เวทีสัมมนา ซึ่งมีหมอแผนปัจจุบันและหมอแผนไทย ยืนยันชัดสรรพคุณ ‘หนานเฉาเหว่ย’ สรรพคุณสุดยอดมาก พบฤทธิอ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด
การจัดเวทีเสวนา “ป่าเฮ่วหมอง และหนานเฉาเหว่ยเป็นต้นไม้ต้นเดียวกันหรือไม่” โดยมีวิทยากร 3 ท่าน คือ หมอประเดิม ส่างเสน (หมอพื้นบ้านไทยใหญ่) หมอพานี นิ่มนุ่ม (หมอพื้นบ้านสุโขทัย) และ ผศ.ดร.พิมพ์พิมล ตันสกุล (อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ได้ข้อสรุปดังนี้
1. DNA fingerprint ของหนานเฉาเหว่ย (Vernonia amigydalina) กับ ต้นไม้ที่ชื่อป่าเฮ่วหมอง ป่าช้าหมอง ป่าช้าเหงา และป่าช้าร้าง (แต่ละพื้นที่อาจเรียกไม่เหมือนกัน) ใน เชียงใหม่ ปราจีนบุรี (ต้นพันธุ์ได้จากเชียงราย) ฉะเชิงเทรา ระนอง และสงขลา มีความใกล้เคียงกัน 98-99% ซึ่งแสดงว่าต้นไม้สองชื่อนี้น่าจะเป็นต้นเดียวกัน
2. จากประสบการณ์รักษาผู้ป่วยของหมอประเดิมและหมอพานีตรงกันคือ หนานเฉาเหว่ย เป็นยาดี แต่มีฤทธิ์แรง มักบริโภคไม่เกิน 3 ใบสด/วัน (ขึ้นอยู่กับขนาดของใบด้วย หากใบใหญ่เท่าฝ่ามือ ก็บริโภคเพียงใบเดียวพอ) และไม่บริโภคติดกันทุกวัน เพราะอาจมีผลลดน้ำตาล หรือความดันโลหิตได้มาก เมื่อโรคเป็นปกติแล้วก็หยุดได้ ไม่จำเป็นต้องกินต่อเนื่อง
3. ประสบการณ์ของหมอ ยานี้กินได้ทั้งในรูปใบสด ต้มและใบแห้ง
4. การกินเพื่อบำรุงร่างกาย กินได้ แต่ไม่ใช่ทุกวัน 2-3 วันเคี้ยวใบเล็กๆ 1 ใบ
5. การบริโภคเป็นอาหารนั้นมักนำมาลวกน้ำเดือด (แล้วเทน้ำทิ้ง) ก่อนนำไปรับประทานหรือปรุงอาหาร เพื่อลดฤทธิ์ของยา
6. การวิจัยในปัจจุบันพบฤทธิ์ ต้านอนุมูลอิสระ ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันในเลือด ปกป้องตับ ทำให้ตัวอ่อนไม่เกาะติดมดลูก และมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านมและอัณฑะ (แต่เป็นการศึกษาในหลอดทดลอง) ดังนั้นผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ และตั้งครรภ์ไม่ควรบริโภค
รวมถึงผู้ป่วยที่มีปัญหาไต และตับ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลความปลอดภัย
📌📌📌สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรศัพท์ 037-211-289 ในวันและเวลาราชการ
#สมุนไพรอภัยภูเบศร