เมื่อเจ้าอาณานิคมประกาศลบอิสลามออกจากอินโดนีเซีย บุรุษผู้นี้”อะห์หมัด ดะห์ลัน”ลุกขึ้นสู้รักษาอิสลามจนยืนยาว

“อะห์หมัด ดะห์ลัน” ผู้ต่อสู้ปกป้อง รักษาอิสลามที่อาณานิคมต้องการลบออกจากอินโดนีเชีย จนได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษ ได้สร้างองค์กรอิสลามจนเติบใหญ่มีสมาชิก 50 ล้านคน มีทรัพย์สิน 20,000 ล้านดอลลลาร์ มีองค์กรเครือข่าย 4,000 องค์กร

มัสยิดซุลต่านแห่งเกามัน ยอกยาการ์ต้า

อินโดนีเชียในยุคสมัยที่เจ้าอาณานิคมดัทช์ปกครอง ได้มีการประกาศว่า จะทำให้ผู้คนทั้งเกาะอินโดนีเชียเป็นคริสต์ บรรดาอุลามะห์จึงมุ่งหน้าสู่อินโดนีเชียเพื่อดาวะห์อิสลาม 1 ในนั้นมี “อะห์หมัด ดะห์ลัน” ที่ได้ต่อสู้อย่างแข็งขัน

ป้ายประกาศเชิดชูเกียรติ ในโอกาสฉลองเอกราช 72 ปี

การประกาศที่จะลบอิสลามออกจากอินโดนีเชียของผู้ปกครองชาวดัทช์ให้กลายเป็นแผ่นดินคริสต์ ได้สร้างความวิตกกังวลให้แก่บรรดามุสลิม รวมทั้ง “อะห์หมัด ดะห์ลัน” ที่จะเห็นพี่น้องมุสลิมต้องกลายเป็นคริสต์ จึงได้เดินทางไปมักกะห์เพื่อศึกษาอิสลาม เมื่อกลับอินโดนีเชียยังเห็นว่า วิชาการความรู้ที่เรียนมายังไม่เพียงพอจึงได้กลับไปเรียนอีกครั้ง

อะห์หมัด ดะห์ลัน ( 1 สิงหาคม 1868-23 กุมภาพันธ์ 1923) เป็นชาวเมืองเกามัน ในยอกยาการ์ต้า เมืองซุลต่านที่มีความเก่าแก่มาหลายร้อยปี พ่อมูฮัมหมัด ดาวิส เป็นอิหม่ามมัสยิดแห่งหนึ่ง มีโอกาสเรียนอัลกุรอ่านกับพ่อตั้งแต่เด็กด้วยภาษาอาหรับ ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนที่มักกะห์

ชาวอินโดนีเชียในสมัยนั้น แม้นับถืออิสลาม แต่ยังมีความเชื่อในเรื่องผีสาง ความเชื่อเรื่องการบนบานศาลกล่าวที่ฝังรากลึกมายาวนาน ในขณะที่ผู้ปกครองได้นำคริสตศาสนาเข้ามา การดะห์วะห์ของอะห์หมัด ดะห์ลัน จึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก การเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคนไม่่ใช่เรื่องง่าย ขณะเดียวกัน ก็ยังมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอิสลามด้วย

อะห์หมัด ดะห์ลัน กลับยอกยาการ์ต้า เมื่อ 1888 แต่งงานกับบุตรสาวของอิหม่ามประจำมัสยิด และเริ่มเผยแพร่อิสลาม

มหาวิทยาลัยมูฮัมมาดียะห์ ยอกยาการ์ต้า ขององค์กรมูฮัมมาดียะห์

การเริ่มต้นดะวะห์ของ “อะห์หมัด ดะห์ลัน” ที่เกามัน มีลูกศิษย์ 6 คน ที่ อะห์หมัด ดะห์ลัน ถ่ายทอดความรู้เพื่อการเผยแพร่อิสลามที่ถูกต้องแก่พี่น้องอินโดนีเชีย ทรัพย์สินที่มีอยู่ถูกขายเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่ ด้วยการสนับสนุนส่งเสริมอย่างดีเยี่ยมจากภรรยา ไย๋ อะห์หมัด ดะห์ลัน ที่ในการเผยแพร่อิสลาม และมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อิสลามด้วย

เยาวชนคุณภาพของ Muallimin Muhammadiyah Boarding School ในเครือมูฮัมมาดียะห์

ดร.วินัย ดะห์ลัน หลานปู่ของอะห์หมัด ดะห์ลัน เล่าว่า วีรกรรมหนึ่งของ ปู่อะห์หมัด ดะห์ลัน อย่างหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงกิบลัตในการละหมาด ด้วยชาวอินโดนีเชีย เชื่อในการผินหน้าไปทางทิศตะวันตก การก่อสร้างมัสยิดก็จะเป็นไปตามทิศทางดังกล่าว ปู่อะห์หมัด ดะห์ลัน ได้ใช้วิชาความรู้ที่เรียนมา เปลี่ยนทิศการละหมาดไปทางไบตุลเลาะฮ์ให้ถูกต้อง ทำให้ถูกชาวบ้านต่อต้าน

“ความโกรธของชาวบ้านที่กระทำต่อคุณปู่ของผม คือ การไปรื้อบ้าน การรื้อคือ ใช้เชือกผูกที่เสากลาง และช่วยกันดึงจนบ้านพังลงมา คุณปู่กลับมาบ้าน ก็คิดว่า เมื่อชาวบ้านไม่ยอมรับก็จะออกไปจากเกามัน แต่เป็นคุณย่า ที่บอกให้ต่อสู้ต่อไป แสดงให้เห็นจิตใจที่เข้มแข็งของท่าน” ดร.วินัย เล่าถึงเหตุการณ์ เมื่อกว่า 100 ปีที่ผ่านมา

ไย๋ อะห์หมัด จึงมีส่วนร่วมสำคัญในการเผยแพร่อิสลามของสามี และตัวเองก็ร่วมในการเผยแพร่ด้วย

เมื่ออะห์หมัด ดะห์ลัน ชักชวนบรรดาผู้ชายออกดะวะห์ เหลือผู้หญิงเฝ้าบ้าน เลี้ยงดูบุตรหลาน ไย๋ อะห์หมัด จึงได้ชักชวนบรรดาสตรีเหล่านี้มาช่วยกันดะวะห์บรรดาผู้หญิงด้วยกัน กลายเป็นองค์กรสตรีที่ยิ่งใหญ่

Muallimin Muhammadiyah Boarding School 1 ในโรงเรียนขององค์กรมูฮัมมาดียะห์

ตลอดเวลาของการดาวะห์ อะห์หมัด ดะห์ลัน ไม่เพียงต้องต่อสู้กับความเชื่อเก่าๆที่ฝังรากลึกเป็นความเชื่อชาวอินโดนีเชีย รวมทั้งต้องต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมดัชท์ที่ปกครองอยู่ด้วย

อะห์หมัด ดะห์ลัน ได้จัดตั้งองค์กร”มูฮัมมาดียะห์” ในการเผยแพร่อิสลาม ส่วนภรรยาท่าน ได้จัดตั้งองค์กร “อาอิชิยะห์” ขึ้นมาในการดะวะห์กลุ่มผู้หญิง

การเผยแพร่อิสลามด้วยแนวทางสายกลาง ไม่สุดโต่งเกินไป ประเพณีปฏิบัติที่ไม่ขัดต่อหลักการอิสลามยังคงได้รับการยอมรับ ทำให้ มูฮัมมาดียะห์ ได้รับการยอมรับ จนเติบใหญ่ไปทั่วอินโดนีเชีย คนที่เคยเชื่อสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ได้กลับสู่แนวทางอิสลามที่ถูกต้อง คนที่เข้าเปลี่ยนไปเป็นคริสต์ได้กลับเข้ารับอิสลามดังเดิม

อะห์หมัด ดะห์ลัน กลับสู่ความเมตตาของอัลเลาะฮ์ด้วยวัยเพียง 54 ปี แต่องค์กรของท่านยังคงเดินหน้าในการดาวะห์อิสลาม ด้วยเงินจากการซากาต วากั๊ฟของพี่น้องมุสลิม จากความศรัทธาในแนวทางของ มูฮัมมาดียะห์ องค์กรนี้จึงเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการก่อตั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล และสถาบันที่เป็นประโยชน์มากมายทั่วอินโดนีเชีย

อะห์หมัด ดะห์ลัน บนหน้สสแตมป์ของอินโดนีเชีย
ภาพยนต์จากชีวิตจริง ไย๋ อะหมัด ดะห์ลัน

จนปัจจุบัน มูฮัมมาดียะห์ มีทรัพย์สินอยู่ในการดูแลมากถึง 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือมากกว่า 6 ล้านล้านบาทไทย หรือเท่ากับงบประมาณของไทย 2 ปี มีมหาวิทยาลัย 176 แห่งทั่วอินโดนีเชีย มีโรงเรียน สถานพยาบาล และสถาบันต่างๆ มากถึง 4,000 แห่ง มีสมาชิกทั่วประเทศอย่างเป็นทางการประมาณ 50 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 4 ของพลเมืองอินโดนีเชีย

ด้วยคุณูปการของอะห์หมัด ดะห์ลัน ที่ได้ทุ่มเทชีวิตเพื่ออิสลาม รักษาอิสลามให้คู่กับอินโดนีเชีย เจ้าอาณานิคมไม่สามารถทำลายได้ อะห์หมัด ดะห์ลัน จึงได้รับการยกย่องจากชาวอินโดนีเชีย เป็นวีรบุรุษของประเทศ และภรรยาของท่าน ได้รับการยกย่องเป็นวีรสตรีของอินโดนีเชีย นับเป็นคู่สามี-ภรรยาคู่เดียวของโลก ที่ได้รับการยกย่องเป็น วีรบุรุษและวีรสตรี

ชีวิตชองทั้ง 2 ท่านได้ถูกนำมาสร้างภาพยนต์ เรื่องเกี่ยวกับอะห์มัด ดะห์ลัน เข้าฉายเมื่อ 3 ปีก่อน และเรืองวีรสตรีอินโดนีเชีย เข้าฉายในปีนี้ เป็นภาพยนต์ที่มีคนเข้าชมสูงเรื่องหนึ่งของอินโดนีเชีย

“มีการเปรียบเทียบกันว่า ในอินเดีย “เยาวราล เนรูห์” เป็นวีรบุรุษในการกอบกู้ชาติอินเดียด้วยอาวุธ และ”มหาตมะ คานธี” เป็นวีรบุรุษกอบกู้ชาติด้านธรรม ในอินโดนีเชีย มี ซูการ์โน เป็นวีรบุรุษกอบกู้ชาติอินโดนีเชีย และ อะห์หมัด ดะห์ลัน เป็นวีรบุรุษ กอบกู้ชาติด้านธรรม” ดร.วินัย ดะห์ลัน หลานปู่อะห์หมัด ดะห์ลัน กล่าวสรุป

ดร.วินัย ดะห์ลัน หลายย่ากลับไปเยี่ยมกุโบร์ ไย๋ อะห์หมัด ในกุโบว์ประจำมัสยิดวุลต่าลในเกามัน

ไขปริศนา ปู่เป็นวีรบุรุษอินโดนีเชีย แต่ทำไมดร.วินัย ดะห์ลัน เป็นคนไทย

อะห์หมัด ดะห์ลัน ที่ได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษของอินโดนีเชีย แต่คนสงสัยว่า ทำไมดร.วินัย ดะห์ลัน จึงเกิดที่เมืองไทย เป็นคนไทย มาไขปริศนากัน!

เริ่มกันที่ หลังอะห์หมัด ดะห์ลัน ผู้นำมูฮัมมาดียะห์ ได้กลับสู่ความเมตตาของอัลเลาะฮ์ ในปี 1923 ในปี 1924 ไฟซอล ดะห์ลัน บุตรชายของอะห์หมัด ดะห์ลัน วัย 14 ปี ได้ออกจากอินโดนีเชีย เดินทางไปเรียนหนังสือที่อินเดีย แต่เมื่อจบการศึกษา ไฟซอล ดะห์ลัน ไม่ได้กลับไปอินโดนีเชีย เพื่อร่วมบริหารองค์การมูฮัมมาดียะห์อันใหญ่โต แต่เลือกที่จะเดินทางไปยังประเทศไทย

ไฟซอล ดะห์ลัน ปักหลักในกรุงเทพฯ ก่อสร้างมัสยิดยะหวาในชุมชนชาวอินโดนีเชียในกรุงเทพฯ

บ้านพัก อะห์หมัด ดะห์ลัน

“ผมไม่ทราบความคิดของท่านมากนัก จึงไม่ทราบว่า มีปัญหาอะไรจึงไม่กลับอินโดนีเชีย แต่ท่านเป็นคนเรียบง่าย ไม่ชอบมีปัญหาอะไรกับใคร เข้าใจว่า ตอนนั้น มูฮัมมาดียะห์เป็นองค์กรที่มีคนทำงานต่อเนื่องอยู่แล้ว จึงไม่อยากกลับไปให้เกิดปัญหา” ดร.วินัย ดะห์ลัน บุตรชาย ไขปริศนา

ไฟซอล ดะห์ลัน ได้เดินทางกลับอินโดนีเชีย 1 ครั้ง เพื่อไปรับมรดก ซึ่งเป็นบ้านของ อะห์หมัด ดะห์ลัน ต่อมาบ้านหลังดังกล่าวถูกส่งมายังดร.วินัย และพี่น้อง และได้มอบให้กับสาธารณะกุศล ปัจจุบันใช้เป็นมูซอลลา สอนอัลกุรอ่านแก่เยาวชนในเกามัน

ดร.วินัย ดะห์ลัน ในฐานะหลานปู่อะห์หมัด ดะห์ และผู้นำด้านวิทยาศาสตร์ฮาลาล ถูกเชิญไปบรรยายให้กับองค์กรมูฮัมมาดียะห์บ่อยครั้ง