นายกอบจ.สงขลา ไพเจน มากสุวรรณ์ ระบุ หาดใหญ่-สงขลา จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมหาก ไม่มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ ส่งสัญญาณทุกหน่วยงานเตรียมรับมือฝนตกเพิ่ม30% อาจส่งผลน้ำท่วมขังบางพื้นที่ๆเป็นจุดเสี่ยงน้ำท่วมประจำ
เข้าสู่หน้าฝนหลายพื้นที่ในจังหวัดสงขลา ได้เกิดอุทกภัยใหญ่มาแล้ว จะมีปัญหาเหมือนในอดีตหรือไม่ นายไพเจน มากสุวรรณ์ นายกองค์การบริหารจังหวัดสงขลา(นายกอบจ.สงขลา) อดีตรองอธิบดีกรมชลประทาน และอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปเข้าสู่หน้าฝนหลายคนกังวลว่าจะเปิดปัญหาอุทกภัยหรือไม่ ขอเรียนว่า จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะอำเภอหาดใหญ่หลังเกิดอุทกภัยใหญ่ 2 ครั้
ได้มีระบบการระบายน้ำเพื่อแก้ปัญหา
‘จังหวัดสงขลาได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงในเดือนตุลาคม-มกราคม และลกระทบจากพายุจร ทั้งดีเปรสชั่นและไต้ฝุ่น จะส่งผลให้เกิดฝนตกหนัก ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหา มีโครงการพระราชดำริ และโดยภูมิประเทศ จ.สงขลา อยู่ริมทะเล มีทะเลสาป มีแม่น้ำหลายสายระบายน้ำไหลลงทะเล ไหลลงทะเลสาป โดยเฉพาะคลองอู่ตะเภา ที่มีโครงการพระราชดำริรองรับน้ำจากสะเดา อ.คลองหอยโข่ง นามหม่อม รองรับ ถ้าไม่มีสิ่งกีดขวางทางน้ำ ก็ไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง น้ำที่ท่วมไม่สามารถระบายได้รวดเร็ว เพราะมีสิ่งกีดขวาง ซึ่งชุมชนและท้องถิ่นต่างๆต้องสำรวจ ท่อระบายน้ำ คูระบายน้ำ คลองระบายน้ำ อย่าให้มีสิ่งกีดขวาง’ นายไพเจน กล่าว
นายกอบจ.สงขลา กล่าวว่า โครงการพระราชดำริคลองอู่ตะเภา แต่เดิมระบายน้ำได้ 400 ลบ.ม./วินาที หากมีปริมาณฝนตกมากกว่า 1,000 ลบ.ม./วินาที ก็จะไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน แม้จะมีโครงการพระราดำริคลองร.1 ก็สามารถระบายน้ำได้ 400 ลบ.ม/วินาที ต่อมาจึงได้ขยายการระบายน้ำคลองร.1 เป็น 1,200 ลบ,ม/วินาที รวมกัน 1,600 ลบ.ม/วินาที ถ้าไม่ใช่ฝน 100 ปี หรือฝน 1,000 ปี ก็เอาอยู่แน่นอน
‘ตัวนครหาดใหญ่ หากประตูระบายน้ำไม่มีปัญหา เครื่องสูบน้ำไม่เสีย คูต่างๆ ไม่มีขยะ ไม่มีตะกอน ท่อระบายน้ำไม่มีสิ่งกีดขวางไม่มีปัญหาการระบายน้ำแน่นอน 100% และฝากไปยังผู้เกี่ยวข้องดูแลคันกั้นน้ำ ไม่ให้รั่วไม่ให้พัง’ นายไพเจน กล่าว
นายกอบจ.สงขลา กล่าวว่า ที่ผ่านมา อบจ.สงขลาได้สนับสนุนท้องถิ่นในการนำอุปกรณ์ เครื่องมือ รถของอบจ. ไปขุดลอกคูคลองเพื่อทำลายสิ่งกีดขวาง เราส่งไปก่อน ไม่ใช่น้ำท่วมแล้วไปแก้ปัญหา
ส่วนตัวเมืองสงขลา ที่ผ่านมา บางชุมชน แม้อยู่ติดทะเลก็มีน้ำท่วม เพราะมี มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำ ซึ่งต้องแก้ไข
‘ปีนี้มีการพยากรณ์ว่า สงขลาจะมีฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ 30% ซึ่งต้องเตรียมรับมือ เตรียมความพร้อม ทุกหน่วยงานต้องร่วมมือกัน ทั้งส่วนท้องถิ่นและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะจุดที่น้ำท่มซ้ำซาก ต้องนำอุปกรณ์การระบายน้ำไปเตรียมพร้อม’นายไพเจน กล่าว
นายกอบจ.สงขลา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ ท้องถิ่นจะต้องมีผังระบายน้ำ หรือแผนที่แสดงการไหลของน้ำ ซึ่งมีเฉพาะลุ่มน้ำใหญ่ๆ ระดับอำเภอ หรือชุมชนยังไม่มีผังน้ำ ซึ่งอบจ.สงขลาได้ทำขึ้นมา และจะมอบให้ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ ซึ่งผังน้ำจะต้องคู่กับผังเมือง การสร้างถนนจะต้องคู่กับการระบายน้ำ ก็จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง ปัจจุบัน มีการสร้างถนน สร้างหมู่บ้านจัดสรรขวางทางน้ำ ถ้ามีผังน้ำก็จะช่วยให้การก่อสร้าง มีระบบการระบายน้ำที่ดี