จะมีการนัดประชุมในวันที่ 7 เมษายน โดนยเลขานุการจุฬาราชมนตรี เป็นประธาน หวังว่า จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของมุสลิมจังหวัดแพร่ไม่ให้บานปลายไปมากกว่าที่เป็นอยู่
วันที่ 31 มีนาคม ในขณะที่มุสลิมทั่วโลก เปิดมัสยิดหรือลานข้างมัสยิดละหมาดอีดิ้ลฟิตรี แต่สำหรับมุสลิมจังหวัดแพร่ พวกเขาไร้มัสยิดละหมาด เนื่องจากมัสยิดจังหวัดแพร่ ถูกอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ปิดไม่ให้เข้าไปละหมาดอ้างว่า มีการบริจาคที่ดินสำหรับเป็นกุโบร์ สร้างความยุ่งยากให้กับมุสลิมจังหวัดแพร่และใกล้เคียง อาทิ ร้องกวาง มุสลิมจ.น่าน ต้องจัดหาสถานที่รวมตัวกันละหมาด โดยใช้บังเลาะห์ เป็นสถานที่ละหมาดอีดิ้ล ฟิตรี และก่อนหน้านี้ ใช้ละหมาดวันศุกร์ หลังมัสยิดในตัวเมืองแพร่ถูกปิด บรรยากาศเป็นไปด้วยเป็นกันเอง มีการทำอาหารเลี้ยงระหว่างกัน ก่อนจะแยกย้ายกันกลับ
ในจังหวัดแพร่ มีมุสลิมเข้ามาอาศัยตั้งแต่เมื่อกว่า 100 ปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเข้ามาทำงานให้กับบริษัทของต่างชาติที่เข้ามาทำไม้ ระยะหลังมุสลิมจากภาคใต้ ได้เข้ามากรีดยาง กระจายอยู่ในหลายอำเภอ เกือบ 100 ครัวเรือน
มุสลิมที่เข้ามาอาศัยในจังหวัดแพร่ ได้รวบรวมเงินจัดซื้อที่ดิน ประมาณ 4 ไร่ บริเวณใจกลางเมือง บริจาคเป็นสาธารณกุศลเพื่อศาสนาอิสลาม ส่วนหนึ่งใช้เป็นสถานที่ฝังศพผู้เสียชีวิต มีการสร้างมัสยิดสำหรับละหมาดมาหลายสิบปี ต่อมาได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ ของมัสยิดเด่นชัย เนื่องจากมีการจดทะเบียถูกต้อง เมื่ออิหม่ามมัสยิดเด่นชัยคนปัจจุบัน เข้ารับตำแหน่ง จนเมื่อประมาณ 1 ปีที่ผ่านมา ก็ได้ปิดประตูมัสยิด อ้างว่า ที่ดินมีการบริจาคสำหรับทำกุโบร์ไม่สามารถใช้ทำการละหมาดได้ ทั้งที่ มีการสร้างสถานที่ละหมาดและร่วมกันละหมาดมาหลายปี รวมทั้งมีการสร้างอาคารเอนกประสงค์ขึ้นมาด้วย มีการตั้งข้อสังเกตว่า ที่มีการปิดมัสยิดเพราะกลัวจะไม่มีพี่น้องมุสลิมไปละหมาดที่มัสยิดเด่นชัยหรือไม่ มัสยิดเด่นชัยแม้จะอยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ ประมาณ 20 กิโลเมตร แต่เส้นทางสูงชันผ่านภูเขาต้องใช้เวลานาน
พี่น้องมุสลิมจังหวัดแพร่ ส่วนหนึ่งเป็นผู้บริจาคที่ยังมีชีวิตอยู่ และลูกหลานผู้บริจาคได้ร้องต่อจุฬาราชมนตรี ขอให้ออกคำสั่งฟัตวาว่า ที่ดินดังกล่าวใช้เป็นสถานที่ละหมาดได้หรือไม่ ได้มีการเชิญทั้ง 2 ฝ่ายมาไกล่เกลี่ยที่สำนักจุฬาราชมนตรี มีนายสมัย เจริญช่าง ประธานกอจ.กรุงเทพฯ และกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ได้ข้อสรุปให้ใช้เป็นสถานที่ละหมาดได้ แต่อิหม่ามมัสยิดเด่นชัย เจ้าของกรรมสิทธิ์ ได้ขอให้มีทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร จนต่อมามีการประชุมคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ออกคำสั่งฟัตวา เสนอให้นายอรุณ บุญชม จุฬาราชมนตรีลงนาม แต่นายอรุณ ก็ยังไม่ได้ลงนามแต่อย่างใด
จุฬาราชมนตรี ให้ความเห็นกับ Mtodayว่า หากฟัตวาจะไปขัดแย้งกับกฎหมายบ้านเมือง
อย่างไรก็ตาม มีหนังสือไปยังฝ่ายที่เกี่ยวข้องลงนามโดยนายประสิทธิ์ มะหะหมัด เลขานุการจุฬาราชมนตรี ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการไกล่เกลี่ยของสำนักจุฬาราชมนตรี นัดประชุมในวันที่ 7 เมษายน ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 3 สร้างความเอือมระอาให้กับพี่น้องชาวแพร่ที่เห็นว่า ทำให้เรื่องยืดเยื้อโดยใช่เหตุ เมื่อมีการไกล่เกลี่ยนจนได้ข้อสรุปแล้ว เพียงจุฬาราชมนตรี ลงนามก็สามารถแก้ปัญหาได้
การนิ่งเฉยของสำนักจุฬาราชมนตรี ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงของมุสลิมในจังหวัดแพร่ ระหว่างกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการปิดมัสยิดกับฝ่ายสั่งปิดมัสยิด ที่มีตั้งข้อสังเกตุว่า ระดับผู้ใหญ่ในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อยู่เบื้องหลังหรือไม่ เพราะในขณะที่มีการปิดมัสยิดจังหวัด กลับมรหนังสือของประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดลำปาง ทำหนังสือถึงมุสลิมทั่วประเทศขอรับบริจาคเพื่อขัดซื้อที่ดินสร้างมัสยิดในจังหวัดแพร่ ซึ่งน่าสงสัยว่า ประธานกอจ.ลำปางมาเกี่ยวข้องอะไรกับจังหวัดแพร่ อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตุว่า ประธานกอจ.ลำปาง มีเส้นสายเป็นผู้ใหญ่ในคณะกรรมการกลางฯ และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของอิหม่ามมัสยิดเด่นชัย มีการสัณนิษฐานว่า การขอขริจาคเพื่อจัดซื้อที่ดินสร้างมัสยิดอีกแห่งเป็นความต้องการใช้ลำปางโมเดล คือ เป็นจังหวัดที่มีมุสลิมไม่มากแต่ต้องการสร้างมัสยิดให้ครบ 3 แห่งเพื่อจะได้มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรือไม่ เพื่อเป็นฐานให้ใครบางคนในคณะกรรมการกลางฯ หรือไม่
https://www.facebook.com/share/v/18gyUpCweh/
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่กล่าวมา เป็นเพียงข้อสัณนิษฐาน จากข้อสงสัยว่า ทำไมการแก้ปัญหาในจังหวัดแพร่จึงได้ยืดเยื้อ ทั้งที่ได้ข้อสรุปในเบื้องต้นแล้ว
การปล่อยให้ข้อพิพาทยาวนาน ส่งผลให้ความขัดแย้งของมุสลิมในจังหวัดแพร่บานปลาย นอกจากมีการยื่นเรื่องต่อสำนักจุฬาราชมนตรี ยังมีการร้องต่อศาล และร้องต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ ในการประชุมเพื่อแก้ปัญหามีผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธาน มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยของสำนักงานตรวจแห่งชาติ เข้าร่วม กลายเป็นเรื่องรางใหญ่โตที่มีการพูดถึงทั่วจังหวัดแพร่ ถึงความขัดแย้งของมุสลิมที่เป็นพลเมืองจำนวนน้อย ซึ่งการประชุมในครั้งนั้น ไม่ได้ข้อสรุป ทางผู้ว่าราชการจังหวัดรอหนังสือจากสำนักจุฬาราชมนตรีวินิจฉัย เพราะเป็นปัญหาทางศาสนา ซึ่งทางจังหวัดได้ทำหนังสือขอความเห็นมาก่อนหน้านี้ ก็ไม่มีหนังสือตอบรับจากสำนักจุฬาราชมนตรี
การประชุมในวันที่ 7 เมษายน หวังว่า จะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งของมุสลิมจังหวัดแพร่ไม่ให้บานปลายไปมากกว่าที่เป็นอยู่
https://www.facebook.com/Mtodaypage/videos/1571014146897536/?notif_id=1743861344724466¬if_t=feedback_reaction_generic&ref=notif