อบจ.สงขลา พัฒนาแพขนานยนต์ เพิ่มแพ-เพิ่มท่าเรือ และเทคโนโลยีเพื่อให้การบริการคนสงขลาให้เดินทางสะดวก รวดเร็ว

อบจ.สงขลา โดยนายไพเจน มากสุวรรณ์ ได้พัฒนาแพขนานยนต์ให้มีความสะดวกในการเดินทางคนสงขลา โดยเฉพาะเวลาเร่งด่วนให้เดินทางได้รวดเร็ว ด้วยเพิ่มจำนวนแพ 1 ลำ เพิ่มท่าเรือ 1 ท่า และพัฒนาเทคโนโลยีให้การบริการมีความสะดวก รวดเร็ว

การเดินทางของคนสงขลา จากคาบสมุทรสทิงพระ-สงขลา หรือสงขลา-คาบสมุทรสทิงพระ การข้ามแพขนานยนต์เป็นการเดินทางที่รวดเร็วกว่าการเดินทางตามเส้นทางเกาะยอข้ามสะพานติณสูลานนท์ การพัฒนาแพขนานยนต์เพื่อตอบสนองการเดินทางข้ามแพของคนสงขลาจึงมีความสำคัญ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา(นายกอบจ.สงขลา) กล่าวว่า อบจ.สงขลาเห็นความสำคัญของการเดินทางของพี่น้องสงขลาในการข่ามแพขนานยนต์ ซึ่งจะย่นระยะทางได้หลายสิบกิโลเมตร จึงได้อำนวยความสะดวกในการเดินทางโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน ช่วงเช้าหรือเย็น มีความคล่องตัว ดดยการเพิ่มแพขนานยนต์ 1 ลำ และขยายท่าเรือเพิ่มอีก 1 ท่าจาก 3 เป็น 4 ท่าเรือ เพื่อไม่ให้แพต้องรอคิว

‘แพขนานยนต์เชื่อมเมืองสงขลากัลสิงหนคร เปิดให้บริการตั้งแต่ตี 5 ถึง 4 ทุ่ม หากเป็นช่วงเทศกาลก็จะขยายเวลาเป็น 24.00 น. โดยขณะนี้ โดยเฉลี่ยนมีรถใช้บริการแพขนานยนต์ วันละประมาณ 5,000 คัน ส่วนใหญ่เป็นรถมอเตอร์ไซด์ รองลงมาเป็นรถยนต์ และรถพ่วง โดยเก็บค่าโดยสารถูกมาก มอเตอร์ไวด์เก็บคันละ 3 บาท รถยนต์ 20 บาท คนใช้บริการฟรี แม้ช่วงน้ำมันแพงก็ไม่ขยับราคา เพราะการบริการใช้เงินภาษีของประชาชน จึงต้องการให้บริการประชาชน อย่างคน หากเราเก็บคนละบาท ก็จะมีรายได้วันละเป็น 10,000 บาท’ นายไพเจน กล่าว

นายกอบจ.สงขลา กล่าวว่า รายได้จากการบริการแพขนานยนต์ จากเดิมมีรายได้ 28-29 ล้านบาท ตอนนี้ ขยับมาเป็น 35 ล้านบาา แต่ต้นทุนอยู่ที่ 70 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นค่าเชื้อเพลิงและการซ่อมบำรุงประจำปี เพราะแพจะต้องต่อทะเบียนทุกปีเหมือนรถยนต์

ขณะเดียวกัน การให้บริการแพขนานยนต์ ทางอบจ.ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยี ให้สามารถบริหารได้สะดวก ระบบจะแจ้งจำนวนรถที่ผ่าน จำนวนรถที่รอ หรือแจ้งให้รถที่จะใช้บริการทราบจำนวนที่รอ เพื่อตัดสินใจว่า จะลงเรือหรือไม่

‘อบจ.ได้พัฒนาแพขนานยนต์ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน ตอบสนองการเดินทางของชาวสงขลาให้ได้มากที่สุด’ นายไพเจน กล่าว

สำหรับแพขนานยนต์ เปิดให้บริการครั้งแรก เมื่อปี 2013 จากเดิมที่ชาวบ้านจะเดินทางดดวใช้เรือ โดยมีการนำแพขนานยนต์จากจังหวัดภูเก็ต ที่มีการยกเลิกการให้บริการข้ามแพพังงา-ภูเก็ต หลังการสร้างสะพานสารสิน โดยรพช. หรือเร่งรัดพัฒนาชนบท สังกัดกระทรวงมหาดไทย (หน่วยงานนี้ถูกยกเลิกแล้ว) ต่อมาได้โอนย้ายเป็นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา