จับตา! เปิดประมูลขายอาณาจักรหมื่นล้าน “โทนี่ เตียว” ใครจะสนใจบ้าง ???

54

สื่อจีนตีข่าวไทยส่ง ‘โทนี่ เตียว’ อาชญากรโกงคริปโตฯ 4 แสนล้านกลับไปให้จีนดำเนินคดี จับตาประมูลขายอาณาจักรหมื่นล้านด่านนอก ใครจะยื่นประมูลบ้าง นักการเมืองบางคนจ้องตาเป็นมัน

กรณีที่ไทยส่งตัวนาย โทนี่ เตียว หรือที่ใช้ชื่อ นายจาง มูมู อาชญากรฉ้อโกงสกุลเงินดิจิทัลไปยังประเทศจีน

โดยสื่อจากประเทศจีนรายงานข่าวว่า ทางการไทยได้มีการส่งตัว นายจาง มูมู (Zhang Moumou) ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท MBI อันโด่งดังไปยังประเทศจีน หลังจากที่มีการตามล่าตัวนายจางในระดับระหว่างประเทศมาอย่างยาวนาน

สื่อจีนชื่อว่า The Paper รายงานว่าการส่งผู้ร้ายข้ามแดนครั้งนี้ เป็นคดีแรกที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนจีน-ไทย ซึ่งลงนามในปี 2542 สำหรับพฤติการณ์ของนายจางเริ่มขึ้นในปี 2555 เกี่ยวข้องกับโครงการปิรามิดออนไลน์ที่อ้างว่าให้ผลตอบแทนสูงผ่านสกุลเงินดิจิทัลเสมือนจริง

ตามรายงาน โครงการ MBI กําหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการต้องชําระค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 700 ถึง 245,000 หยวน (3,328 ถึง 1,165,995 บาท) เพื่อเข้าร่วม รายได้นี้เชื่อมโยงกับการสรรหาสมาชิกใหม่และระดับของเงินทุนที่ลงทุน มีรายงานว่ามีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการมากกว่า 10 ล้านคน โดยมีเงินทุนรวมเกิน 1 แสนล้านหยวน (475,916,337,000 บาท) บทบาทของนายจางในปฏิบัติการนี้ ทําให้เขาเป็นหนึ่งในผู้ต้องสงสัยอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ต้องการตัวมากที่สุดของจีน

สํานักความมั่นคงสาธารณะเทศบาลฉงชิ่ง ตั้งข้อหานายจางอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2563 ต่อมาในเดือนมีนาคม 2564 สํานักงานตํารวจสากล สาขาประเทศจีน ได้ออกหมายแดง สำหรับนายจาง และตํารวจไทยได้จับกุมนายจางเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 อย่างไรก็ตาม กระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนั้นซับซ้อน เพราะเกี่ยวข้องกับขั้นตอนทางกฎหมายหลายขั้นตอน ทางการจีนขอให้ส่งนายจางในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนอย่างเป็นทางการภายใต้สนธิสัญญาทวิภาคี ซึ่งนําไปสู่คําตัดสินของศาลอุทธรณ์ไทยเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2567 ให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน รัฐบาลไทยยืนยัน การตัดสินใจเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ2567 และนายจางถูกส่งตัวกลับไปยังจีนหลังจากนั้นไม่นาน

กรณีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนนี้ เป็นผลมาจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน สถานทูตจีนในประเทศไทย และ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทย ปฏิบัติการร่วมนี้ดําเนินการภายใต้ “ปฏิบัติการล่าสุนัขจิ้งจอก” ของจีน ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

กล่าวสำหรับอาณาจักรโทนี่เตียว หรือ “เตียว วุย ฮวด” หรือ “โทนี่ เตียว” เป็นคนมาเลเซียเชื้อสายจีน ชื่อทางการในภาษามาเลเซีย จึงออกสำเนียงจีนที่เขียนด้วยอักษรไทยได้ว่า “เตียว วุย ฮวด” ชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการคือ “เสี่ยวจาง” แต่มีคนจำนวนหนึ่งพานเรียกว่า “เสี่ยจาง” ซึ่งได้ความหมายเช่นกัน ส่วนชื่อเรียกที่ออกไปทางสากลแบบถูกลิ้นฝรั่งและโดยเฉพาะคนไทยด้วยคือ “โทนี่ เตียว” แต่สำหรับคนจีนแผ่นดินใหญ่และจีนโพ้นทะเลอื่นๆ จะผิดแผกไปนิดเรียกขานเขาว่า “เทดี้ เตียว”

“เตียว วุย ฮวด” มีหมายจับเกี่ยวกับคดีฉ้อโกง และ ฟอกเงินในมาเลเซีย รวมถึงในสาธารณรัฐประชาชนจีน “เทดี้ เตียว” มีหมายจับเกี่ยวกับคดีฉ้อโกงเช่นกัน เป็นหมายแดงขององค์การตำรวจสากล หรือ อินเตอร์โพล ตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.2563 อายุความตามหมาย 15 ปี หรือ กว่าจะหมดอายุความก็ต้องปี 2578 จากคดีฉ้อโกงที่เกิดจาก MBI International Holdings ได้ออกแพลตฟอร์มชื่อ NSC แล้วชักชวนให้คนจีนร่วมลงทุนในลักษณะเดียวกับ “แชร์ลูกโซ่” แบ่งสมาชิกออกเป็น 8 ระดับ โดยใช้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจรเป็นตัวล่อ แล้วจัดทัวร์พาผู้ร่วมทุนจากจีนไปท่องเที่ยวในอาณาจักรของเครือบริษัทในประเทศต่างๆ แต่ภายหลังทางการมาเลเซียสั่งอายัดทรัพย์ ทำให้ไม่มีเงินไปต่อเงิน จึงเกิดการฟ้องร้องขึ้นนำมาสู่การออกหมายจับแดงดังกล่าว

การทำธุรกิจในนาม MBI International Holdings ในมาเลเซียและจีน หรือ บริษัท เอ็มบีไอ กรุ๊ป ในประเทศไทย ล้วนตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน คือ เน้นการ เชิญชวนให้ผู้คนให้มาร่วมลงทุนด้วยจากการสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่แบบครบวงจร ซึ่งต้องใช้ที่ดินนับร้อยนับพันไร่ ภายในโครงการจะประกอบไปด้วยบ้านจัดสรร บ้านพักตากอากาศ โรงแรม รีสอร์ต สวนผลไม้นานาชนิด รวมถึง สิ่งอำนวยความสะดวกแบบครบครัน ไม่ว่าจะเป็นสระว่ายน้ำ สนามกีฬา ห้องประชุม และ สันทนาการ ลานจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ แล้วยังเพิ่มเติมด้วยการสร้างสิ่งดึงดูดใจให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ หรือ จุดเช็กอินมากมาย ตามแต่ว่าคนในประเทศที่โครงการตั้งอยู่ชื่นชอบสไตล์ไหน

สำหรับที่เมืองชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่ด่านนอก อ.สะเดา จ.สงขลา บริษัท เอ็มบีไอ กรุ๊ป ได้ลงทุนไปแล้วนับหมื่นล้านบาท ตั้งแต่ทศวรรษที่ 2550 หรือเมื่อ 25 ปีที่ผ่านมา โดยกว้านซื้อที่ดินไว้หลายพันไร่ ภายในโครงการประกอยด้วย โรงแรม 6 แห่ง รีสอร์ต 2 แห่ง อพาร์ตเมนต์ 9 แห่ง สถานบันเทิง สวนสนุก ธุรกิจประเภทเฟอร์นิเจอร์ หมู่บ้านวัฒนธรรมอาเซียน มีการจำลองวัดร่องขุ่น พระพิฆเนศองค์ใหญ่ สวนไดโนเสาร์ เมืองคาวบอย ฟิวเจอร์ปาร์ค ฟาร์มม้า สวนแพนด้า กระทั่งศาลไคฟงก็ยังมี

ข้อมูลจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รายงานไว้ว่า บริษัท เอ็มบีไอ กรุ๊ป สัญชาติมาเลย์ เข้ามาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในไทยครั้งแรกปี 2545 แล้วในปี 2559 ขยับขยายบริษัทในเครือเพิ่มเป็น 15 บริษัท รวมทุนจดทะเบียนได้ 662.5 ล้านบาท แบ่งเป็นใน อ.สะเดา และ อ.นาทวี จ.สงขลา 14 บริษัท และที่ กรุงเทพฯ บริษัท บริษัท บิลเลี่ยนคอนโด จำกัด ทำธุรกิจโรงแรม จดทะเบียน 4 กันยายน 2545 ทุน 51.5 ล้าน นายเตียว วุย ฮวด ถือหุ้น 49% บริษัท เอ็มวัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด โรงแรม จดทะเบียน 18 มกราคม 2551 ทุน 100 ล้าน นายเตียว วุย ฮวด ถือหุ้น 30% บริษัท เค.เอ.ดับเบิลยู. จำกัด โรงแรม จดทะเบียน 30 กันยายน 2551 ทุน 125 ล้าน นายเตียว วุย ฮวด ถือหุ้น 60% บริษัท เอ็มบีไอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 30% และนายเตียว อี เม้ง 10% (มาเลเซีย) และบริษัท เซาท์เทิร์น เอเซีย จำกัด อสังหาริมทรัพย์ จดทะเบียน 3 ธันวาคม 2558 ทุน 300 ล้าน

ส่วนอาณาจักรของเสี่ยวจางจะเกี่ยวข้องกับใคร นักการเมืองคนไหนบ้าง ในวงการเมืองพอจะรับรู้กัน มีผู้มากบารมีในสงขลาเกี่ยวแน่นอน

ให้จับตาว่า เมื่อ ปปง.ซึ่งยึดทรัพย์เสึ่ยว จาง ไว้หมดแล้ว เมื่อเปิดประมูลขาย ใครจะเป็นคนเข้ายื่นประมูลบ้าง อาจจะมีนักการเมืองบางคนจ้องตาเป็นมันก็ได้

#นายหัวไทร #ทำเฒ่าเรื่องเพื่อน #เสี่ยงจาง #โทนี่เตียว