‘อัลวาร์’ เสียใจอย่างสุดซึ้งจากการสูญเสียแสงแห่งสันติภาพ ‘ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์’

265

ร่วมอาลัย ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย อัลวาร์ อิบรอฮีม โพสต์เสียใจ ระบุ เป็นการสูญเสียแสงสว่างแห่งสันติภาพ

วันที่ 28 มิถุนายน หลังจากเสียชีวิตของศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นายอันวาร์ อิบราฮิม
นายกรัฐมนตรีแห่งมาเลเซีย ได้โพสต์แสดงความเสียใจ ระบุว่า

ข้าพเจ้ารู้สึกเสียใจอย่างสุดซึ้งที่ได้ข่าวการจากไปของศาสตราจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ผู้เป็นแสงสว่างแห่งสันติภาพและความเข้าใจกัน ในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผู้คงแก่เรียนและเป็นที่เคารพอย่างยิ่ง

ดร.ชัยวัฒน์ได้ก่อตั้งศูนย์ข่าวสันติภาพแห่งประเทศไทย และอุทิศตนแก่เหตุผลของการหลีกเลี่ยงความรุนแรงและการแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งผ่านการพูดคุยและความเข้าอกเข้าใจกัน คำสอนของท่าน ข้อเขียนของท่านและความมุ่งมั่นของท่านที่จะต่อสู้เพื่อความยุติธรรมมีผลต่อชีวิตของปัจเจกชนนับไม่ถ้วน โดยก้าวข้ามพรมแดนและหลอมรวมการแบ่งแยกไว้ได้

แต่ขณะที่ข้าพเจ้ากล่าวคำอำลาดวงวิญญาณที่น่าทึ่งนี้ ข้าพเจ้าก็พบสิ่งปลอบใจอยู่ในมรดกที่ท่านทิ้งไว้ให้ ขอให้ความทรงจำที่มีต่อท่านจงเป็นแรงบันดาลใจตลอดไปให้พวกเราเดินไปตามหนทางแห่งสันติภาพ แสวงหาความเข้าใจเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เลวร้าย และสร้างโลกที่มีความกลมเกลียวและความเคารพกันเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

Deeply saddened to learn of the passing of Professor Chaiwat Satha-Anand, a luminary of peace and understanding. An erudite and well-respected faculty member at Thammasat University, Chaiwat founded the Thai Peace Information Centre and dedicated his life to the cause of nonviolence and the resolution of conflicts through dialogue and compassion. His teachings, writings, and unwavering commitment to justice touched the lives of countless individuals, transcending borders and bridging divides.

Even as I bid farewell to this remarkable soul, I find solace in the legacy he leaves behind. May his memory forever inspire us to walk the path of peace, seek understanding in the face of adversity, and build a world where harmony and respect reign supreme.
..
ANWAR IBRAHIM

ศ.ดร.ชัยวัฒน์ เสียชีวิต เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ด้วยโรคมะเร็ง ในวัย 69 ปี ศพของท่านถูกนำไปทำพิธีทางศาสนาอิสลาม ที่มัสยิดฮารูน บางรัก กรุง้ทพมหานคร เวลา 08.00 น. โดยมีบรรดาลูกศิษย์และผู้ที่เคารพในตัวท่าน ไปร่วมพิธีกันล้นหลาม

หลายท่านได้โพสต์แสดงความไว้อาลัยและยกย่องความดีงามไว้

”มาร่วมส่งท่านอาจารย์ผู้เป็นที่รัก“

(1)
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ เกิดเมื่อ
25 มกราคม 2498 และจากพวกเราไปเมื่อ 27 มิถุนายน 2567
บางช่วงที่ท่าน ศาสตราจารย์ ดร. เกษียร เตชะพีระ ได้กล่าวถึง ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ ก่อนเข้าสู่พิธีละหมาดศพ ว่า
“ชัยวัฒน์ยืนยันและเชื่อเสมอว่า ธาตุแท้ของคนนั้นคือ ความดีงาม ส่วนคนที่ทำสิ่งไม่ดีนั้นเกิดจากความไม่รู้ที่ว่า ความดีมีรายละเอียดอย่างไร และความชั่วอันตรายอย่างไร“
”ด้วยเหตุนี้ ชัยวัฒน์จึงยืนยันว่า การสร้างความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจนั้นสำคัญ เพราะการอบรมบ่มเพาะเป็นแนวทางอันทรงพลังที่จะทำให้เกิดความรู้เพื่อไปสู่ความเข้าใจ ท้ายที่สุด มนุษย์จะเลือกในสิ่งที่รู้ได้อย่างเสรี โดยไม่กดขี่ ด่าทอและห้ำหั่นกัน นี่แหละคือแนวทางสันติวิธีที่ชัยวัฒน์เชื่อและขับเคลื่อนมาโดยตลอด”

ดร.โคทม อารียา

(2)
อาจารย์เกษียร ยังพูดถึงชัยวัฒน์อีกว่า
“ไม่มีใครอยู่กับความขมขื่นได้ ไม่มีใครแบกอดีตเพื่อมาเจ็บช้ำ และใช้ชีวิตอย่างหดหู่สิ้นหวังไปวัน ๆ พูดให้ถึงที่สุดคือ แนวทางที่จะทำให้คนเราอยู่อย่างมีความสุขที่สุดคือ การอภัย เพราะการให้อภัยนั้นเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าในปัจจุบัน”
ท้ายที่สุดก่อนท่านอาจารย์เกษียรย้ำก่อนละหมาดศพให้อาจารย์ชัยวัฒน์ ท่านเน้นย้ำว่า
“อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน อะไรจะเกิดขึ้นก็ได้ แต่สิ่งที่จะทำให้อนาคตของผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก นั่นก็คือ คำมั่นสัญญา เพราะสัญญาอาจเป็นเพียงสิ่งเดียวที่เราต้องถือมั่นเพื่อให้เกิดสันติสุขในสังคมเรา”

(3)
ในขณะที่อาจารย์ชารีฟ ศรีเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาท่านจุฬาราชมนตรี ได้กล่าวว่า
“อาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ นั้นเป็นผู้รู้ (อุละมาอฺ) และปราชญ์ ซึ่งในอิสลาม คำว่า ”ปราชญ์“ ไม่ได้ระบุแค่เพียง ผู้รู้เกี่ยวกับอิสลามเพียงอย่างเดียว แต่คำว่า ปราชญ์คือ ผู้เชี่ยวชาญแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจารย์ชัยวัฒน์ เป็นปราชญ์เฉพาะเรื่อง เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะเรื่องสันติวิธี“
อาจารย์ชารีฟยังย้ำอีกว่า
“ปราชญ์ก็ไม่ต่างจากหมอที่รักษาสังคมที่กำลังป่วยไข้ หากไม่มีปราชญ์ โรคร้ายของสังคมก็จะไม่มีใครดูแล สังคมเราต้องการปราชญ์แบบท่านอีกหลายคน”
อาจารย์ชารีฟพูดทิ้งท้ายว่า
“การสูญเสียชัยวัฒน์คือ การสูญเสียปราชญ์ครั้งยิ่งใหญ่ของสังคมไทย และการสูญเสียปราชญ์นี่แหละที่ทำให้สังคมปั่นป่วนที่สุด เพราะขาดหมอในการชี้นำและรักษาสังคม“

(4)
ท้ายที่สุด อาจารย์ชัยวัฒน์เคยพูดกับผมเมื่อครั้งเราเจอกัน ในงานบรรยายพิเศษเรื่อง “การต่อสู้กับพิษร้ายแห่งความเกลียดชังตามแนวทางของบาบูจิ” ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า
“หากอยากรู้ว่าคุณเป็นคนแบบไหน อย่าถามแค่เพียงคนที่รักคุณ แต่ต้องถามคนที่เกลียดคุณด้วย เพราะเขาจะพูดความจริง”
คำพูดสุดท้ายวันที่เราเจอกันเมื่อหลายปีที่แล้ว

“ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ”
แล้ว ”แน่นอน เราจะเจอกัน“

ด้วยรักและระลึกถึง
เอ. อาร์. มูเก็ม
28 มิถุนายน 2567

***หมายเหตุ*** คำพูดของอาจารย์เป็นการถอดความ และเรียบเรียงใหม่ คงความหมาย สรุปใจความ แต่ไม่ใช่คำต่อคำ

ขณะที่ ห้องสมุดศ.ดิเรกฯ ขอแสดงความเสียใจกับการจากไปของ ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อดีตอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
ทางห้องสมุด ได้รวบรวมผลงานบางส่วนของอาจารย์ที่มีให้บริการในห้องสมุด ได้แก่ หนังสือ บทความ และเอกสาร Fulltext ในเว็บไซต์ เพื่อรำลึกถึงอาจารย์และเผยแพร่ความรู้ที่อาจารย์ได้เขียนขึ้นต่อไป
.
📍 หนังสือ (ไทย) – https://bit.ly/3RLAkYR
📍 หนังสือ (อังกฤษ) – https://bit.ly/3RLViqq
📍 บทความ (ไทย) – https://bit.ly/4eEJtfu
📍 บทความ (อังกฤษ) – https://bit.ly/4eH6jTz
📍 เอกสารใน TUDC (ไทย) – https://bit.ly/3XBJP0k
📍 เอกสารใน TUDC (อังกฤษ) – https://bit.ly/3VKlGSC
*log in ด้วย Username กับ Password ที่เข้าใช้ TU-Wifi
.
ที่มาข่าวและรูปภาพ
1. https://www.matichon.co.th/education/news_4650673
2. https://www.facebook.com/photo/?fbid=872862788219638&set=a.626687359503850
.
–‐———–
Facebook: Thammasat University Library
Website: www.library.tu.ac.th
Line: @tulibrary

ขอบคุณข้อมูล ดร.ศราวุฒิ อารีย์

ดร.อัลดุลเราะห์มาน มูเก็ม