สุดประทับใจกับทัวร์ชุมชน สัมผัสวิถีชาวบ้านริมทะเลสาป ชมบ้านปลาอนุรักษ์พันธุ์ปลา ชิมกุ้งทะเลสาปตัวโตๆ

สุดประทับใจกับทัวร์ชุมชน แวะชมบ้านปลา กินกุ้งก้ามกรามสามน้ำบนแพกลางทะเลสาบสงขลาอันสุดฟิล ชมมโนราห์ตัวน้อยที่บ้านมะม่วงเบาบาง “นายกไพเจน” ร่วมแจม คุยอบจ.ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

นายหัวไทร ได้มีโอกาสไปร่วมคณะกับทัวร์ทางไทย ของ “วิชาญ ช่วยชูใจ”พาเที่ยวชุมชนริมทะเลสาบสงขลาในช่วงฤดูฝน

ทัวร์ทางไทย ได้นำพนักงาน บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย และ บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต 2 บริษัทใหญ่ ไปท่องเที่ยวชุมชนริมทะเลสาบสงขลา (สิงหนคร-สทิงพระ)
คณะนักท่องเที่ยวชุดนี้จองล่วงหน้ากันมาหลายเดือน แบบไม่กลัวฝนเดือนพฤศจิกายนของภาคใต้

บ้านปลาหมายเลข 9 ชาวบ้านร่วมกันสร้างบ้านปลาให้ปลาเข้ามาอาศัยและวางไข่ และห้ามจับในเขตอนุรักษ์ ส่งผลให้ปลาขายพันธุ์ชุกชุมมากขึ้น

ทัวร์ทางไทย เริ่มขึ้นเวลา
07.30 น.ล้อหมุนออกเดินทางจากหาดใหญ่ ท่ามกลางเม็ดฝนโปรยปราย 08.00 น.ถึงบ้านปลาหมายเลข 9 ฝนขาดเม็ดแบบเป็นใจ บ้านปลาหมายเลข 9 ถือว่า ฟาร์มทะเลของชุมชน ย่านสทิงหม้อ อ.สิงหนคร ชาวบ้านนักอนุรักษ์ ร่วมแรงร่วมใจกับสร้างบ้านปลาที่ช่วยดูแลเพาะขยายพันธุ์ปลาให้ทะเลสาบสงขลา มานานนับ 10 ปี ปลากดขี้ลิงที่เติบโตตามธรรมชาติ ปรากฎตัวให้เห็นนับพันตัว ณ บ้านปลาหมายเลข 9 แห่งนี้ น่าจะเป็นที่เดียวในประเทศไทย ที่สามารถให้อาหารกับปลาทะเล อันแสนสุดประทับใจ ปลากดขี้ลิงแวกว่ายมารับอาหารกับมือนักท่องเที่ยว

วิชาญ ช่วยชูใจกับนายหัวไทร เฉลียว คงตุก

คณะทัวร์ออกจากบ้านปลดหารว่างลาหมายเลข 9 และไปชมบ้านปลาหมายเลข 10 ที่วัดป่าขาด ที่อยู่ระหว่างเตรียมการประชุมร่างระเบียบกติกาของชุมชนผุดบ้านปลาหมายเลข 10 กำหนดพื้นที่อนุรักษ์ใหม่ ออกเดินทางต่อไปยังศูนย์ศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง “สวนบ้านหยา”ได้ลิ่มรสอาหารว่างที่สวนเทพหยา เป็นอาหารพื้นบ้าน มะพร้าวน้ำหอมอันลือชื่อ ชม ชิม ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน จากชุมชนเข้มแข็ง แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ของสงขลา ได้ซึมซับเจตนารมย์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรี “เกิดมาต้องทดแทนบุญคุณแผ่นดิน” เพราะสวนเทพหยาแห่งนี้ผุดขึ้นจากอดีตนักเรียนทุน พล.อ.เปรม คณะทัวร์สุดประทับใจ บางคนพกของว่างใส่ถุงไปทานต่อบนรถ

สวนเทพหยา เดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยไม่ใช้เคมี กลายเป็นสถานที่ดูงานของหลายๆองค์กร มีขนม อาหารปลอดภัยให้ทานกันจุกๆ

คณะทัวร์ทางไทย เดินทางต่อไปเยี่ยมชมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โหนด นา เล ที่แปรรูปผลผลิตจากตาลโตนด เป็นสินค้าหลากหลาย สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้ชาวบ้านในชุมชน ได้เป็นอย่างดี ได้ฟังเรื่องเล่าของการตั้งเมืองตั้งชุมชนในย่านนี้ แน่นอนว่าก่อนกลับสนับสนุนซื้อสินค้าหลากหลายจากชุมชนติดไม้ติดมือกลับบ้าน

ที่วิสาหกิจชุมชนโหนต นา เล “ไพรเจน มากสุวรรณ์” นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งให้การสนับสนุนส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนโหนด นา เล เดินทางมาร่วมสมทบด้วย ยิ่งสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยว และเจ้าของบ้านเป็นอย่างยิ่ง

นายกไพเจน นอกจากเล่าเรื่องโหนด นา เล ได้อย่างคนรู้จริงแล้ว ยังทำขนมม้โชว์ด้วย

ช่วงเวลาสำคัญมาถึง“อาหารมื้อเที่ยง“ วิชาญพาคณะทัวร์ลงแพ ล่องไปชมทะเลสาบสงขลา พร้อมกับอาหารมื้อเที่ยง กินกุ้งก้ามกรามสามน้ำ เผากินกันสดๆ บนแพ พร้อมกับอาหารพื้นบ้าน (แกงส้มปลาช่อน-หัวโหนต แกงกะทิปลาดุกทะเล พลาดไม่ได้ คือ ยำมะม่วงเบากับกุ้งต้มหวาน เป็นต้น) ฝีมือชาวบ้านชุมชนคาบสมุทร สทิงพระ ทุกคนได้กินกุ้งก้ามกรามอันแสนอร่อย เนื้อเน้นแบบไม่จำกัดปริมาณ บางคนกิน 2 ตัว 3 ตัว ถึง 6 ตัว “ไพเจน”ก็ไม่พลาดโปรแกรมนี้ ร่วมแกะกุ้งกินกับนักท่องเที่ยวบนแพ

นายกไพเจน บอกว่า อบจ.สงขลาได้จัดตั้งกองส่งเสริมการเกษตรขึ้นมา เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกองนี้ ทำหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตร สนับสนุนงบประมาณในการปล่อยพันธุ์ปลา และการจัดกิจกรรมของชุมชน

นักท่องเที่ยวร้องอ๋อ เพราะเหตุนี้จึงได้มีสิ่งดีๆให้สัมผัส

ล่องแพกินอาหารเที่ยง จนอิ่มหนำกันแล้ว แพก็พาเราขึ้นเกาะกำเหียง กลางทะเลสาบ เดินชมธรรมชาติบนเกาะ ถ่ายภาพเช็คอินกับหน้าผา ม่านไม้ ที่สวยงาม

นายหัวไทร แกะกุ้งกินอย่างเอร็ดอร่อย

สำหรับสายมูก็ไม่พลาดขึ้นจากแพแวะไหว้พระ ทำบุญ เริ่มกิจกรรมตามรอยหลวงปู่ทวด ที่บ้านเกิดหลวงปู่ทวดบ้านชุมพล อ.สทิงพระ จ.สงขลา จากวัดต้นเลียบ สถานที่เกิดฝังรกหลวงพ่อทวด ไปถึงวัดดีหลวงที่เริ่มบวชเรียนเป็นสามเณร และ วัดพะโค๊ะ ที่จำวัดจำพรรษา และพัฒนาจนรุ่งเรืองมาจวบจนปัจจุบัน

ขากลับ ”วิชาญ“พาแวะร้านมะม่วงเบาคาเฟ่ ร้านอาหารรับแขกของสทิงพระ ชิมผลิตภัณฑ์มะม่วงเบาแปรรูป สินค้า GI ของจังหวัดสงขลา และ ซื้อเป็นของฝากจากสงขลา พงศ์ศักดิ์ มากสุวรรณ์ เจ้าของร้านจัดต้อนรับแบบ ”จัดเต็ม“ ด้วยผัดหมี่ มะพร้าวน้ำหอม และการรำมโนราห์จากน้องด.ญ รินมณี ซ้วนเล่ง น้องพิ้งกี้ อายุ 12 ปี นักเรียนโรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลาห้อง1/2 กับการไร่รำที่อ่อนซ้อย กระดูกอ่อน นอนพดในถาดได้ น้องพิ้งกี้ใช้เวลาว่างรับงานการรำมโนราห์เพื่อหารายได้เสริมให้กับครอบครัวกับผลการเรียนในระดับดีมาก ได้เกรดเกือบ 4 สมควรได้รับทุนการศึกษาให้เรียนต่อไปในระดับสูงขึ้น

ก่อนเดินทางกลับ คณะทัวร์ไม่พลาดที่จะซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนติดไม่ติดมือกลับบ้าน

นายหัวไทร

วิวทะเลสาปสวยๆที่คลองรี