พระผู้เป็นเจ้รตรัสไว้ในอัลกุรอ่านว่า “โอ้มนุษย์ทั้งหลาย ! จงกินและจงดื่มสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล)และดี(ตอยยิบ) จากสิ่งที่มีอยู่บนหนแผ่นดิน และพวกท่านจงอย่าตามแนวทางของชัยฏอน (มารร้าย) แท้จริงชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูอันชัดแจ้งสำหรับสูเจ้า”
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงอย่าทำสิ่งที่ดีทั้งหลายทีพระเจ้า(อัลลอฮฺ)ได้ทรงฮาลาล(อนุมัติ)ให้แก่สูเจ้าเป็นของฮะรอม(ต้องห้าม) และสูเจ้าจงอย่าละเมิด แท้จริงอัลลอฮฺไม่รักบรรดาผู้ละเมิดทั้งหลายและพวกเจ้าทั้งหลายจงบริโภคสิ่งที่อนุมัติที่ดี(มีคุณค่า)จากสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้เป็นปัจจัยชีพแก่พวกเจ้าและพึงยำเกรงอัลลอฮฺผู้ซึ่งพวกเจ้าศรัทธาต่อพระองค์เถิด” (อัลกุรอาน 5:90-91)
อยากให้พี่น้องช่วยกันบอกกล่าวตักเตือนพี่น้องมุสลิมและร้านอาหาร ร้านขายของชำมุสลิม ที่ยังใช้เส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยี่ห้อมาม่าอยู่ เนื่องจากมีเพื่อนที่เคยทำงานอยู่โรงงานผลิตมาม่า บอกว่า กรรมวิธีการทำเส้นมาม่ามีสูตรสำคัญอยู่ที่น้ำซุป และซุปที่ใช้ทำเส้นหคือ ซุปกระดูกหมู ซึ่งมาม่าทุกรสใช้สูตรนี้ เขาจึงเตือนว่ามุสลิมไม่สามารถรับประทานได้ แม้ว่าจะเป็นรสต้มยำกุ้งก็ตาม แต่ปัจจุบันทราบมาว่า ร้านอาหารมุสลิมบางร้านยังใช้บะหมี่ยี่ห้อนี้อยู่ และรถยอดฮิตคือต้มยำกุ้ง (เส้นสูตรซุปกระดูกหมู)
ล่าสุด ได้ไปเจอมากับตัวเลยบอกกับทางร้านเขาไป เขาก็ตกใจมาก เขาบอกว่าที่ใช้เพราะหาซื้อง่าย และก็เป็นว่าเห็นรสต้มยำกุ้งไม่น่าจะเป็นไร โดยไม่ได้สังเกตว่าไม่มีตราฮาลาล และจากข้อมูลของ ประธานห้องปฏิบัติการกลางและศูนย์กลางข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาหารฮาลาล คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งท่านมีความรู้จักกับหนึ่งในผู้บริหารของบริษัท สหพัฒนพิบูลย์ จำกัด ได้เล่าให้กับผู้เข้าร่วมการสัมมนาอาหารฮาลาลว่า ทางผู้บริหารของบริษัทดังกล่าวยอมรับว่าผลิตภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ภายใต้ยี่ห้อ “มาม่า” ทุกรสไม่ได้ถูกหลักการของอาหารฮาลาล ตามบัญญัติของศาสนาอิสลามและทางบริษัทเองจะไม่ทำเรื่องขอ แต่บริษัทจะผลิตอีกยี่ห้อหนึ่งคือ”ซือดะ” ซึ่งจะทำการผลิตในโรงงานที่แยกออกไปต่างหากและผลิตให้ถูกต้องตามกระบวนการอาหารฮาลาล เพื่อตอบสนองลูกค้าชาวมุสลิม ด้วยเหตุนี้จึงอยากให้พี่น้องที่พบเห็นร้านอาหารมุสลิมประเภทนี้ ช่วยกันตักเตือนเขาหน่อย เพราะบางร้านเขาไม่ทราบจริงๆ ยังมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอีกหลายยี่ห้อที่มีตราฮาลาลนะครับ เช่น เอฟเอฟ ฮายี โซวโซว จายา เป็นต้น
จริงอยู่ที่ว่า ผู้รับรองตราฮาลาล หรือผู้เป็นเจ้าของร้านอาหารที่ติดตราฮาลาลเป็นผู้รับผิดชอบบาปที่เกิดจากข้อผิดพลาดของการให้ตราฮาลาลนั้น(ผู้บริโภคที่ไม่ทราบไม่ต้องรับผิดชอบบาปนั้น)แต่ถ้าท่านเห็นมุสลิมด้วยกันกระทำผิดโดยที่ท่านทราบว่าผิดแต่ไม่ตักเตือน ท่านก็จะมีความผิดเช่นกัน และก่อนจะทำ ก่อนจะกินอะไรเป็นหน้าที่ของท่านอยู่แล้วที่ต้องตรวจสอบว่ามันถูกหลักศาสนาหรือไม่ไม่ใช่เจตนาผลักบาปให้ผู้รับผิดชอบรับบาปไปโดยไม่ใส่ใจตรวจสอบอะไรเลย
ที่มา : ชมรมมุสลิม มอ.หาดใหญ่ และชมรมมุสลิม ม.ทักษิณ
oknation.nationtv.tv.