ฟัตวาจุฬาฯ ‘ฉีดวัคซีน’ มีความจำเป็น- ‘ดร.วินัย’ฟันธง ไม่มีวัคซีนหะรอม

เปิดคำวินิจฉัยจุฬาราชมนตรี ผู้ปกครองจำเป็นนำบุตรหลาน ‘ฉีควัคซีน’ เพื่อป้องกันโรค ชี้ไม่ผิดหลักการศาสนา  มีอัลกุรอ่านและฮาดิษรองรับชัดเจน ด้านดร.วินัย ดะห์ลัน ยืนยัน ไม่มีวัคซีนหะรอม

ตามที่เกิดกระแสการถกเถียง เรื่องการนำบุตรหลานไปฉีดวัคซีน ดดยมีบางฝ่าย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ เห็นว่า ไม่ถูกต้องตามหลักการศาสนา ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลาม ในวันนี้ (10 ตุลาคม) ได้มีการนำประเด็นนี้เข้าสู่ที่ประชุม ดร.วินัย ดะห์ลัน รองประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทสไทย ระบุว่า  ไม่มีวัคซีนหะรอม ในการประชุมคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีคำถามเรื่องวัคซีนเกิดขึ้นกลางห้องประชุ มเนื่องจากเกิดปัญหาในภาคใต้ตอนล่าง ชาวบ้านไม่ยอมรับวัคซีนที่ทางการฉีดให้เนื่องจากกังวลว่า เป็นวัคซีนหะรอม บางหมู่บ้านถึงขนาดลือกันว่าเป็นวัคซีนที่มีองค์ประกอบของหมู

‘ประเด็นวัคซีนเคยเกิดในอินโดนีเซียและมาเลเซียมาก่อน มาถึงวันนี้ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันแล้วว่าวัคซีนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน “ไม่มีวัคซีนตัวใดที่หะรอม” ปัญหาเกิดจากความไม่เข้าใจองค์ประกอบบางตัวที่มีอยู่ในวัคซีน ผู้อธิบายใช้ความเข้าใจเชิงวิทยาศาสตร์โดยขาดความเข้าใจเชิงศาสนาอิสลามทำให้เกิดความเข้าใจผิด มีการตีความอย่างไม่ถูกต้อง ผมยืนยันว่า ในตลาดวันนี้ไม่มีวัคซีนหะรอม ขอให้ชาวบ้านสบายใจได้

ฟังคำอธิบายจากผมซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทั้งเคยบรรยายเรื่องวัคซีนในต่างประเทศมาแล้ว ผมดีใจที่ที่ประชุมเข้าใจและเห็นด้วยกับผมนั่นคือ “ไม่มีวัคซีนหะรอม”’ ดร.วินัย ระบุ

ทั้งนี้ เมื่อปี 2556 จุฬาราชมนตรี ได้มีคำนิจฉัย (ฟัตวา) ที่ 06/2556 เรื่อง การให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคโปลิโอและโรคอื่น ๆ

คำถาม : การให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคโปลิโอและโรคอื่นๆ สามารถกระทำได้ หรือไม่
 คำวินิจฉัย : หลังจากได้พิจารณาศึกษาบทวิจัย หลักศาสนบัญญัติและสถิติการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค โปลิโอและโรคอื่นๆ แล้ว พบว่า วัคซีนดังกล่าวทั้งชนิดรับประทานและฉีดสามารถป้องกันและลด อัตราการเป็นโรคโปลิโอและโรคอื่นๆ ในเด็กได้และสภานิติศาสตร์อิสลามนานาชาติ(International Islamic Fiqh Academy) โดยองค์การที่ประชุมอิสลาม (Organization of the Islamic Conference หรือ OIC) ได้รณรงค์และส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกกว่า 57 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวม กว่า 1.2 พันล้านคนร่่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ความพยายามในการกำจัดโรคโปลิโอ และโรคอื่นๆ ให้หมดสิ้นไป

ดังนั้น จึงเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของพ่อแม่และผู้ปกครองในการนำลูกหลานของ ตนไปรับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอและโรคอื่นๆ ณ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและรักษาไว้ ซึ่งความสมบูรณ์ของร่างกายที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้และนับเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่ทรง สร้างมนุษย์ให้มีสรีระที่งดงามที่สุดกว่าสรรพสิ่งทั้งปวง ดังพระองค์ตรัส ความว่า “แท้จริง เราได้บังเกิดมนุษย์มาในรูปแบบที่สวยงามยิ่ง” (อัตตีน : 4) และอัลลอฮ์ทรงใช้มนุษย์ให้ดูแลตนเองให้สุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์และให้หลีกห่าง ภยันตราย อย่างสุดความสามารถ ดังพระองค์ตรัส ความว่า “และอย่าปล่อยตัวของสูเจ้าลงสู่ความหายนะ จงทำดีเถิด เพราะอัลลอฮ์ทรงรักผู้ทำดี เสมอ” (อัล-บะเกาะเราะฮ์: 195) และมีปรากฏในวจนะของท่านบีมุฮัมมัด  ความว่า “จะต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น” (อิบนุมาญะฮ์: 2341)

นอกจากนี้ศาสนาอิสลามยังได้ส่งเสริมให้แสวงหาปัจจัยยังชีพเพื่อสร้างความเข้มแข็งและเป็น ประโยชน์ต่อตนเอง ดังวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด  ความว่า “ผู้ศรัทธาที่เข้มแข็งย่อมดีและเป็นที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮ์มากกว่าผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ” (มุสลิม : 2664) ทั้งนี้อิสลามได้กำหนดหน้าที่ในการเลี้ยงดูบุตรหลานให้แก่พ่อแม่ต้องรับผิดชอบ ตั้งแต่แรกเกิด จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังวจนะของนบีมุฮัมมัด  ความว่า “ทุกคนในหมู่พวกท่านเป็นผู้รับผิดชอบและทุกคนในหมู่พวกท่านต้องถูกสอบสวน ถึงผู้อยู่ใต้ความรับผิดชอบของตน ผู้นำเป็นผู้รับผิดชอบและต้องถูกสอบสวนถึงผู้อยู่ใต้ความ รับผิดชอบของตน สามีเป็นผู้รับผิดชอบในครอบครัวของตน และต้องถูกสอบสวนถึงผู้อยู่ใต้ ความรับผิดชอบของตน ภรรยาเป็นผู้รับผิดชอบในบ้านสามีของนาง และนางต้องถูกสอบสวน ถึงผู้อยู่ใต้ความรับผิดชอบของนาง” (อัล-บุคอรีย์: 853)

นบีมุฮัมมัด  ได้ส่งเสริมให้มีการเยียวยารักษาด้วยการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ดังวจนะของท่าน ความว่า “อัลลอฮ์มิได้ทรงให้เกิดโรคเพียงอย่างเดียว แต่พระองค์ยังได้ประทานการรักษามา ให้ด้วย” (อัล-บุคอรีย์: 5354) ดังนั้นการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคโปลิโอและโรคอื่นๆ ในเด็กจึงเป็นวิธีการป้องกันโรคที่อาจ เกิดขึ้นในเด็ก หรือปัจจุบันเรียกว่า เวชศาสตร์ป้องกัน ซึ่งเป็นหลักการที่อิสลามยอมรับมาแต่เดิม ดังวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด ความว่า “ผู้ใดเริ่มต้นเช้าตรู่ด้วยการรับประทานอินทผลัมอัจวะห์7 ผล พิษและคุณไสยจะไม่ ทำอันตรายเขาผู้นั้นได้ในวันนั้น” (อัล-บุคอรีย์: 356, มุสลิม : 2047) และการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรคโปลิโอหรือโรคอื่นๆ นั้น มิได้หมายความว่า ขาดการมอบหมาย ต่ออัลลอฮ์ (อัต-ตะวักกุล) หากแต่เป็นวิธีการป้องกันที่ดำเนินไปพร้อมกับการมอบหมายต่ออัลลอฮ์ และหวังในความเมตตาของพระองค์ที่จะคุ้มครองเด็กให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าว ซึ่งเป็นวิธีการ ป้องกันที่ดีกว่าการรักษาภายหลังจากเกิดโรคแล้ว

واهلل اعلم بالصواب  นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี