กลุ่มบริษัท China Three Gorges International Corporation and Good innovation corporation โดย น.ท.ดร.ภณ ทัพพินท์กร , ผศ.ดร.ติกะ บุนนาค และ Mr.Meng Qingcun , Mr.Wang Zhuang เข้านำเสนอโครงการนวัตกรรมพลังงานสะอาดแบบหมุนเวียน วงเงินในการลงทุน 300,000 ล้านบาท ต่ออนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม รัฐสภา เพื่อให้รัฐบาลช่วยเหลือส่งเสริมโครงการฯ
สถานะปัจจุบันของสภาวะโลกร้อนยังคงเป็นประเด็นที่สำคัญและเร่งด่วน ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลก ดังนี้
อุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่เพิ่มขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะในทศวรรษล่าสุด ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศหลายประการ
การละลายของน้ำแข็งขั้วโลกและธารน้ำแข็ง น้ำแข็งในแถบขั้วโลกและธารน้ำแข็งทั่วโลกกำลังละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งและเกาะต่าง ๆ
เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว ความถี่และความรุนแรงของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุเฮอริเคน ไฟป่า และอุทกภัย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด ทั้งทางบกและทางน้ำ รวมถึงมนุษย์ด้วย
ความพยายามของนานาประเทศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเตรียมพร้อมในการปรับตัวต่อผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและคุณภาพชีวิตของประชากรโลก หลายประเทศกำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยการใช้พลังงานสะอาดหมุนเวียน ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และพัฒนานโยบายเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ประเทศไทยมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีรายละเอียดหลัก ๆ ดังนี้:
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกภาคส่วน รวมถึงการใช้พลังงาน การขนส่ง การเกษตร และการจัดการขยะ
การเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดหมุนเวียน การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคการขนส่ง
การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะที่ใช้พลังงานสะอาด
การอนุรักษ์ป่าไม้และเพิ่มพื้นที่สีเขียว การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ รวมถึงการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
การบริหารจัดการขยะและของเสีย การพัฒนาระบบการจัดการขยะและของเสียที่มีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากการฝังกลบขยะ
นโยบายและแผนการเหล่านี้ถูกวางแผนให้สอดคล้องกับข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวของประเทศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต้องการความร่วมมือและความพยายามจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรธุรกิจ และประชาชนทั่วไป การนำแนวคิดเหล่านี้ไปปฏิบัติจะช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับสภาวะโลกร้อนเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกนั้นประเทศไทยได้วางแผนที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงโดยตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจกลง 30% ภายในปี 2030
บริษัท China Three Gorges International Corporation จากประเทศจีน ได้ร่วมมือกับบริษัท Good Innovation Corporation Co.,Ltd. ซึ่งเป็นผู้ครอบครองอนุสิทธิบัตรเครื่องกําเนิดไฟฟ้าแบบมอเตอร์พลวัตร (Cyclic motor generator) เลขที่ 20602 , อนุสิทธิบัตรยานยนต์ไฟฟ้าหมุนเวียน (Renewable Electric Vehicle) เลขที่ 22602 ที่เป็นนวัตกรรมด้านพลังงาน และเป็นผู้คิดค้นและผลิตระบบกำเนิดพลังสะอาดแบบหมุนเวียน ESSS ในการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมแหล่งพลังงานสะอาดหมุนเวียน ESSS Farm (Renewable Energy)
ESSS Farm เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานสะอาดหมุนเวียน (Renewable Energy) โดยระบบประกอบด้วย Solar Cell, Wind Energy and Free Energy Unit ที่ทำงานร่วมกับ Battery Storage ด้วยหลักการผลิตกระแสไฟฟ้าจาก Solar Cell เป็นหลักในช่วงที่มีแสงแดด ส่วน Wind Energy and Free Energy Unit จะผลิตกระแสไฟฟ้า DC แบบต่อเนืองแล้วชาร์จลง Battery Storage โดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าภายใต้การควบคุมการจ่ายพลังด้วยระบบควบคุมที่ integrated พลังงานสะอาดหมุนเวียนเข้าด้วยกัน แล้วจ่ายพลังงานสู่การใช้งานได้อย่าง เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ที่ได้รับการรับรองอนุสิทธิบัตรเลขที่ 20602 โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ของบริษัท Good Innovation Corporation
วัตถุประสงค์:
เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยในการอํานวยความสะดวกและส่งเสริมการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมแหล่งพลังงานสะอาดหมุนเวียน ESSS Farm (Renewable Energy)
เพื่อเสริมสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลจะมีบทบาทสําคัญในการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ลงทุนและช่วยให้โครงการสามารถดําเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐหน่วยราชการ และภาคเอกชนหันมาใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้นและลดต้นทุนในด้านพลังงานลง
เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 30% ภายในปี 2030 ตามเป้าหมายของรัฐบาล
เป้าหมายเชิงกลยุทธ์:
พัฒนาการใช้พลังงานสะอาดหมุนเวียน: ส่งเสริมการใช้งานพลังงานสะอาดหมุนเวียน ESSS Farm (Renewable Energy) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก: สร้างระบบพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา: เพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาดหมุนเวียน
ส่งเสริมเศรษฐกิจ: สร้างงานและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและระดับประเทศ
ภาพรวมโครงการ:
บริษัท China Three Gorges International Corporation ร่วมมือกับ Good Innovation Corporation Co., Ltd. โดยมีแผนการลงทุนในโครงการพัฒนานวัตกรรมแหล่งพลังงานสะอาดหมุนเวียน ESSS Farm (Renewable Energy) ในประเทศไทย ด้วยการดำเนินการจัดตั้ง ESSS Farm แหล่งพลังงานสะอาด หมุนเวียน (Renewable Energy) ในช่วง 1-5 ปี แรก ตามเป้าหมาย รายละเอียดดังนี้:
นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศจำนวน 68 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ใน 16 จังหวัด โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้ดำเนินการจัดการและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ นิคมเหล่านี้แบ่งออกเป็นนิคมที่ กนอ. ดำเนินการเอง 15 แห่ง และอีก 53 แห่งดำเนินการโดยภาคเอกชนหรือร่วมกับภาคเอกชน และโดยเฉลียนิคมอุตสาหกรรมใช้ไฟฟ้าประมาณ 40 เมกะวัตต์ หรือเป้าหมาย 2,720 เมกะวัตต์ ต่อ นิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศจำนวน 68 แห่ง
องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหมด 7,850 แห่ง แบ่งออกเป็น 76 องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), 2,469 เทศบาล (รวมเทศบาลนคร, เทศบาลเมือง, และเทศบาลตำบล), 5,303 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.), และ 2 องค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ที่มีโรงเรียนจำนวน 936 โรงเรียน โรงพยาบาล รพ.สต.จำนวน 3,264 แห่งภายใต้การบริหารจัดการ ของ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยต่อ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ใช้ไฟฟ้าในส่วนขององค์การเองประมาณ 1-2 เมกะวัตต์ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.5 เมกะวัตต์ ต่อ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือ เป้าหมาย 11,775 เมกะวัตต์ ต่อ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหมด 7,850 แห่ง
สมาคมโครงข่ายผู้เลี้ยงกุ้ง กรมประมงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีพื้นที่ 7 แสนไร่ เฉลี่ยค่าไฟ ในการจ่ายให้มอเตอร์ 2.5 แรงม้า 6-8 ตัวต่อไร่ต่อเดือน ค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้ PEA เฉลี่ย 10,000-15,000 บาท ต่อ ไร่ คิดเป็น 30 กิโลวัตต์ ต่อ ไร่ หรือเป็นเป้าหมาย 3,000 เมกะวัตต์ บนพื้นที่เลี้ยงกุ้ง 7 แสนไร่
ประโยชน์ที่ได้รับ
สิ่งแวดล้อม:
– ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษทางอากาศจากการใช้พลังงานสะอาด
– ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ:
– กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นและระดับประเทศด้วยการสร้างงานและโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
– ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในภาคพลังงานสะอาดหมุ่นเวียน
– สามารถสร้างรายได้จากการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต
เทคโนโลยีและนวัตกรรม:
– พัฒนาขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานได้ปล่าวหรือ Free Energy
– สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและสะดวกสบาย
สังคม:
– ส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาอาชีพด้านพลังงานสะอาด
– สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
– เกิดการแบ่งปันในสังคม