วันที่ 29 ก.ย.60 ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ประชุมพิจารณากรณีวิกฤติการโรฮิงญา โดยนายAntonio Guterres เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ กล่าวในที่ประชุมสภา ความมั่นคงว่า ความรุนแรงครั้งนี้ ถือเป็น การอพยพ ที่ใหญ่ และเร็วที่สุดในโลก ถือเป็นฝันร้ายด้าน มนุษยธรรม อย่างแท้จริง
ในการประชุมเลขาธิการยูเอ็น ไม่มีการใช้คำว่า ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่ก่อนหน้านี้เขาได้ยกขึ้นมาเพื่อบอกถึง สถานการณ์ วิกฤติโรฮิงญา โดยในการประชุมเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมาเขาเลือกใช้ว่า เป็นกระบวนการความรุนแรงที่นำไปสู่การเคลื่อนย้ายครั้งใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์
ขณะที่ทูตประจำสหรัฐอเมริกา กล่าวถึงปัญหาโรฮิงญา ในเมียนมาว่า จำเป็นต้องมี การจัดการ กับหัวหน้ากองทัพ เมียนมา ที่สั่งปฏิบัติการ ในพื้นที่ยะไข่ จนเป็นเหตุให้มีผู้อพยพร่วม 5 แสนชีวิต โดย นิกกี้ ฮาลีย์ (Nikki Haley) ทูตสหรัฐฯกล่าว ในที่ประชุม ยูเอ็นว่า ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในรัฐยะไข่นั้น ทุกคนต่างเห็นฟ้อง กันว่าเป็นกระบวนการ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย และช่วงเวลา ที่เราจะมาพูดคุย ทางการทูตนั้น จบลงแล้วคำกล่าวของ ฮาลีย์ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่า ผู้อพยพชาวโรฮิงญา จำนวนกว่า 50 คนสูญหายไป ระหว่างพยายาม ล่องเรือข้ามมา ยังฝั่งบังคลาเทศ ก่อนที่จะถูกกระแส คลื่นพัดจมหายไป ที่ทางด้านองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ระบุว่า คาดการณ์ว่าในเรือลำดังกล่าวมีคนอยู่ราว 130 คน ซึ่งรายงานของตำรวจบังคลาเทศพบว่ามีผู้รอดชีวิตเพียง 27 คน เสียชีวิต 19 คน และสูญหายอีกกว่า 50 คน
การออกมาพูดครั้งนี้ของสหรัฐฯถือเป็นครั้งแรกที่มีความพยายามในการเรียกร้องให้มีการลงโทษผู้นำกองทัพเมียนมา แต่ทั้งนี้มาตรการ ที่จะคว่ำบาตร เมียนมานั้น ถูกยกเลิกไปตั้ง สมัยรัฐบาลบารัค โอบาม่า ขณะที่กลุ่ม ชาวพุทธในเมียนมา ปฏิเสธข้อ กล่าวหาประเด็น ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และการกระทำ ต่างๆ ที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
ฮาลีย์ กล่าวด้วยว่า กองทัพเมียนมาต้องถอนกำลังออกจากพื้นที่โดยทันที และต้องจัดการฟ้อง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อเหตุความรุนแรงทั้งหมด ทั้งยังเรียกร้อง ให้รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้มีการส่งความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมจากองค์การ สหประชาชาติ และองค์กรสิทธิต่างๆ พร้อมทั้ง ต้องให้คำมั่น ที่จะรับผู้อพยพ กลับสู่ถิ่นฐานเดิม ของพวกเขา ฮาลีย์ยังตำหนิ ถึงท่าที่ ของ อองซาน ซูจี เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพด้วยว่า เป็นเรื่องน่าอาย อย่างยิ่ง ต่อผู้นำที่เสียสละ เพื่อนำประชาธิปไตย เข้ามาสู่สังคมเมียนมา
ด้านนายWu Haitao อุปทูตจีน กล่าวถึง สถานการณ์แรงกดดัน ต่อรัฐบาลเมียนมา ว่า ประชาคมโลก ต้องระมัดระวังและคำนึงถึงความยากลำบากของเมียนมาด้วย ขอให้อดทน และสิ่งสำคัญคือการส่งความช่วยเหลือ เช่นเดียวกับรัสเซีย Vassily Nebenzia เอกอัครราชทูตรัสเซีย กล่าวว่า เราต้องระมัดระวัง อย่างมากเวลาที่จะพูดระบุว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และมองว่า ที่ผ่านมา โลกกดดันเมียนมามากเกินไป มิหน่ำซ้ำ ยังเป็นการซ้ำเติม สถานการณ์ ให้เลวร้าย ลงมากกว่าเดิม
ด้าน U Thaung Tun ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของรัฐบาลเมียนมา กล่าวถึงวิกฤติโรฮิงญาว่า เป็นการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายไม่ใช่ความขัดแย้งทางด้านศาสนา และเตือนไปยังสภาความมั่นคงของยูเอ็นว่าอย่าทำให้ทุกอย่างดูเลวร้ายขึ้น เพราะนี้ไม่ใช่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเมียนมา.
Cr.สำนักข่าวอิสรา/อัลจาซีรา