3 องค์กรฮาลาล จัดงานใหญ่ THAILAND HALAL ASSEMBLY 2017 “ดร.ปรกรณ์ ปรียากร” รับเป็นประธานจัดงาน เน้นนำภูมมิปัญญาไทย สร้างอัตลักษณ์ฮาลาล ส่งเสริมการส่งออกมูลค่ามากกว่า 200,000 ล้านบาท
“THAILAND HALAL ASSEMBLY 2017 ” หรือ THA 2017 กำหนดจัดวันที่ 30 พ.ย. – 3 ธ.ค. 2017 เปลี่ยนสถานที่มาจัดที่ศูนย์จัดการประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันมาตรฐนฮาลาลแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีรศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย เป็นประธานจัดงาน มีรายละเอียดในงานน่าสนใจ
รศ.ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า งาน THA 2017 เป็นนำภูมิปัญญาไทยมาสร้างเอกลักษณ์ฮาลาล สาระหลักเราใช้ชื่อว่า “ภูมิปัญญาฮาลาล” ทั้งนี้คำว่า ภูมิปัญญา มาจากคำว่า ฮิกมัต แปลว่า วิทยปัญญา แต่ ภูมิปัญญาฮาลาล ประเทศไทย เป็นการนำเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ ศิลปะอิสลาม หรือ อิสลามิกอาร์ต (Islamic Art) เข้ามาร่วม เป็นจุดบรรจบพลังปัญญาของฮาลาล ที่ทำให้งานมีความโดดเด่น และจะผสานพลัง“ภูมิปัญญาฮาลาล ”ของไทยกับเวทีฮาลาลอาเซียนและโลกมุสลิม ที่จะร่วมมือกันนำนวัตกรรมกรรมของฮาลาลไทย ไปสู่ในเวทีต่างๆ ซึ่งจะนำมาแสดงในงาน THA 2017
งานจะ 2 ฮอลล์ใหญ่ โดยแต่ละฮอลล์ จะมีพื้นที่ประมาณ 6,000 ตารางเมตร หรือ รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 11,000 ตารางเมตร โดยรายละเอียดภายในงาน มีการประชุมวิชาการระหว่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมสินค้า (ครั้งที่ 10 ) เป็นการประชุมมาตรฐานฮาลาล ระหว่างประเทศ ด้านมาตรฐานฮาลาล การตรวจรับรองฮาลาล (ครั้งที่ 4)
โดยมีการประชุมด้านมาตรฐานฮาลาล ในชื่อ “Inter Halal Standard Convention” เพื่อวางแนวทางการกำหนดมาตรฐาน จากเดิมที่มีข้อตกลงว่า ผู้กำหนดมาตรฐานและผู้ตรวจรับรองจะต้องเป็นมุสลิม ก็จะต่อยอดต่อเรื่องการยอมรับซึ่งกันและกัน จากการใช้มาตรฐานกลางในการตรวจรับรอง
รศ.ปกรณ์ กล่าวว่า ในงานยังมีการจัดงานนิทรรศการ “พลังฮาลาลของประเทศไทย” โดยนำเสนอในลักษณะของดิจิตอล รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้าและบริการ ในชื่อ “Thailand Halal Inter National Expo ” ที่เราเรียกว่า “THA 2017”มีบูธแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศประมาณ 300 บูธ โดยไม่เน้นยอดขาย แต่จะเน้นถึงเรื่องของการพัฒนาและ Business Matching การาจับมือกันทางธุรกิจ ซึ่งได้รับการติดต่อจากหลายประเทศที่จะนำนักธุรกิจมาเจรจา อาทิ ซาอุดิอารเบีย เป็นต้น สำหรับคนที่จะสนใจในเรื่องต่างๆ เช่น การประชุมด้านวิชาการ การแลกเปลี่ยนมาตรฐานฮาลาลทั่วโลก และการที่จะไปเชื่อมสัมพันธ์ทางธุรกิจ ก็สามารถเจรจากับผู้ที่มาออกบูธได้ เป็นการต่อยอดทางธุรกิจได้อีกด้วย ”
“เราคาดหวังว่า งาน THA 2017 จะเป็นการพัฒนากิจการฮาลาลในประเทศไทย ที่จะเป็นการบรรจบกันระหว่างเรื่องฮาลาลกับนโยบายของรัฐ ทยแลนด์ 4.0 ที่จะมุ่งหวังยกระดับประเทศไทยให้ก้าวข้ามไปสู่นวัตกรรม ที่ใช้คนน้อยลงแต่มีประสิทธิผลในการผลิตเพิ่มขึ้น วงการฮาลาลไทยจะก้าวไปสู่นวัตกรรม ทั้งอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง เวชสำอาง เรื่องการบริการ เช่น การแพทย์, การบริการท่องเที่ยว, โลจิสติกส์ การขนส่งบนเส้นทางคมนาคม ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำของประเทศ” ดร.ปกรณ์ กล่าวและว่า ในงานมีสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมาและจะมีไฮไลท์มาโชว์ให้กับผู้ที่เข้ามาในงานที่จะได้เห็นความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี โดยได้ขยายงานเป็นเวลา 4 วัน
รศ.ดร.ปกรณ์ กล่าวว่า ฮาลาลไม่ใช่ของใครคนใด แต่เป็นเรื่องของคนทั้งโลก เป็นทรัพย์สินทางปัญญาคนมุสลิมทุกคน เป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ ได้อนุมัติให้บริโภคจากปัจจัยยังชีพที่ทรงปประทานลงมาเพื่อคุณค่า ฮาลาลเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์คุณค่าแก่ผู้บริโภคทั่วโลก และฮาลาลก็ไม่ได้เป็นผลประโยชน์แต่เพียงมุสลิมเท่านั้น แต่เป็นผลประโยชน์ของประเทศไทยด้วย การจัดงาน THA 2017 จะเป็นการส่งเสริมกิจการฮาลาลของไทยในตลาดโลก โดยเฉพาะในตลาดมุสลิม ซึ่งประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ฮาลาลไม่ได้เป็นของมุสลิมเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่า ผู้ประกอบการฮาลาลส่วนใหญ่ 95 % ไม่ใช่มุสลิม มีผลิตภัณฑ์สินค้าฮาลาล ประมาณ 186,000 ผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ SMEs ไปจนถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ ประมาณ 4,000-7,000 ราย มีรายได้จากการส่งออกมากว่า 200,000 ล้านบาท จะเห็นว่า ในขณะที่สินค้าอื่นมียอดการส่งออกลดลง แต่สินค้าฮาลาลมียอดส่งออกเพิ่ม 12% นับว่า ได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติสูงมาก
“ฮาลาลไทย จะไม่สามารถขยายตัวไปสู่ความสำเร็จได้ หากเราไม่ได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน” ดร.ปกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย