ร้อยเรื่อง…ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 10 “เรียนรู้อดีต กำหนดปัจจุบัน วาดฝันอนาคต”

ร้อยเรื่อง…ร้อยใจไทยมุสลิม ตอน 10 “เรียนรู้อดีต กำหนดปัจจุบัน วาดฝันอนาคต”

ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ เริ่มก่อร่างสร้างองค์กรในรูปแบบห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ขนาดเล็ก ในคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ในปีพ.ศ. 2537 จวบจนต้นปี พ.ศ. 2538  จึงได้รับทุนสนับสนุนก้อนแรกจากมหาวิทยาลัย และจัดตั้งเป็น “ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน” ดำเนินงานพัฒนาด้านการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนในอาหารที่ต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม  เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิม จนกระทั่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ลุล่วงในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหาร จึงกำหนดนโยบาย “ครัวไทยสู่ครัวโลก” โดยเร่งพัฒนาด้านความปลอดภัยในอาหาร และมองไปถึงตลาดอาหารฮาลาล ซึ่งนับวันจะเพิ่มมูลค่ามหาศาลในตลาดโลก จึงเร่งผลักดันยกระดับการผลิตและการส่งออกอาหารฮาลาลให้เพิ่มขึ้น  ยุทธศาสตร์เช่นว่านี้ สอดคล้อง และเอื้อโอกาสให้กับ “ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน” คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เหตุนี้จึงได้รับอนุมัติงบประมาณจากมติของคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 13 สิงหาคม 2546  เพื่อดำเนินงานตามแผนการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลและบริการทางวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาหารฮาลาลพร้อมโครงข่าย ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการกำเนิด “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล” ในเวลาต่อมากระทั่งกลายเป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาลแห่งแรกในโลก

ศูนย์วิจัยไขมันและน้ำมัน อาคาร 14 คณะสหเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ปี พ.ศ. 2537
 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  อาคารจุฬาพัฒน์ 6  ปี พ.ศ. 2547
สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดป้ายศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 11-13 อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2555

การกำเนิดของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล แสดงให้เห็นถึงความเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่พร้อมจะส่งเสริมหน่วยงานอิสระในคณะวิชา และสถาบัน ให้สามารถพัฒนาขึ้นเป็นหน่วยงานในมหาวิทยาลัยในจังหวะและเวลาที่เหมาะสม  “ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล” กลายเป็นตัวอย่างอันแสดงถึงความสำเร็จของหน่วยงานที่พัฒนาจากล่างขึ้นบน เปลี่ยนสถานะจากห้องปฏิบัติการวิจัยเล็ก ๆ ของอาจารย์ จนกลายเป็นสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยอย่างเต็มภาคภูมิ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเยี่ยมชม ศูนย์วิทย์ฯ ครั้งที่เสด็จฯ เปิดแพรคลุมป้ายศูนย์ ปี พ.ศ. 2555
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้สัมภาษณ์รายการ ‘เสียงประชาชนเปลี่ยนประเทศไทย” ทางช่อง Thai PBS ในตอน “ฮาลาล แนวคิดเริ่มต้น แนวโน้มการเติบโตธุรกิจฮาลาล

ประสบการณ์จากอดีตของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นเรื่องราวอันทรงคุณค่า หากได้ศึกษาอย่างรอบด้านย่อมเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าต่อการดำรงคงอยู่ในปัจจุบัน และโยงใยในการกำหนดทิศทางของก้าวต่อไปในอนาคต

สำนักข่าวฝรั่งเศสAFP สนใจบทบาทของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศักยภาพของอุตสาหกรรมฮาลาลประเทศไทย
ดาโต๊ะ สะรี ฮัมซะฮฺ ไซนุดดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้า สหกรณ์และผู้บริโภค ประเทศมาเลเซีย นำคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพร้อมผู้แทนทางการค้าของมาเลเซีย 12 คนเข้าเยี่ยมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การอบรมนักวิทยาศาสตร์ฮาลาลต้นแบบแก่นักศึกษาหลักสูตรเคมีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
Dr.Keith Randolph technology strategist for Nutrilite and Artistry research&developement teams for Amway เข้าเยี่ยมชมศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประสบการณ์จากอดีตของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล เป็นเรื่องราวอันทรงคุณค่า หากได้ศึกษาอย่างรอบด้านย่อมเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าต่อการดำรงคงอยู่ในปัจจุบัน และโยงใยในการกำหนดทิศทางของก้าวต่อไปในอนาคต 

และแน่นอนที่สุดเรื่องราวความเป็นมาของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลตลอด 14 ปีที่ผ่านมา  มิได้รังสรรค์แต่เพียงคุณค่าและคุณประโยชน์ต่ออดีตและปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังช่วยต่อเติมความฝัน สร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน บุคคลทั่วไป และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และต่อสังคมภายนอกด้วยเช่นกัน