ปล่อยปลาดุกลำพัน ปลาบึก ปลานานาพันธุ์ 5แสนตัวลงแหล่งน้ำควนเคร็ง สร้างความมั่นทางอาหาร

“ปล่อยพันธุ์ปลาดุกลำพัน คืนถิ่นป่าพรุควนเคร็ง 300 กิโลฯ ปลาบึก 1,000 ตัว พันธุ์ปลานานาชนิด 500,000 ตัว

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 21 ธันวาคม 2567 ณบริเวณศูนย์อนุรักษ์พันธุ์ปลาดุกลำพัน และเฝ้าระวังการทำประมงผิดกฎหมาย บ้านเนินธัมมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการจัดกิจกรรม “โครงการลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง ครั้งที่ 10” ด้วยการปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาดุกลำพัน ลงในคลองราชการดำริชะอวด-แพรกเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อกับป่าพรุควนเคร็ง โดยปล่อยพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาดุกลำพัน 300 กิโลกรัม ปลาบึก 1,000 ตัว และพันธุ์สัตว์น้ำอื่นๆอีกประมาณ 500,000 ตัว โดยมีเป้าหมายให้ป่าพรุควนเคร็งเป็นคลังอาหารของชาวนครศรีฯ

นายเฉลียว คงตุก อดีตบรรณาธิการคมชัดลึก กรรมการมูลนิธร่วมพัฒนาภาคใต้ และรองประธานจิตอาสาชาวใต้ ที่ปรึกษาสมาคมชาวปักษ์ใต้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เรียนเชิญร่วมบุญใหญ่เทศบาลปีใหม่ด้วยการปล่อยปลาดุกลำพัน-ปลาบึก กุ้งก้ามกาม-พันธุ์สัตว์น้ำ” คืนสู่ธรรมชาติ เป้าหมายเพื่อความมั่นคงทางอาหาร กับ“โครงการลำพันคืนถิ่น ป่าพรุควนเคร็ง ครั้งที่ 10”

นายเฉลียว กล่าวว่า สำหรับปีนี้กำหนดปล่อยปลาดุกลำพันวันที่ 21 ธันวาคม เวลา 09.00 น. ที่บ้านเนินธัมมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีฯ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อนุรักษ์ปลาดุกลำพัน


“ครั้งที่ 10 เราตั้งเป้าปล่อยปลาดุกลำพัน 300 กิโล ราคาซื้อมาจากชาวบ้านป่าพรุโต๊ะแดง กก.ละ 250 บาท ร่วมบุญกันได้ครับ คนละโลสองโล ตามกำลังศรัทธาครับ พิเศษสุดปีนี้เราจะปล่อยพันธุ์ปลาบึกอีก 1000 ตัว

นายประจวบ เจี้ยงยี่ ประมงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นคนถิ่นเดิม บ้านเนินธัมมัง อ.เชียรใหญ่ ผู้ร่วมผลักดันโครงการฯ และก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ปลาดุกลำกพัน กล่าวว่า ดีใจที่โครงการนี้ดำเนินการมาถึงครั้งที่ 10 แล้ว ชาวบ้านก็ดีใจที่ได้เห็นปลาดุกลำพันอีกครั้ง เป้าหมายของการปล่อยปลาดุกลำพัน เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาดุกลำพันไว้ ซึ่งที่ผ่านมาได้สูญพันธุ์ไปจากป่าพรุควนเคร็งแล้ว ที่สำคัญคือ เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของคนลุ่มน้ำปากพนัง

“เราจัดหาพันธุ์ปลาดุกลำพันมาจากพื้นที่ป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส ซึ่งภาคีเครือข่าย องค์กรแนวร่วมได้ปล่อยปลาดุกลำพันมาแล้ว 9 ครั้ง ครั้งนี้จะเป็นครั้งที่ 10 แล้ว“

นายเฉลียว กล่าวเสริมว่า สำหรับคนที่ประสงค์จะเลี้ยงปลาดุกลำพัน ขอให้ศึกษาธรรมชาติของปลาพันธุ์นี้ให้ละเอียดก่อน เพราะไม่งั้นเขาก็จะไม่รอด

”ปลาดุกลำพันเป็นปลาน้ำกร่อย อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าพรุ กินพืชเป็นอาหาร แต่บางครั้งถ้าไม่มีอะไรกิน ก็กินเนื้อบ้าง อาหารหลักของปลาดุกลำพัน คือลูกเตียว และลูกเสม็ดชุน“

นายเฉลียว กล่าวอีกว่า เวลานี้นายอาญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ อดีต ส.ส.นครศรีฯ กำลังทดลองเลี้ยงปลาดุกลำพันในพื้นที่บ่อขุด ด้วยการปรับสภาพน้ำ ปรับพื้นที่บ่อให้เหมือนป่าพรุ สองปีที่ผ่านมา นำปลาดุกลำพันมาทดลองเลี้ยงแล้วเกือบ 100 กิโล ปรากฏว่า เขาปรับตัวได้ดี เจริญเติบโต เริ่มกินอาหารเม็ดที่ศูนย์นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่ยั่งยืนผลิตเอง

”ใครสนใจอยากจะทดลองเลี้ยงปลาดุกลำพัน อยากให้ไปศึกษาหาความรู้จากศูนย์นวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ที่ยั่งยืน อ.จุฬาลงกรณ์ จ.นครศรีฯ นายอาญาสิทธิ์ยินดีให้ความรู้ ให้ข้อมูล“

#นายหัวไทร
#ทำเฒ่าเรื่องเพื่อน
#ปลาดุกลำพัน
#ลำพันคืนถิ่นป่าพรุควนเคร็ง