ตะลึง!ผลวิจัยนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่พบแมวลงวันรักษาโรคได้ เหมือนที่ศาสดาเคยบอกไว้ 1,400 ปี

ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์บความลงในเพจ Dr.Winai Dahlan หัวข้อ บันทึกหะดิษว่าด้วยประโยชน์ของแมลงวัน ให้ข้อมูลว่า จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่พบว่า แมลงวันสามารถรักษาโรคได้ตรงตามที่นบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.)บอกไว้

แมลงวันเป็นพาหะนำโรคบางชนิดอันเป็นเหตุผลที่ทำให้ผู้คนพากันรังเกียจแมลงวัน โรคที่รู้จักกันดีคืออหิวาตกโรคและโรคท้องร่วง นอกจากนี้แมลงวันยังนำโรคอื่นๆได้อีก เป็นต้นว่าโรคแซลโมเนลล่า โรคบิด วัณโรค และพยาธิ คนยุคเก่ารังเกียจแมลงวัน คนยุคใหม่ก็รังเกียจแมลงวันไม่ต่างกัน แต่ท่านนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) กลับให้ความยุติธรรมกับแมลงวันโดยว่าให้ทั้งประโยชน์ทั้งโทษ ก่อโรคได้ขณะเดียวกันก็ใช้รักษาโรคได้ด้วย เรื่องประโยชน์ของแมลงวันที่ท่านนบีกล่าวถึงนี้ กลายเป็นประเด็นที่ในระยะหลังมีการวิจารณ์อิสลามว่าไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

ก่อนอื่นต้องบอกว่านักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เองนั่นแหละที่ยืนยันว่าแมลงวันให้ประโยชน์ในการรักษาโรคได้เช่นที่ท่านนนบีกล่าวจริงโดยมีตัวอย่างหลายเรื่องซึ่งเรื่องแรกเป็นรายงานเก่าเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่หนึ่งที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรประหว่าง ค.ศ.1914-1918 โดยมีรายงานว่าสาเหตุใหญ่ที่คร่าชีวิตทหารในสนามรบคือความสกปรกของบาดแผลที่นำไปสู่การแพร่กระจายของสารพิษที่สร้างจากแบคทีเรียในบาดแผลผ่านเข้าสู่เลือด ในช่วงนั้นยังไม่พบยาปฏิชีวนะหรือยาที่ใช้ฆ่าเชื้อจากแบคทีเรียซึ่งยากลุ่มนี้ตัวแรกที่พบคือยาเพนิซิลลิน (Penicillin) พบใน ค.ศ.1928 เมื่อไม่มียาฆ่าเชื้อวิธีที่ใช้แก้ปัญหาการติดเชื้อในระยะแรกมีอยู่สองสามวิธีรวมทั้งการใช้เทคนิคเก่าที่เคยรู้กันมาก่อนหน้านั้นคือการใช้แมลงวันบ้านให้ลงตอมและวางไข่ในบาดแผลปรากฏว่าวิธีการที่ไม่ค่อยมีเหตุผลสนับสนุนนี้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของทหารที่บาดเจ็บลงได้มาก

เรื่องไข่แมลงวันรักษาบาดแผลนี้ ดร.โกรี เอิร์ดมานน์ (Gory R.Erdmann) แห่งภาควิชาปฏิบัติการเภสัชกรรม คณะเภสัชกรรม มหาวิทยาลัยมินเนโซตา เมืองมินเนอาโพลิส สหรัฐอเมริกา รายงานไว้ใน ค.ศ.1987 ว่าจากการตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการพบว่าไข่แมลงวันสร้างสารบางชนิดที่สามารถทำลายเชื้อโรคในบาดแผล เพียงแต่ในขณะนั้นยังไม่ทราบว่าสารที่ว่านั้นคือสารปฏิชีวนะที่สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียได้

ใน ค.ศ.2000 นักวิจัยจากภาควิชาชีววิทยาโมเลกุลและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์เนล เมืองอิธาคา รัฐนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา นำโดย ดร.ลัง (O.Lung) ทำการศึกษาในแมลงหวี่พบว่าแมลงตัวผู้ระหว่างการผสมพันธุ์จะปล่อยสารโปรตีนบางชนิดเข้าสู่ร่างกายของตัวเมียเพื่อให้ตัวเมียเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะที่ตอบสนองการผสมพันธุ์ของตัวผู้ จากการศึกษาโปรตีนที่ตัวผู้สร้างขึ้นพบว่าโปรตีนกลุ่มนี้มีคุณสมบัติของสารปฏิชีวนะสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคได้หลายชนิด รวมทั้งทำให้สเปิร์มของตัวผู้และไข่ของตัวเมียที่ถูกผสมแล้วสามารถต้านทานการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียได้ บทสรุปคือแมลงบางชนิดรวมทั้งแมลงวันสามารถสร้างสารปฏิชีวนะเพื่อต่อต้านเชื้อโรคได้จริง

ใน ค.ศ.2002 นักวิจัยชาวออสเตรเลียจากภาควิชาชีววิทยามหาวิทยาลัยแมกควอรี (Macquarie) นำโดย ดร.โจแอนน์ คลาร์ก (Joanne Clarke) รายงานในการประชุม The Australian Society for Microbiology Conference ในนครเมลเบิร์นว่าโครงการค้นหาสารปฏิชีวนะเพื่อต่อสู้กับโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ของเธอ สิ่งที่ทีมวิจัยค้นพบคือผิวหรือปีกแมลงวันผลไม้บางชนิดอุดมไปด้วยสารปฏิชีวนะต่างๆที่ใช้ทำลายแบคทีเรียที่ก่อโรคหลายชนิด วิธีการสกัดสารปฏิชีวนะจากแมลงวันทำได้ง่ายๆโดยการกดแมลงวันลงในเอธานอลหรือแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงนำเอธานอลไปสกัดเอาสารปฏิชีวนะออกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เรื่องนี้ยืนยันกันชัดว่าปีกหรือตัวแมลงวันมียาที่ใช้รักษาโรค ตรงกับหะดิษของท่านนบีมูฮำมัด (ซ.ล.) อย่างน่าอัศจรรย์