ไอศรีม’Mixue’ แบรนด์สัญชาติจีน มุสลิมอย่าซื้อกิน อาจมีหมูผสม

ประกาศรับสมัครพนักงานงานของร้านไอศกรีมดังสัญชาติจีน Mixue ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ระบุ รับสมัครไทยแท้ ไม่รับอิสลาม ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

กระแสวิพากษ์วิจารณ์ เป็นการคาดเดาเหตุของ Mixue ว่า การประกาศไม่รับ’อิสลาม’ มาจากสาเหตุอะไร ส่วนหนึ่ง มีความเห็นว่า ส่วนผสมของไอศรีมแบรนด์ Mixue อาจจะมีส่วนผสมของหมูจากเยลาติน จึงไม่สะดวกให้มุสลิมเข้าไปทำงานขายอาหารที่ขัดต่อหลักศาสนา ส่วนหนึ่งก็มีความเห็นว่า Mixoa มีชุดประจำร้านอาจไม่สะดวกให้มุสลิมที่สวมฮิญาบเข้าไปทำงาน หรือบางคนก็เห็นว่า ก็เป็นเรื่องที่ดี ที่ประกาศๆไว้ชัดเจน จะได้ไม่มีปัญหาภายหลัง

อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเหตุผลที่มีการคาดเดา โดยมีการยกตัวอย่าง แบรนด์ KFC หรือ ร้านสะดวกซื้อ 7-11 ที่มีชุดประจำร้านก็รับพนักงานมุสลิมเข้าไปทำงานโดยสวมฮิญาบได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้ามุสลิมให้เข้าไปใช้บริการด้วยซ้ำ

นอกจากนีั้ ยังมีความเห็นด้วยว่า ด้วยเหตุผลว่า มีส่วนผสมของเยลาตินจากไขมันหมู ก็เป็นเหตุผลที่มุสลิมจะไม่ใช้บริการไอศรีมแบรนด์ Mixue

ทั้งนี้ ประเด็นหนึ่ง ที่มีการถกเถียงกันคือ คำว่าไทยแท้ กับอิสลาม ที่เป็นการสะท้อนว่า แบรนด์ Mixoa ไม่ได้แยกแยะระหว่างเชื้อชาติและศาสนา

MNT เพจข่าวมุสลิมวันนี้ ได้ให้ความเห็นระบุว่า ประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือ การระบุว่าต้องเป็น “คนไทยแท้เท่านั้น” และไม่รับผู้สมัครที่เป็นมุสลิม ตรงนี้จุดชนวนให้เกิดคำถามสำคัญเกี่ยวกับคำว่า “ไทยแท้”

“คนไทยแท้” คำนี้มีความหมายอย่างไร? คำว่า “คนไทยแท้” ในใบประกาศนี้คืออะไร?

คำว่า “ไทยแท้” ที่ถูกใช้ในประกาศรับสมัครงานนี้ สะท้อนนิยามของความเป็นคนไทยที่กำลังถูกตั้งคำถามว่า ชาวมุสลิมที่เกิดและเติบโตในประเทศไทยมารุ่นสู่รุ่น สืบไปถึงบรรพบุรุษร่วมสร้างบ้านแปงเมืองเสียสละชีวิตเลือดเนื้อให้ผืนแผ่นดินนี้ พวกเขาไม่ถือว่าเป็นคนไทยแท้หรือ?

หากชาวมุสลิมที่เกิดและเติบโตในประเทศไทยไม่ถือว่าเป็นคนไทยแท้ แล้วเราจะนิยามความเป็นไทยอย่างไร?

ความเป็นไทยควรถูกนิยามด้วยเชื้อชาติ ศาสนา หรืออะไร?

คำถามนี้เปิดประเด็นให้สังคมต้องมาทบทวนว่า เรากำลังจำกัดความเป็นคนไทยให้แคบลงหรือเปล่า และผลกระทบของการกระทำเช่นนี้ต่อความเป็นหนึ่งเดียวของชาติคืออะไร

การเลือกปฏิบัติที่ปรากฏในประกาศรับสมัครงานนี้ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของนายจ้างที่ต้องการกำหนดคุณสมบัติพนักงานตามความต้องการทางธุรกิจ แต่เป็นเรื่องที่สามารถทำลายความหลากหลายและความสามัคคีในสังคมได้

การที่ร้านไอศกรีมเลือกที่จะประกาศชัดเจนว่าไม่รับผู้สมัครที่เป็นมุสลิม อาจสร้างความรู้สึกถึงการถูกกีดกันและด้อยค่าต่อกลุ่มประชากรหนึ่ง การกระทำนี้ไม่เพียงแต่สร้างความขัดแย้งในใจของผู้คน แต่ยังเป็นตัวอย่างของการสร้างความแตกแยกที่ชัดเจน

มีผู้สนับสนุนที่มองว่าการที่นายจ้างระบุคุณสมบัติของพนักงานตามความต้องการของธุรกิจเป็นสิทธิที่พึงมี ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการคัดเลือกพนักงานมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการจริงๆ ของธุรกิจ แต่ในทางกลับกัน การใช้คุณสมบัติอย่าง “คนไทยแท้” หรือการไม่รับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม อาจถูกมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่สร้างความไม่เท่าเทียมในสังคม

หากจริงว่ามีเหตุผลที่เฉพาะเจาะจงที่ทำให้ผู้สมัครชาวมุสลิมไม่สามารถปฏิบัติงานนี้ได้ เช่น ข้อจำกัดทางศาสนา ร้านค้าควรเลือกใช้คำอธิบายที่สุภาพและสร้างสรรค์มากกว่านี้ การใช้ภาษาที่เคารพและเข้าใจต่อกันจะช่วยให้สังคมสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างสงบสุข แทนที่จะสร้างความขัดแย้งและความไม่พอใจในวงกว้าง

เราควรถามตัวเองว่า… ในสังคมที่เราต้องการจะสร้าง ความเท่าเทียมและความเข้าใจซึ่งกันและกันควรเป็นหลักที่เรายึดถือหรือไม่?

การเลือกปฏิบัติและการสร้างความแตกแยกด้วยถ้อยคำที่ทำร้ายใจคนอื่นจะนำพาเราไปสู่สังคมที่ยุติธรรมและสงบสุขได้จริงหรือ?

และสุดท้าย ความเป็น “ไทยแท้” ควรหมายถึงอะไรในโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลายเช่นทุกวันนี้?

สำหรับMixue เป็นแบรนด์ไอศรีมสัญชาติจีนที่เพิ่มเข้ามาเปิดกิจการในประเทสไทย โดยเน้นการเปิดในห้าง ขายไอศรีมราคาถูก ราคา 10-20 บาท และเปิดเป็นแแฟรนไชส์ เงินลงทุนประมาณ 1.5 ล้านบาท โดยประเมินว่า ใช้เวลา 3 ปี คืนทุน ด้วยยอดขาย 15,000-20,000 บาทต่อวัน อย่างไรก็ตาม  แบรนด์ Mixue ไม่ได้ออกมาให้เหตุปลอย่างเป็นทางการถึงการประกาศดังกล่าว

 

https://www.facebook.com/MuslimNewsToday/posts/pfbid0WYGdsGiwwK4G7NPEHpbxMfrHTMBPwnJSDLYvt7ktcE9hVBwW9eHdAP4Hr4m57Kh6l