สิ่งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องเผชิญ ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้

37751936 - raindrops on window with person with umbrella

เรามักจะได้รับข่าวสารว่า คนเป็นโรคซึมเศร้า จะมีอาการดังนี้….

  • รู้สึกหมดหวัง ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อไปหรือจะทำไปเพื่ออะไร
  • ไม่มีความสุขกับสิ่งของหรือกิจกรรมที่ชอบ เช่น รู้สึกเบื่อหน่ายอาหารโปรดหรือการร่วมเพศ
  • น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นเร็วมากอันเนื่องมาจากการรับประทานอาการที่ไม่เหมือนเดิม
  • นอนไม่หลับมาเป็นระยะเวลานาน แต่ในผู้ป่วยบางรายก็นอนนานผิดปกติ
  • มีอาการเครียด หงุดหงิดง่ายขึ้น ไม่รู้สึกผ่อนคลาย
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ทำได้เลย บางครั้งก็แสดงอาการหลงๆลืมๆ และใช้เวลานานในการตัดสินใจ
  • มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าลง รวมถึงการพูด เพราะรู้สึกว่าร่างกายอ่อนแรง
  • รู้สึกอยากฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย บางครั้งผู้ที่มีอาการนี้ก็ไม่รู้ตัวเอง
  • นอนไม่หลับ หรือนอนทั้งวัน

แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดที่ผู้ป่วยต้องเผชิญ
ผู้ป่วยยังต้องเผชิญ กับอาการหลงลืม ไม่สามารถจำสิ่งต่างๆได้ ไม่สามารถจัดระเบียบความคิดได้ จนทำให้เรื่องง่ายๆที่เคยทำกลายเป็นเรื่องยาก จนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่ลง บางครั้งผู้ป่วยอาจหลีกเลี่ยงปัญหาด้วยการหยุดทำ แต่ก็กลายเป็นว่าต้องหันไปรับแรงกดดันจากสังคมแทน เพราะการไม่ทำอะไรเลย ก็คือคนขี้เกียจ นั่งหมดอาลัยตายอยาก

อาการหลงลืม ในบางเคสอาจหนักถึงขนาด จดไว้ว่าจะต้องทำสิ่งนี้ แต่ก็กลับจำไม่ได้ว่าทำไมถึงต้องทำ ทำไปเพื่ออะไร หรือบางครั้งก็ลืมทานข้าว ลืมทำกิจวัตรประจำวันบางอย่าง

สมองไม่สามารถทำความเข้าใจ แม้จะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เคยทำได้ หรือทำอยู่ประจำ หมดความั่นใจ ไม่สามารถตัดสินใจในชีวิตประจำวันได้ ต้องผจญกับความรู้สึกว่าเป็นคนโง่ ที่ทำอะไรไม่ได้เลย เหมือนคนพิการคนนึง แม้กระทั่งการพูดก็จะช้าลง เนื้องจากสมองไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ นึกคำ หรือศัพท์ง่ายๆไม่ออก

ในผู้ป่วยที่อาการหนัก จะไม่สามารถรู้สึก สุข รัก ถึงแม้ว่าจะได้อยู่ใกล้กับคนที่เขารัก หรือได้ทำในสิ่งที่เขาชอบ แต่ผู้ป่วยกลับไม่สามารถรู้สึก หรือมีอารมณ์แง่บวกต่อสถานการณ์ดีที่เคยทำให้ผู้ป่วยมีความสุขได้เลย แต่กลับกัน เรื่องแค่เพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะรู้สึกผิด รู้สึกเป็นภาระ ไร้ค่า และทำให้ผู้อื่นไม่พอใจอยู่ตลอด  เมื่อต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบนี้ เพียงแค่สองอาทิตย์ ก็เป็นเรื่องทรมานไม่ใช่น้อย แต่ผู้ป่วยโรคนี้ก็ต้องอดทนกับความรู้สึกนี้ที่เกิดขึ้น เรื่อยๆ ซ้ำๆ นานเป็นเดือน เป็นปี เป็นหลายๆปี

จึงมีคำพูด…ที่มีบางท่านได้กล่าวไว้ว่า หากผู้ป่วยเลือกจะจบชีวิต คนรอบข้าง ต้องมองว่า เขาได้เลือกเส้นทางที่ทรมานน้อยที่สุดของเขาแล้ว ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจึงไม่ควรคิดว่าตนดูแลผู้ป่วยไม่ดีแต่อย่างใด

สิ่งที่ผู้ดูแลสามารถทำได้คือ ยอมรับความรู้สึกของผู้ป่วย ว่าเขาทุกข์จริง ต้องเจอโรคที่รับมือยาก ต้องอดทนมากจริงๆ และเข้าใจว่าหลายๆอย่างที่เขาทำ ไม่ใช่นิสัยเดิมของผู้ป่วย หากแต่เป็นเพราะเคมีในสมองที่ทำงานผิดปกติไปจนเขาไม่สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ และสิ่งที่ผู้ดูแลต้องจำไว้เสมอคือ แม้ผู้ดูแลจะเป็นคนปกติแข็งแรงดี แต่ทุกคนมีขีดจำกัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ ดังนั้นหากไม่ไหว ก็ต้องปล่อยวาง และพักบ้าง อย่ากดดันตัวเองตามผู้ป่วยจนเกินไป