กอท.จับมือเอกชนจัด MEGA HALAL Bangkok 2025ดันไทยขึ้นแท่นศูนย์กลางฮาลาลโลก

คอมเอเชีย (ComAsia) จับมือเวิลด์เด็กซ์ จี.อี.ซี. และสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน MEGA HALAL Bangkok 2025 งานแสดงสินค้านานาชาติที่นำผู้ซื้อเจอผู้ขายครอบคลุมไลฟ์สไตล์ฮาลาลครั้งใหญ่ของไทย ในระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ที่โรงแรมอัลมิรอช ถนนรามคำแหง บริษัท คอมเอเชีย (ComAsia) และบริษัท เวิลด์เด็กซ์ จี.อี.ซี. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันลงนามเพื่อร่วมกันจัดงาน MEGA HALAL Bangkok 2025 งานแสดงสินค้านานาชาติที่นำผู้ซื้อเจอผู้ขายครอบคลุมไลฟ์สไตล์ฮาลาลครั้งใหญ่ของไทย ในระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

นายอิสมาแอ อาลี ประธานคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อาหารฮาลาลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิม เพราะเป็นคำสั่งจากพระผู้เป็นเจ้า มุสลิมไม่ว่าจะยู่ที่ไหนก็จะต้องรับประทานอาหารฮาลาล การจัดงานครั้งนี้จึงเป็นการเน้นย้ำบทบาทไทยในฐานะศูนย์กลาง อาหารฮาลาล ระดับโลก และส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมฮาลาล

‘ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิต มีหน่วยงานให้การรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลอย่างเป็นทางการ ได้รับการยอมรับทั่้วโลก จึงสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เป็นอีกจุดแข็งที่จะช่วยผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลได้โดยสมบูรณ์’ นายอิสมาแอล อาลี กล่าว

นายอิสมาแอล อาลี

นายนิคม เลิศมัลลิกาพร ประธานบริหาร บริษัท เวิลด์เด็กซ์ จี.อี.ซี. จำกัด กล่าวว่า ตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดที่ใหญ่มาก 2.8 ล้านล้านดอลลาร์ มีจำนวนประชากรมราลริโภคอาหารฮาลาลมากถึง 2,000 ล้านคน การจัดงาน MEGA HALAL Bangkok 2025 จึงเป็นโอกาสของอาหารฮาลาลไทยที่จะเข้าถึงตลาดในภาพรวม ซึ่งในงานมีเป้าหมายที่จะสื่อถึงตลาดเอเชียและตะวันออกกลางกว่า 41 ประเทศ

ทั้งนี้ ไทยมีความเหมาะสมทุกด้านที่จะเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาล ทั้งวัตถุดิบที่มีความพร้อม มีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม มีบริการสุขภาพที่ดี ทำให้ทุกงานระดับโลกหันมาจัดที่ไทย ซึ่ง MEGA HALAL Bangkok 2025 เป็นครั้งที่ 4 กว่า 1,500 บูธ เปิดโอกาสให้ เอสเอ็มอีไทย เข้าร่วมด้วยโดยมีผู้ประกอบการตอบรับเข้าร่วมแล้ว 10 ประเทศ จะเป็นการตอบโจทย์ไทยเป็นศูนย์กลางฮาลาล โดยจะมีผู้ซื้อจาก 41 ประเทศ โดยผู้จัดงานได้เตรียมห้องพักโรงแรมสำหรับผู้เข้าร่วมงาน มากถึง 5,000 ห้อง เพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงาน จากปีทีแล้วที่จัดไว้ 3,000 ห้อง

นายนิคม เลิศมัลลิกาพร
นายธงชัย ปิติเศรษฐ ประธานกอจ.สุราษฎร์ฯ กับคณะผู้บริหารบ.พุมเรียง เฟรชฟู๊ด จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปู ร่วมหารือกับคณะผู้จัดงาน

ด้านนายสุวัฒน์ กูบกระบี่ เลขานุการคณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ฮาลาล ไม่ใช่แค่อาหารแต่ครอบคลุมการดำเนินชีวิต สำหรับไทยเป็นอีกประเทศที่มีเอกลักษณ์ที่โด่งดังเป็นครัวโลก ในขณะที่มุสลิมมีมากถึง 2,000 ล้านคน โดยสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามฯ รับรองไปแล้วกว่า 1.5 แสนผลิตภัณท์ ไทยจึงเป็นผู้ส่งออกลำดับต้นๆ ของโลก อีกทั้งยังได้รับการไว้ใจจากต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ยูเออี ในการรับรองฮาลาลด้วย

นายปกรณ์ ปรียากร ผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรี กล่าวว่า การรับรองผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ไม่ใช่บริษัทมุสลิม แสดงให้เห็นว่าทุกบริษัทให้ความสนใจในตลาดฮาลาล ซึ่งนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลกเป็นอีกส่วนที่ผลักดันให้อาหารฮาลาลส่งออกได้มากขึ้น โดยปีที่ผ่านมามีมูลค่ามาถึง 7 พันล้านดอลลาร์ มีอัตราการเติบโตสูงถึง 8% ต่อปี

นางสาวดรัสวันต์ ชูวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า ตลาดฮาลาลมีศักยภาพสูง ปัจจุบันบราซิลส่งออกอันดับ 1 ไทยเป็นอันดับที่ 15 เป็นตลาดที่กว้างเพราะมีประชากรแทรกอยู่ทุกประเทศ อัตราการเติบโตสูงทั้งอาหารและ cosmetic ที่โตเกือบ 9% อัตราการจ่ายต่อหัวก็มากถึง 3,510 บาทต่อคนต่อวัน โดยธนาคารฯ พร้อมให้บริการสินเชื่อ รวมทั้งให้ความรู้การสร้างแบรนด์ และการค้ำประกันกรณีไม่ได้รับการจ่ายเงิน

ขณะที่นายชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล่าวว่า โอกาสสินค้าฮาลาลมีแล้ว แต่ต้องเพิ่มเรื่องนวัตกรรมและงานวิจัย (R&D) สินค้ากลุ่ม OEM ต้องพัฒนา มีข้อมูลองค์ความรู้ของแต่ละตลาดเพื่อผลิตให้ตรงกับความต้องการสินค้า โดยสินค้าแฟชั่นต้องพัฒนาใช้วัตถุดิบที่ระบายเหงื่อได้ดี ป้องกันยูวี ไม่เป็นภาระกับสิ่งแวดล้อม คาดว่าผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพและนำพาฮาลาลไปตลาดโลกได้

นางนุจรี ภักดีเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารกลุ่มงานธุรกิจ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) กล่าวว่า นวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีเงิน ดังนั้นเงินฮาลาลช่วยได้ การทานอาหารฮาลาลจากการสนับสนุนเงินของฮาลาลจะทำให้ reality ขึ้น

นายศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แม้ประชากรมุสลิมของไทยส่วนใหญ่อยู่ภาคใต้ แต่เชียงใหม่และเชียงรายอยู่ใกล้ตลาดมุสลิม โดยขนส่งสินค้าทางบกเพื่อไปตลาดบังกลาเทศ อินเดีย อัฟกานิสถาน เอเชียกลาง และตะวันออกกลาง