ความยุติธรรม ที่ไม่ได้รับ ตากใบ อีกหนึ่งประวัติศาสตร์บาดแผลจังหวัดชายแดนใต้

39
ปี 2547 นับเป็นปีแห่งมหาวิปโยคของพี่น้องชายแดนใต้และพี่น้องภาคใต้ เริ่มต้นปี วันที่ 4 มกราคม วันสุดท้ายของวันหยุดยาว คนร้ายบุกปล้นปืนในหน่วยทหารพัฒนา ที่จังหวัดนราธิวาส ด้วยรถระบะ 1 คัน ขนปืนM16 ไป 300 กว่ากระบอก เป็นไปได้
.
กลางปี วันที่ 28 เม.ย. 2547 คนร้ายพร้อมอาวุธครบมือ เข้าโจมตีจุดตรวจหน้ามัสยิสกรือเซะ ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง จ.ปัตตานี คนร้ายถูกตอบโต้จึงหลบหนีเข้าไปในมัสยิด ซึ่งตอนนั้นกลุ่มดะวะห์ อยู่ภายในด้วย เจ้าหน้าที่ปิดล้อมตลอดวัน ขณะที่ชาวบ้านก็เข้ามาปิดล้อมด้วย พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในที่เกิดเหตุ โดยการสั่งการของใครคนหนึ่ง แต่ไม่ใช่บิ๊กจิ๋ว ที่เป็นรองนายกฯและรมว.กลาโหม ตัดสินใจใช้อาวุธหนัก ถล่มเข้าไปในมัสยิด ท่ามกลางชาวบ้านเสียงคัดค้านของชาวบ้าน ไม่เห็นด้วยกับการโจมตีที่ดูเหมือนต้องการทำลายมัสยิดไปด้วย
.
มัสยิดกรือเซะ เป็นมัสยิดเก่าแก่ของเมืองปัตตานี เป็นมัสยิดอิฐแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อสร้างสมัยสุลต่านองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ศรีวังสา ผู้ก่อตั้งเมืองปัตตานี จึงมีความสำคัญ ไม่เพียงเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ แต่เป็นความสำคัญที่อยู่ในใจคน3จังหวัดด้วย การกระทำด้วยความมรุนแรงในมัสยิดและกระทำต่อมัสยิด จึงเป็นเชื้อเพลิงในการสร้างกระแสความเกลียดชังต่อภาครัฐได้เป็นอย่างดี
.
มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ประมาณ 30 คน รวมทั้ง ผู้บริสุทธิ์ด้วย แต่ถูกเหมารวมเป็นผู้ก่อความไม่สงบทั้งหมด ไม่ต่างกับที่ยิวปฏิบัติต่อปาเลสไตน์ในเวลานี้เลย
.
ใกล้ปลายปีเกิดเหตุการณ์หน้าสภ.ตากใบ วันที่ 25 ตุลาคม เดือนรอมฎอน ชาวบ้านไปชุมนุมประท้วงขอให้ปล่อยตัว ชรบ.ที่ถูกจับข้อหารู้เห็นเป็นใจกับการปล้นปืนชรบ.ของกลุ่มคนร้าย
.
ในช่วงเหตุการณ์ไม่สงบหลังเหตุการณ์ปล้นปืน ภาครัฐได้จัดตั้ง ชรบ. เพื่อป้องกันหมู่บ้าน ไม่รู้ด้วยเจตนาให้ชาวบ้านฆ่ากันเองหรือเปล่า เหมือนการจัดตั้งไทยอาสาป้องกันชาติในยุคคอมมิวนิสต์ กลุ่มก่อความไม่สงบได้ปฏิบัติการปล้นปืนจากชรบ. บ่อยครั้ง แต่ที่ตากใบ ชรบ.ถูกจับ
.
คนเป็นพันหลั่งไหลเข้ามาที่หน้าสภ.ตากใบ ที่มีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวชรบ.ที่ถูกจับ บางคนก็เข้าร่วมชุมนุม บางคนก็เข้ามาดูสถานการณ์ แบบมลายูมุง บางคนมาซื้อกับข้าวแก้บวชแล้วแว๊บมาดูสถานการณ์
.
คำสั่งจากข้างบน ก็คือคนๆเดียวกันที่สั่งถล่มมัสยิดกรือเซะ ให้จับให้หมด หวังถอนรากถอนโคนกลุ่มก่อความไม่สงบให้ไปหายจาก 3 จังหวัด เท่ากับเป็นการเหมารวมชาวบ้านผู้บริสุทธิ์เข้าไปด้วย ก็เหมือนที่ยิวปฏิบัติกับปาเลสไตน์ที่เหมารวมเป็นฮามาส
.
มีการใช้อาวุธจริงสลายการชุมนุม หน้าสภ.ตากใบ มีผู้เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 6 คน ภาพข่าวที่เผยแพร่ในต่างประเทศ (ถูกเซนเซอร์ในไทย) มีการกระทำที่รุนแรง เหมือนทหาร-ตำรวจพวกนั้น เห็นคน 3 จังหวัดไม่ใช่คน
.
หน้าสภ.ตากใบ เป็นพื้นที่ปิด ด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำ มีทางออก 2 ทาง ที่ถูกปิดล้อมทั้งหมด จำนวนหนึ่งพยายามหนีลงแม่น้ำ แต่ก็ไม่รอด คนนับพันจึงถูกจับมัดมือไพล่หลัง โยนขึ้นรถยีเอ็มซีของทหารอย่างป่าเถือน ทับกันหลายชั้น นำตัวไปค่ายอิงคยุทธฯที่ปัตตานี ระยะทาง จากตากใบถึงปัตตานี แต่รถยีเอ็มซีอันกล้าแข็ง ใช้เวลาเดือนทาง 5 ชม เหมือนมีเจตนาฆ่าหรือไม่
คนที่ถูกทับโดยมือไพล่หลัง ไม่สามารถกระดิกตัวได้ แม้ไม่ถือศีลอด ก็ยากที่จะรอด 70 กว่าชีวิตจึงเสียชีวิต ท่ามกลางการตกตะลึงของคนทั้งโลก
.
ใกล้สิ้นปี เกิดเหตุสึนามิ ถล่มชายฝั่งตะวันของไทย ผู้คนเสียชีวิตสูญหาย หลายพันคน
.
หลายเหตุการณ์ผู้คนลืมเลือน แต่เหตุการณ์ตากใบ เป็นบาดแผลที่ฝังอยู่ในใจคน 3 จังหวัด ไม่เพียงญาติพี่น้อง แต่รวมถึงคน 3 จังหวัดเกือบทุกคนที่รับไม่ได้ กับการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐ
.
พวกเขาหวังว่า จะได้รับความยุติธรรม
.
มีการฟ้องร้องหลายคดี แต่สุดท้ายศาลตัดสินให้เจ้าหน้าที่รัฐไม่ผิด เนื่องจากมีกฎหมายความมั่นคงคุ้มครองอยู่ ยิ่งตอกย้ำความเจ็บช้ำน้ำใจ ให้กับคน 3 จังหวัดเพิ่มขึนอีก
.
20 ปีที่ผ่านมา การสำรวจความต้องการของคน 3 จังหวัด อันดับ 1 คือ ต้องการความยุติธรรม อันดับรองลงไปเป็นประเด็นปากท้องเศรษฐกิจ สะท้อนว่า คน 3 จังหวัดไม่ได้มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง แต่เขามีปัญหาด้านจิตใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากหน่วยงานรัฐ ความรู้สึกนี้ ส่งต่อรุ่นต่อรุ่น ไม่ต่างจากการเข้ายึดครองปัตตานี ที่ผ่านมา 200 ปี ก็ยังฝังใจคนจำนวนมากอยู่
.
สวนทางกับความต้องการของชาวย้าน ภาครัฐทุ่มการพัฒนาลงไปในพื้นที่ งบประมาณหลายแสนบาท ที่ไม่รู้ไปตกหล่นสร้างความร่ำรวยให้กับใครต่อใครจำนวนมาก แต่ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้กับชาวบ้านมากนัก แม้จะเยียวยาด้วยเงิน 8 ล้านบาทต่อครอบครัวที่สูญเสีย แต่เหตุการณ์ก็ยังไม่สงบ
.
ใกล้สิ้นอายุความ ศาลได้ออกหมายจับผู้ต้องหา ที่ภาคประชาชนฟ้องและอัยการฟ้อง จำนวน 14 คน ในจำนวนนี้ ได้ดิบได้ดี จากเครือข่ายพรรคที่สร้างปัญหาในอดีต เหมือนเป็นการบูมบำเหน็จให้หรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่สร้างความเจ็บปวดให้กับคน 3 จังหวัด เจ้าหน้าที่ก็จัดฉากนิดหน่อย ไปตรวจค้นบ้านผู้ต้องหา ที่เป็นข้าราชการเกษียณ แต่ไม่สามารถจับกุมใครได้แม้แต่คนเดียว
.
20 ปีผ่านมา ตากใบจึงยังเป็นรอยแผลใหญ่ในใจคน 3 จังหวัด ที่แม้จะทุ่มเงินไปซักเท่าไหร่ก็ไม่อาจเยียวยาได้
.
ผ่าน 20 ปี เหตุการณ์นี้ก็เป็นประวัติศาสตร์ เหมือน กรณี ฮัจยีสุหลง กรณีดุซงญอ และอีกหลายกรณ๊ ที่ เป็นประวัติศาสตร์บาดแผลที่ฝังในใจคน 3 จังหวัด ที่เวลานานเท่านานก็ไม่อาจลบเลือนได้
.
จนกว่าจะมีความพอใจในความยุติธรรม
.