจรัฐที่มาจากการทำรัฐปรหาร

2) เป็นการเลือกตั้งภายใต้กติกาที่กำหนด โดยอำนาจรัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นกติกาที่สร้างความได้เปรียบ
ให้พรรคการเมืองที่สนับสนุน คสช. และจำกัดบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคที่ต่อต้าน คสช.

3) เป็นการเลือตั้ง ภายใต้กติกาที่เอื้อต่อพรรคทุนหนา แต่จำกัดโอกาสพรรคทุนน้อย เพราะเป็นกติกา ที่ให้นับ
คะแนนที่ผู้สมัคร สส.แต่ละคนของแตละพรรคได้รับ มารวมกันเป็นคะแนนรวมของพรรค เพื่อเป็นคะแนนกำหนด
จำนวน สส.ของแต่ละพรรค. ทั้งสส.บัญชีรายชื่อและ สส.ในเขตเลือกตั้ง ดังนี้ พรรคทุนหนาก็จะส่งผู้สมัคร สส.
ลงสมัครในทุกเขต เพื่อสะสมคะแนนรวมจากทุกเขตให้ได้มากที่สุด แต่พรรคทุนน้อยทำไม่ได้ เพราะไม่มีทุนที่
จะให้สมาชิกลงสมัคร สส.ได้ครบทุกเขต เขตที่ไม่มีผู้สมัครก็ไม่มีคะแนน คะแนนรวมก็จะได้น้อย จำนวน สส.ก็จะ
น้อยและน้อยมาก ในที่สุดพรรคทุนหนาก็จะได้ครองอำนาจรัฐ และประชาธิปไตยไทย ก็จะเป็นประชาธิปไตย
ภายใต้อำนาจทุน

4) เป็นการเลือกตั้ง ที่นำไปสู่การแบ่งแยกแตกขั้ว อันเกิดจากอำนาจรัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการกำหนด
กฏเกณฑ์ที่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบกันมากเกินไป จึงทำให้เกิดฝ่ายต่อต้านอำนาจรัฐ (คสช.) และฝ่าย
สนับสนุน คสช. การแบ่งแยกแตกขั้วเห็นได้ชัดจากพรรคการเมืองต่างๆที่กำลังขับเคี่ยวต่อสู้กันอยู่ขณะนี้ และ
เพิ่อสร้างวาทกรรมทางการเมืองให้ผู้ออกเสียงแบ่งขั้วเลือกข้างได้ง่าย ก็เกิดวาทกรรมของพรรคการเมืองบาง
พรรค เป็นทำนองว่า ถ้าเลือกฝ่ายประชาธิปไตยก็ให้เลือกพรรค….(ต่อต้าน คสช.) ถ้าเลือกเผด็จการก็ให้เลือก
พรรค….(สนับสนุน คสช.)

5) การแตกขั้วเลือกข้างครังนี้ ส่งผลกระทบไปทั่วองคาพยพของสังคมไทย ต้งแต่ระดับบนสุด ลงสู่ระดับล่างสุด
ของสังคม เป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติการเลือกตั้วของไทย ผลสะเทือนนี้จะก่อให้เกิด
ความร้าวลึกซ่อนตัวอยู่ในสังคมไทย ยากจะคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรตามมา

6) เป็นการเลือกตั้งที่มีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเป็นครั้งแรกถึงประมาณ 6-7 ล้านคน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ทึ่ชอบเสพย์
ข้อมูลข่าวสารผ่านระบบมือถือ (social media) เป็นคนที่ไม่มีความฝังใจกับอดีต อยู่กับปัจจุบัน และสับสนงุนงง
กับความแปรผันของอนาคต แต่คนจำนวนนี้ก็มีนัยสำคัญต่อพัฒนาการการเมืองไทย แต่จะมากน้อยเพียงไร
ต้องคอยจับตาติดตาม

7) เป็นการเลือกตั้ง ที่เป็นการแข่งขันกัน ของพรรคแนวอนุรักษ์นิยม และพรรคแนวเสรีทุนนิยม ส่วน
พรรคแนวมวลชน ที่ประชชนระดับล่างเป็นเจ้าของ แทบจะไม่มีโอกาส ที่พอจะเห็นเป็นร่องรอยก็น้อยนิด
และไม่มีพลัง เป็นการตอกย้ำว่า รัฐประชาธิปไตยมวลชน ยังไม่มีโอกาสเกิดขึ้นในระบบการเมือง
การปกครองของไทย

8) 8)เป็นการเลือกตั้ง ที่มีความอ่อนไหว ไม่แน่นอนสูงมาก จนไม่สามารถพูดด้วยความมั่นใจได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป เพราะต้วแปรของสถานการณ์ มีทั้งที่เกิดจากมือที่มองเห็น และจากมือที่มองไม่เห็น ทั้งจากภายในแบะภายนอกประเทศ ยิ่งกว่านั้น ยังเกิดจากอำนาจฟ้าลิขิต ที่มนุษย์ไม่อาจคาดเดาได้

9) เป็นการเลือกตั้ง ที่ทุกพรรคแข่งกันเสนอนโยบาย ให้ และ แจก ซึ่งถ้าทำจริงๆ คิดเป็นจำนวนเงินปีละ
หลายหมื่นหรือนับแสนล้าน แต่ไม่มีพรรคใดบอกว่า เงินจำนวนนี้จะเอามาจากไหน? ในเมื่อภาษีธุรกิจก็ลด
คนจนก็มีรายได้ไม่ถึงระดับที่จะจ่ายภาษีเงินได้ ที่แย่หนักก็คือมนุษย์ค่าจ้างกำลังถูกปลดจากงาน
คนค้าขายรายย่อยก็แทบจะอยู่ไม่ได้ เพราะยอดขายตกต่ำมาก

10) ในสถานการณ์เลือกตั้งนี้ มีผู้ที่ติดตามจับตากลุ่มผู้มีอำนาจ กล่าวคำพูดเครียดๆว่า เมื่อราชสีห์เดินมา แต่ฝูงหมาป่ายืนขวาง อะไรจะเกิดขึ้น:
ก. หมาป่าหลีกไป?
ข.หมาป่าไม่หลีก จึงถูกราชสีห์ขย้ำ?
ค.หมาป่าจะไม่ยอมถูกขย้ำ แต่ใช้ฝูงหมาหมู่สู้กับราชสีห์?

ข้อสุดท้ายนี้ เป็นการเปรียบเทียบเหตุการณ์ที่กำลังเกิด แต่ซ่อนลึกจนคนทั่วไปมองไม่เห็น มันเป็นจริงและกำลังเป็นไป