คลื่นยักษ์พัดถล่มตลอดแนวชายฝั่งเมืองคอนน้ำทะเลหนุนท่วมหนักชาวแหลมตะลุมพุกอพยพหนีตายจ้าละหวั่น

คลื่นยักษ์พัดถล่มตลอดแนวชายฝั่งเมืองคอน ขณะที่ น้ำทะเลหนุนท่วมหนักชาวแหลมตะลุมพุกอพยพหนีตายจ้าละหวั่น เผนคลื่นซัดที่ดินชาวบ้านหายไป 5,000 ไร่แแล้ว เร่งรัฐบาล สร้างเขื่อนกันคลื่น
วันที่ 12 ม.ค. ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ของวันนี้ 12 มกราคม 2568 ตลอดแนวชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมีคลื่นลมแรง พัดคันโชคกระหน่ำเข้าหาฟัง และมีน้ำทะเลหนุนสูงเป็นประวัติการณ์ ส่งผลให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ตำบลแหลมตะลุมพุก ,ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออกอำเภอปากพนังอย่างหนัก จนประชาชนต้องรีบขนย้ายข้าวของอพยพหนีภัยพิบัติกันจ้าละหวั่นชุลมุนวุ่นวาย นับเป็นการประสบภัยพิบัติซ้ำซ้อนหลังจากที่ก่อนหน้านี้ช่วง ปลายปี 2567 ที่ผ่านมาได้เกิดน้ำ ท่วมครั้งใหญ่ ในพื้นที่ทั้ง 23 อำเภอของจังหวัดนครศรีธรรมราช และผ่านมาแค่ 10 กว่าวันก็มาเกิดภัยพิบัติน้ำทะเลหนุน ลมพายุพัดกรรโชกแรงซ้ำอีกครั้ง
นายกิตติพงษ์ รองเดช นายอำเภอปากพนัง ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ ลงพื้นที่ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่นายไพโรจน์ (ไพรี) รัตนรัตน์ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นแกนนำในการเรียกร้องแนวกันกั้นคลื่นและโฉนดทะเล ได้ลงพื้นที่เพื่อร่วมช่วยเหลือประชาชนอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
.
นายไพโรจน์ (ไพรี) รัตนรัตน์ กล่าวว่า ปัญหาภัยพิบัติที่เกิดจากน้ำทะเลหนุนและคลื่นยักษ์พัดถล่มตลอดแนวชายฝั่ง ทะเลอ่าวไทยในอำเภอปากพนัง สร้างความเสียหาย และเดือดร้อนให้ประชาชนในพื้นที่มายาวนานเกือบ 40 ปี โดยตน ได้ออกมา เรียกร้องให้รัฐบาลสร้างแนวคันกันคลื่น หรือ”เขื่อนกันคลื่น”มาโดยตลอด เพราะคลื่นได้ชัดกัดเซาะที่ดินและบ้านเรือนของชาวบ้านตลอดแนวชายฝั่งกลายเป็นทะเล ไปรวมไม่น้อยกว่า 5,000 ไร่หลายร้อยหลังคาเรือน จนช่วงระหว่างปี 2558 ถึง 2559 สื่อมวลชนโดยเฉพาะ ฆ”หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ “ได้นำสนอข่าวเกาะติดนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง จนรัฐบาล คสช. อนุมัติงบประมาณ กว่า 2 พันล้านมาสร้างแนวขันกันคลื่นตลอดแนวชายฝั่งปากพนัง-หัวไทร รวมกว่า 20 กม.ในพื้นที่ 6 ตำบล

“อย่างไรก็ตามในพื้นที่ระหว่าง ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก-ตำบลแหลมตะลุมพุกระยะทาง 8 กิโลเมตรยังไม่ได้มีการก่อสร้างแนวคันกันคลื่น เนื่องจากติดปัญหาในข้อกฎหมายและระเบียบการปฏิบัติตามกำหมายใหม่ และหากยังไม่เริ่มดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าอีก 2-3 ปี คลื่นจะพัดกระเซาะจน แหลมตะลุมพุกถูกตัดขาดจากพื้นแผ่นดินใหญ่ จากแหลมตะลุมพุกจะกลายเป็น ”เกาะตะลุมพุก”ไปโดยปริยาย จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาและเริ่มสร้างแนวกันกันขึ้นในพื้นที่ 8 กิโลเมตรที่เหลืออย่างเร่งด่วนที่สุด”
นายไพโรจน์ (ไพรี) กล่าวอีกว่า ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะทางที่มีการสร้างแนวการเคลื่อนขึ้นแล้วกว่า 20 กิโลเมตรปัญหาน้ำทะเลหนุนและคลื่นยักษ์ซัดกระเซาะหมดไป โดยที่ดินของชาวบ้านงอกกลับคืนมาเกือบทั้งหมดประชาชนที่เคยอพยพหลบหนี ไปอยู่ที่อื่น กลับมา สร้างบ้านเดือด ในพื้นที่เดิม และอยู่อาศัยกันอย่างปกติสุข
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในพื้นที่ตำบลปากนครอำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็ประสบปัญหา น้ำทะเลหนุนลมพัดกรรโชคอย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน จนในขณะนี้ น้ำทะเลที่หนุนสูงได้ไหลบ่าเข้าท่วมถนน ทุกสาย รวมทั้งบ้านเรือนของพี่น้องประชาชน สูงกว่า ช่วงน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 2561 ที่ผ่านมาเสียอีก นายปรีชาแก้วกระจ่าง หรือกำนันชานายกเทศมนตรีตำบลปากนครได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ออกช่วยเหลือพี่น้องประชาชนผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่องและ ประกาศเตือนภัยให้ประชาชน ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และไอ้เร่งอพยพหลบหนีออกจากพื้นที่ อย่างเร่งด่วน
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนคลื่นสูง
วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 05.00 น. นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศ เรื่องอากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทย และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยรวมทั้งทะเลอันดามัน โดยบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงแรงจากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนได้แล้ว
.
ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวและหนาวจัดในบางพื้นที่กับมีลมแรง และอณหภูมิจะลดลงอีกเล็กน้อย
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอบบนและภาคใต้ตอบบบนดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง รวมถึงให้ระวัง
อันตรายจากอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศแห้งและลมแรงไว้ด้วย
.
สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนอง เกิดขึ้นได้บางแห่งบริเวณตอนล่างของกาด ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร
บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 แมตร ส่วนทะเลอันดามันทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ท่างฝั่งคลื่นสูง 2-3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นที่ขัดเข้าหาฝั่ง
ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลียงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 13 ม.ค. 68
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตนิยมวิทยา
http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง