สนามเลือกตั้งกทม. 3 เขต สวนหลวง-ประเวศ สะพานสูง-ประเวศ และคลองสามวา ที่มีผู้สมัคร มุสลิมลงสมัคร ในนามประชาธิปัตย์ เป็น 3 เขตที่โหดหินด้วยหลายปัจจัย ใครจะร่วงจะรอด มาดูกัน
เขตสวนหลวง-ประเวศ(แขวงหนองบอน-ดอกไม้)
เขตนี้ ‘สามารถ มะลูลีม’ เป็นแชมป์เก่า อยู่กับประชาธิปัตย์มายาวนานตั้งแต่ปี 2528 ตั้งแต่ระดับ สข.,สก. จนก้าวเป็น ส.ส. บางจังหวัดก็ไปสมัคร ส.ว. ทุกครั้งที่ลงสมัคร ได้รับเลือกตั้งมาตลอด 34 ปี แต่คราวนี้ ดูเหมือนว่า สถานการณ์จะแปรเปลี่ยนไป คนที่เคยสนับสนุน ได้แตกตัวไปอยู่พรรคการเมืองอื่น กลายเป็นคนที่ต้องแย่งชิงคะแนนกันเอง
ณัทวุฒิ หมัดนุรักษ์ เป็นอดีต ส.ก. ประชาธิปัตย์ ที่อยู่เคียงคู่กับ ‘สามารถ’ มาหลายสมัย คราวนี้ ขอถีบตัวเองไปลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคภูมิใจไทย ที่ตั้งเป้าเจาะไข่แดง ส.ส.ในกทม. ให้ได้ซักคน
ส่วนอีกคนหนึ่ง ธกร เลาหพงศ์ชนะ ลงสมัครในนามไทยรักษาชาติ ลงแทน ภัทรศักดิ์ โอสถานุเคราะห์ ที่ขึ้นไปลงสมัครในบัญชีรายชื่อ
สามารถ มะลูลีม คราวที่แล้ว ได้รับการเลือกตั้งมาด้วยคะแนน 50,000 กว่าคะแนน ในขณะที่ ‘ภัทรศักดิ์’ ได้รับเลือก 30,000 กว่าคะแนน ส่วนณัทวุฒิ ได้เป็น ส.ก. ด้วยคะแนน 10,000 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่ทับซ้อนกับคะแนนของ ‘สามารถ’ จึงไม่อาจบอกได้ชัดว่า เมื่อให้เลือกแล้ว ชาวบ้านจะเลือกใคร
สามารถ เปรียบตรงที่มีคะแนนพรรคตุนอยู่ ตามผลการสำรวจจะมีประมาณ 20-30% เช่นเดียว หากเสียงผู้มีสิทธิ์ 180,000 เสียงมาเลือกตั้ง 50% หรือประมาณ 90,000 เสียงจะมีเสียงตุนอยู่ประมาณ 20,000-25,000 คะแนน เช่นเดียว กับ ‘ธนกร’ ซึ่งคราวนี้ แม้จะลงในนามไทยรักษาชาติ แต่เพี่อไทยหลีกทางให้ ไม่ส่งผู้สมัคร ก็จะมีคะแนนนิยมของพรรคอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน ประมาณ 20,000 คะแนน ที่เหลือเป็นสวิงโหวต ซึ่งเป็นคนชั้นกลางในเมือง ซึ่งจะขึ้นลงตามกระแสความนิยมของพรรคในแต่ละช่วงเวลา
ณัทวุฒิ จะมีเสียงในชุมชนให้การสนับสนุน จากการเป็น ส.ก.ลงจะลงพื้นที่ชุมชนมากกว่า ส่วนสามารถ จะได้เสียงตามหมู่บ้านจัดสรร โดยที่ ณัทวุฒิ มีฐานอยู่แต่ในเขตสวนหลวง แต่สามารถ มี ส.ก.ในเขตประเวศ ซึ่งมีฐานเสียงแน่นหนา ให้การสนับสนุน ส่วน ‘ธนกร’ มีเสียงในชุมชน และเสียงรอบนอกเช่นเดียวกัน เป็นฐานเสียงที่อยู่ตรงกันข้ามประชาธิปัตย์ กระจายอยู่ทั้ง สวนหลวง และประเวศ
ตัวแปรอีกอย่างหนึ่งคือ สมัย เจริญช่าง ประกาศให้การสนับสนุน ณัทวุฒิ หวังล้มประชาธิปัตย์ในทุกพื้นที่ให้ได้ แต่จะมีผลแค่ไหน อยู่ที่ว่าชาวบ้านจะฟังหรือไม่
เขตสะพานสูงและประเวศ(แขวงประเวศ)
เจ้าของพื้นที่เดิมในเขตนี้เป็นของประชาธิปัตย์ ดาราดัง ‘นาตยา เบญจศิริวรรณ’ เป็นส.ส.เก่า ไม่นับครั้งที่การเลือกตั้งโมฆะ การเลือกตั้งคราวนี้ มีปัจจัยที่แปรเปลี่ยนไป การชักเขาชักออกของนาตยา ที่จะไปอยู่ภูมิใจไทย ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของชาวบ้านอยู่บ้าง แต่การลงส.ส.ของ ‘ประสิทธิ์ มะหะหมัด’ อดีต ส.ส.จากเพื่อไทย ที่คราวนี้ขึ้นชั้นลง ส.ส.ในนมามพลังประชารัฐ และ’สามารถ หวังพิทักษ์’ อดีตผู้สมัคร ส.ก.จากประชาธิปัตย์ ที่ฉีกไปลงในนาม ภูมิใจไทย
การลงสมัคร ส.ส.ของ อดีต สก.ประสิทธิ์ และสามารถ กระทบต่อฐานเสียงของนาตยา ในเขตสะพานสงไม่น้อย ประการหนึ่ง ฐานเสียงมุสลิมในเขตสะพานสูง เป็นฐานเสียงที่ให้การสนับสนุนทั้ง 2 คน อาจจะสลับปรับเปลี่ยนกันบ้าง ตามความพอใจส่วนตัว ซึ่งส.ก.ประสิทธิ์ ได้เปรียบกว่า เพราะเกาะติดอยู่กับพื้นที่มากกว่า และมีผู้ใหญ่ในแวดวงมุสลิม อย่างดร.อิมรอน มะลูลีม ให้การสนับสนุนแบบสุดตัว
ขณะที่ ‘สามารถ’คราวที่เลือก ส.ก.แพ้ ส.ก.ประสิทธิ์ อยู่ 800 คะแนน ได้คะแนนระดับ 10,000 คะแนนใกล้เคียงกัน แต่ฐานเสียงของ สามารถ เป็นฐานเสียงเดียวกับ ‘นาตยา’ อยู่ที่ว่า จะรักใคร
ด้านเพื่อไทย ส่งวิตต์ ก้องธรนินทร์ ผู้สมัครหนุ่มลงชิงชัย ฐานเสียงเพื่อไทยบางส่วนที่สนับสนุน ส.ก.ประสิทธิ์ ประกาศว่าจะไม่ตามไป พลังประชารัฐ ยังยึดมั่นอยู่กับเพื่อไทย แต่ ‘วิทย์’ เป็นคนหนุ่มที่เพิ่งลงพื้นที่และติดความเป็นไฮโซหน่อย นัดผู้หลักผู้ใหญ่ไว้ ไม่ค่อยไปตามเวลา กระแสเพื่อไทยในพื้นที่ ก็ไม่ดีนัก แต่ก็มีฐานเหมือนหลายเขตในกทม.ที่มีความนิยมอยู่ ประมาณ 20-30%
อย่างไรก็ตาม นาตยา ยังมีฐานจาก ส.ก.เขตประเวศ ที่ยังเหนียวแน่นอยู่กับประชาธิปัตย์ ในแขวงประเวศ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของ อดีต ส.ก.ประสิทธิ์ และสามารถ แต่ส.ก.ประสิทธิ์ ก็ลงพื้นที่หนัก เพื่อทำให้คะแนนให้ได้มากที่สุด
เขตคลองสามวา
เป็นพื้นที่เดิมของเพื่อไทย ที่มี จิรายุ ห่วงทรัพย์ เป็นอดีต ส.ส. ชนะสมัย เจริญช่าง ประมาณ 1,000 คะแนน ถือว่า คะแนนค่อนข้างสูสี คราวนี้ ประชาธิปัตย์เลือก ฮูวัยดีย๊ะ พิศสุวรรณ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช น้องสาวดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ลงสมัคร ส.ส. แทนสมัย เจริญช่าง ที่ขอเว้นวรรคทางการเมือง
การส่งฮูวัยดีย๊ะ กลายเป็นปัญหาในพื้นที่คลองสามวา เพราะก่อนหน้า สมัย เจริญช่าง ผลักดัน ณัฐนันท์ กัลยาศิริ ลงสมัคร ลูกชายอดีต ส.ส.สงขลา วิรัตย์ กัลยาศิริ ลงสมัคร แต่บารีมีของสมัย ในประชาธิปัตย์ อ่อนลงไปมาก แถมไปให้การสนับสนุน น.พ.วรงค์ เดชกิจวิกรม เป็นหัวหน้าพรรค จึงผลักดันไม่สำเร็จ สมัย จึงประกาศลาออกจากประชาธิปัตย์ และไม่การสนับสนุน และไม่ให้ผู้สนับสนุนตัวเอง ให้การช่วยเหลือ ฮูวัยดีย๊ะ จึงต้องสู้ศึก 2 ด้าน กับเพื่อไทย ที่คะแนนเป็นรองอยู่แล้ว และยังต้องสู้กับคนกันเองภายในอีก ทำให้ต้องทำงานหนัก ลงพื้นที่หนัก เพื่อตุนคะแนนให้ได้มากที่สุด
เป็น 3 เขตเลือกตั้ง ที่ อดีต ส.ส. ของประชาธิปัตย์ ต้องทำงานหนัก ใครจะรอดจะร่วม ต้องดูกันใกล้ๆวันเลือกตั้งอีกที