วันที่ 16 ก.ค. 2560 ที่หอประชุมจังหวัดสุรินทร์ นางสาวดวงพร บุญครบ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในพิธีการประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนากลไกเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับอำเภอ เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ.ศ.2560” เพื่อสร้างความเข้าใจกรอบแนวคิดการขับเคลื่อนพลังจิตอาสาประชารัฐ แก่เครือข่ายจิตอาสาของจังหวัด ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และภารกิจที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการที่ศูนย์ประสานงานภาคีพัฒนาจังหวัดสุรินทร์ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสำนักงานจิตอาสาประชารัฐเพื่อสังคมสุขภาวะ (สอปร.) ดำเนินการโครงการพัฒนากลไกเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลและคณะทำงานประชารัฐเพื่อสังคม โดยใช้กรอบแนวคิดสำคัญคือการพัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐในระดับจังหวัด เสริมสร้างสังคมสุขภาวะและการอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน โดยยกระดับเป็น “ศูนย์ประสานงานพัฒนาจิตอาสาประชารัฐระดับจังหวัด ” ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้มีจิตอาสาทั้ง 17 อำเภอของจังหวัดสุรินทร์ เข้ามาเป็นเครือข่ายในการดำเนินงานเพื่อสาธารณะร่วมกัน โดยภารกิจตั้งต้นมี 2 ประการ ได้แก่ (1) เข้าถึงและช่วยเหลือผู้ยากลำบากในชุมชนทั่วประเทศ (2) จัดทำแผนที่จุดเสี่ยงต่อพิบัติภัยธรรมชาติของชุมชนเป็นรายอำเภอและพัฒนาระบบเครือข่ายเฝ้าระวังฯและรับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก มีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยคณะกรรมการสนับสนุนเครือข่ายอาสาประชารัฐเพื่อสังคมจังหวัดสุรินทร์แกนนำจิตอาสาประชารัฐระดับอำเภอ รวมทั้งสิ้น 200 คน
ทั้งนี้ในยุค คสช. เมื่อรัฐบาลประกาศนโยบาย “สานพลังประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก”ในปี 2558 เปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายการปฏิรูป และ ศปจ.ทุกจังหวัด แสดงบทบาทเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิดและแนวทางการทำงานแบบที่เรียกกันว่า ”เป็นประชา-รัฐ” โดยได้เข้าร่วมอยู่ในกลไกคณะทำงานประชารัฐของจังหวัด สช.ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีภารกิจส่งเสริม-สนับสนุนกระบวนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม เป้าหมายคืออยากเห็นนโยบายรัฐทุกประเภท ของทุกกระทรวง ทุกจังหวัดและทุกท้องถิ่น ล้วนเป็นนโยบายที่มีมิติห่วงใยต่อสุขภาพ-สุขภาวะของสังคมและคนเล็กคนน้อย
ดังนั้น สช.จึงได้ทำงานร่วมทำงานกับ ศปจ.และภาคีเครือข่ายประชารัฐและประชาสังคมในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยเน้นการสำรวจค้นหากลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะยากลำบากและกลุ่มเปราะบาง พร้อมให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างเหมาะสมจัดทำแผนภูมิศาสตร์และระบบเฝ้าระวังที่เสี่ยงต่อภัยพิบัติ ซ้ำซาก โดยอาศัยแกนนำเครือข่ายจิตอาสาทุกระดับ มาทำความเข้าใจแนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนากลไกเครือข่ายจิตอาสา เพื่อสร้างกรอบแนวคิดและขับเคลื่อน จิตอาสาแบบประชารัฐ พัฒนากลไกสนับสนุนเครือข่ายจิตอาสาประชารัฐ เสริมสร้างสังคมสุขภาวะ พ. ศ. 2560 แบบจิตอาสาเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานพัฒนาสู่สังคมไทย 4.0
รมิตา สิงหเสรี / สำนักข่าวทีนิวส์ จังหวัดสุรินทร์